อ่านเพิ่มเติม "….แหวนเก้ายอด “นะ อะ ระ หัง”…. พ่อท่านคล้อย วัดภูเข"" />

….แหวนเก้ายอด “นะ อะ ระ หัง”…. พ่อท่านคล้อย วัดภูเข

….แหวนเก้ายอด “นะ อะ ระ หัง”….
พ่อท่านคล้อย วัดภูเข

….แหวนเก้ายอด “นะ อะ ระ หัง”….
พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง เนื้ออัลปาก้า
ฉลองอายุ 7 รอบกับกำลังพระอิติปิโสเก้าห้อง

แหวนเก้ายอด รุ่น “นะ อะ ระ หัง”
ฉลองอายุครบ 7 รอบ พระครูพิพิธวรกิจ
(คล้อย อโมโน)
วัดภูเขาทอง ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

แหวนมงคลเก้ายอด (อัลปาก้า) พ่อท่านคล้อย วัดเขาอ้อ จัดสร้างเพื่อหารายได้ในการจัดสร้างโรงฉันท์ จัดพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดภูเขาทอง วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ในการจัดสร้างแหวนแก้อาถรรพณ์ คุ้มกันคุณไสยตำหรับเขาอ้อนั้น มีมาแต่เดิมจนถึงยุคพระอาจารย์เอียด ปรมาจารย์แห่งวัดดอนศาลามี 2 ชนิด หนึ่งนั้นคือแหวนพิรอด และ อีกหนึ่งคือแหวนมงคลเก้ายอด

แหวนพิรอดนั้นเป็นมหาอุจน์ปรมาจารย์สร้างมาตั้งแต่เชือกถึงโลหะเป็นพิรอด คือเงื่อนที่มีความเหนียว อุปเท่ห์คือดึงอย่างไรไม่ขาด มีสรรพคุณในตัว สำหรับแหวนมงคลเก้ายอดนั้น ท่านใช้ในทางแก้คุณไสย คุ้มกันจากภยันตรายด้วยเก้ายอดคือหัวใจพระนวหรคุณ เป็นหัวใจของมหายันต์ที่ถอดจาก สุดยอดพระคาถาพระอิติปิโสฯ คือ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ

พระคาถานวหรคุณ คือ คุณเก้าประการของพระพุทธเจ้า หรือเรียกกันตามตำราว่า อิติปิโสเก้าห้อง มี
1. อะระหัง หมายถึง เป็นผู้ดับเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลสโดยสิ้นเชิง บทนี้ใช้ด้านกันไฟทั้งปวง

2. สัมมาสัมพุทโธ หมายถึง เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตัวพระองค์เอง บทนี้ใช้เป็นตบะเดชะเสริมสร้างสง่าราศี

3. วิชาจะระณะสัมปันโน หมายถึง เป็นผู้พร้อมด้วยวิชาและจรณะ บทนี้ใช้ด้านโภคทรัพย์โชคลาภ

4. สุคะโต หมายถึงเป็นผู้ดำเนินไปได้ด้วยดี บทนี้ใช้ในด้านการเดินทาง ทั้งทางบก น้ำ อากาศ

5. โลกะวิทู หมายถึง เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง บทนี้ใช้ภาวะนาเมื่อเข้าป่าหรือที่มืด

6. อนุตตโร ปุริสะทัมมะสารถี หมายถึง เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้ควรฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่า บทนี้ใช้ทางมหาอำนาจ

7. สัตถาเทวะมนุษานัง หมายถึง เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บทนี้ใช้ทางเมตามหานิยม

8. พุทโธ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน บทนี้ใช้ภาวนาอารมณ์ ทำให้ไม่ตกต่ำอับจน

9. ภะคะวา ติ หมายถึง เป็นผู้จำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์ดังนี้

บทนี้ใช้ในทางป้องกันภยันอันตรายอันจะกระทำแก่เรา ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ อมนุษย์ อสูรกาย สัตว์เดียรฉาน ป้องกันการประทุษร้ายเหล่านั้นได้ ทั้งสิ้นแล หรือสรุปโดยย่อเป็นองค์ภาวนา คาถานวหรคุณ ก็คือ “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ” นั่นคือเป็นหัวใจพระพุทธคุณนั่นเอง






โดยสมาชิก ชื่อ ณหัสษวีร์ ธาวันสิทธิ์เดช
จากกลุ่ม ชมรมพระเครื่องเมืองใต้@นครศรีฯ@สุราษฎร์@ทั่วไป…

Exit mobile version