อ่านเพิ่มเติม "“พระวรคุณญาณมุณี (แก้ว) วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี ผู้สร้างตำนาน"" />

“พระวรคุณญาณมุณี (แก้ว) วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี ผู้สร้างตำนาน

“พระวรคุณญาณมุณี (แก้ว) วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี ผู้สร้างตำนาน

“พระวรคุณญาณมุณี (แก้ว) วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี ผู้สร้างตำนาน

“พระวรคุณญาณมุณี (แก้ว) วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี ผู้สร้างตำนานเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก”

พระวรคุณญาณมุณี นามเดิม “แก้ว” เกิด ณ บ้านบางแก้ว ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม แขวงเมืองเพชรบุรี (จังหวัดเพชรบุรี) เมื่อเจริญวัยได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดพระทรง ตำบลท่าราบ อำเภอคลองกระแชง (อำเภอเมืองเพชรบุรี) แขวงเมืองเพชรบุรี (จังหวัดเพชรบุรี) ได้เป็นสหธรรมิกร่วมสมัยกับหลวงพ่อมี วัดพระทรง โดยจำพรรษาอยู่ 3 ปี ก่อนที่จะไปจำพรรษาอยู่ในถ้ำเขาหลวง ตำบลคลองกระแชง อำเภอคลองกระแชง (อำเภอเมืองเพชรบุรี) แขวงเมืองเพชรบุรี จากนั้นจึงได้ไปจำพรรษา ณ วัดในปากทะเล ตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี หลังจากนั้นจึงได้ร่วมกับพระภิกษุธุดงค์ออกจากวัดปากทะเลเลียบชายฝั่งไปยังภาคตะวันออก ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดเครือวัลย์ แขวงเมืองบางปลาสร้อย (จังหวัดชลบุรี)

วิธีสร้างผงของหลวงพ่อแก้ว
การสร้างพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว โดยปกติแล้ว หลวงพ่อแก้ว ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยละเอียดรอบคอบเป็นปกติ ท่านเป็นผู้เห็นการณ์ไกล คือ ในขณะที่ท่านสอนบาลีไวยากรณ์อยู่นั้น ท่านก็ได้เก็บเอาผงที่ลบจากอักขระเอาไว้ เพราะการสอนหนังสือในสมัยนั้นจะต้องเขียนต้องลบตัวอักขระบนกระดานดำจริงๆ และนิยมกันว่า ผงอักขระที่ลบจากการเรียนภาษาบาลี ซึ่งเขียนเป็นอักษรขอมที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ แล้วท่านก็จะนำมาผสมกับผงพระพุทธคุณ หรือผงมหาราช เป็นต้น เมื่อเอาผงดินสอ และผงพุทธคุณรวมกันเข้าแล้ว ท่านก็เอาเกษรดอกไม้ต่างๆ ใบไม้ เปลือกไม้ และเนื้อไม้ มาบดให้ละเอียดเป็นผง แล้วจึงนำมาผสมกับผงอักขระ เอาน้ำข้าวมาคละเคล้าเข้ากับผง เพื่อทำให้เหนียว จนได้หล่อเป็นรูปพระ การผสมผงเพื่อสร้างเป็นรูปพระหลวงพ่อแก้วนั้น ท่านเอาผงคุณพระกับผงดินสอที่ท่านเขียนอักขระบนกระดานดำ เอาผงทั้งสองอย่างนั้นมาผสมกันเข้าไว้ แล้วเอาใบไม้ ที่เรียกกันว่า ใบไม้รู้นอนต่างชนิด เช่น ยอดสวาท เป็นต้น เอาเกษรดอกไม้บ้าง มาบดเป็นผงให้ละเอียด ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันด้วยดีแล้ว จึงเอาน้ำข้าวเหนียวมาผสมทำให้เหนียว จึงเอากดลงในแม่พิมพ์ ก็สำเร็จเป็นองค์พระ

คุณธรรมหลวงพ่อแก้ว
หลวงพ่อแก้ว ท่านเป็นพระที่มีคุณธรรมสูง มีคุณธรรมเป็นเวทย์มนต์ คาถาขลังและศักดิ์สิทธิ์ ท่านตั้งอยู่ในพรหมวิหารธรรม มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นภาคพื้นในจิตใจของท่าน จิตใจของท่านเปี่ยมไปด้วยความรัก และความสงสารในสัตว์โลก พลอยยินดีด้วยเมื่อเห็นเขาได้ดี และวางใจเป็นกลาง ไม่ดีใจและไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ อาศัยความที่ท่านเป็นผู้ที่มีเมตตาจิตสูงเช่นนี้ ท่านจึงชอบสร้างพระเป็นรูปพระปิดตา เพราะพระปิดตาแบบนี้เป็นสัญญาลักษณ์แห่งการไม่ดูไม่มองอะไร คือไม่เพ่งโทษ และหาโทษผู้อื่น ตั้งความเมตตาและกรุณา เที่ยงตรงต่อมนุษย์และสัตว์อื่นเสมอกันหมด ดุจดังพื้นแผ่นดินที่มั่นคง ไม่ยินดียินร้ายในของหอมและของเหม็นที่พวกมนุษย์ทิ้งลงแผ่นดิน ฉะนั้นหลวงพ่อแก้ว ท่านวางจิตเป็นกลาง ไม่รักคนนี้ เกลียดคนนั้น หรือชังคนโน้น ไม่ปรารถนาให้ใครเดือดร้อนเพราะท่าน ท่านถือหลักว่า ใครใคร่ลาภ จงได้ลาภ ใครใคร่บุญ จงได้บุญ

พระปิดตา (พระควัมปติเถระ)
พระปิดตา เข้าใจกันว่า มาจากคติการสร้างพระเครื่องของเขมร เผยแพร่เข้าสู่การสร้างพระเครื่องไทย เท่าที่ค้นได้มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เชื่อกันว่าพระปิดตาน่าจะหมายแทนถึง พระอรหันต์อาวุโสองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้าที่มีพระนามว่า “พระควัมปติเถระ”
พระภควัมบดี ถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์-ปุโรหิต แห่งเมืองอุเชนี เนื่องจากวรรณะงดงามดั่งทอง จึงได้รับการขนานนามว่า “กาญจน” ได้ศึกษาไตรเทพจนเจนจบ และเป็นพราหมณ์ปุโรหิตแทนบิดา ในสมัยพระเจ้าจันทร์ปัตโชติ ต่อมาได้มีโอกาสได้ฟังธรรมในสำนักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสและศึกษาธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้) ท่านเป็นพระอรหันต์สมัยพุทธกาล มีพุทธลักษณะงดงามละม้ายคล้ายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอัครสาวกรูปหนึ่งที่เพียบพร้อมไปด้วยความเฉลียวฉลาด สามารถอธิบายธรรมได้เยี่ยมยอดแจ่มแจ้ง กว่าพระสาวกองค์อื่นๆ
นอกจากนี้ท่านยังมีรูปร่างและผิวกายงดงามมาก จนได้ชื่อว่า “พระภควัมปติ” อันมีความหมายว่า “ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า” ด้วยเหตุที่ทำให้ผู้คนเข้าใจผิดอยู่เนืองๆ ไม่เว้นแม้เทวดายังสรรเสริญ ท่านเห็นว่าหากปล่อยไว้ต่อไปจะเป็นการไม่สมควร หรือเกิดความมัวหมองต่อองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น พระภควัมบดี จึงอธิษฐานจิตให้ร่างกลายเปลี่ยนเป็นอ้วน เตี้ย พุงพลุ้ย ดูน่าเกลียด จวบจนนิพพาน







โดยสมาชิก ชื่อ มะ อะ อุ
จากกลุ่ม ชมรมผู้นิยมพระเครื่องเบญจภาคี

Exit mobile version