อ่านเพิ่มเติม "พระบูชา พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ มูลนิธิชัยพั"" />

พระบูชา พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ มูลนิธิชัยพั

พระบูชา
พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ มูลนิธิชัยพั

พระบูชา
พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ มูลนิธิชัยพัฒนา
หมายเลขประจำองค์พระ ๑๔๒
หน้าตัก ๙ นิ้ว
ฐานกว้าง ๑๕ นิ้ว ลึก ๘ นิ้ว
สูงรวมฐาน ๑๗ นิ้ว
เทหล่อด้วยเนื้อโลหะผสมรมด
ตอกโค๊ด “หอยสังข์” เพื่อป้องกันการปลอมแปลง
พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ หรือ พระพุทธรูปสี่มุมเมือง ถูกสร้างขึ้นด้วยความเชื่อตามโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อปกป้องขอบขัณฑสีมาทั้งสี่ทิศ เป็นจตุรพุทธปราการในการปกป้องภยันตรายจากอริราชศัตรู ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย เสริมสร้างพลานามัย ขจัดโรคภัย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างดวงชะตาแก่ที่อยู่อาศัย และบ้านเมือง ตลอดจนคุ้มครองพสกนิกรทั้งมวลให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงพระประชวรด้วยโรคพระหทัย (โรคหัวใจ) ทำให้ประชาชนชาวไทยทั้งปวงต่างตระหนกตกใจและมีความเป็นห่วงใยในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเดชะพระบารมีและด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ทำให้การถวายการรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นไปด้วยดี ทำให้พระองค์ทรงหายจากอาการประชวรได้ในเร็ววัน นำมาซึ่งความปลื้มปิติยินดีเป็นล้นพ้นแก่คนไทยทุกหมู่เหล่า

เป็นปฐมบทแห่งการกำเนิดพระพุทธปฏิมาในนาม พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ เพื่อมอบถวายแด่พระองค์ท่าน ประมาณว่าเป็นพุทธบูชามิ่งมหามงคล เพื่อให้ทรงหายจากอาการประชวรโดยเร็ว เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองคำบริสุทธิ์ 90% น้ำหนัก 113.30 กก. ขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว สื่อความหมายถึงองค์รัชกาลที่ 9 รวมถึงสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นั่นก็คือสมเด็จญาณสังวร อดีตสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นที่ปรึกษาในการจัดสร้าง โดยได้ “อาจารย์เศวต เทศน์ธรรม” อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ปั้นหุ่นพระพุทธรูป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งถึงการทูลเกล้าฯถวายพระพุทธนิรโรคันตรายว่า…

“ขอขอบใจที่ได้นำพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์มาให้ชื่อว่า “นิรโรคันตราย” เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปที่คุ้มครองไม่ให้มีอันตรายทั้งหลาย โดยเฉพาะโรคภัย ซึ่งเป็นประโยชน์เพราะจำเป็นต้องรักษาสุขภาพให้ดี”

โดยพระนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศองค์ที่เคยพระราชทานนั้นประดิษฐานที่วัดศาลาแดง จ.สระบุรี เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองสระบุรี 1 ใน 4 องค์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯพระราชทานให้แก่ชาวสระบุรี เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2511 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำทิศตะวันออก โดยพระราชทานแก่จังหวัดต่างๆทั้ง 4 ทิศ ได้แก่…
– ทิศเหนือที่จังหวัดลำปาง
– ทิศใต้ที่จังหวัดพัทลุง
– ทิศตะวันตกที่จังหวัดราชบุรี
– ทิศตะวันออกที่จังหวัดสระบุรี

ล่วงมาถึงปี 2539 ซึ่งเป็นปีกาญจนาภิเษก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ 50 ปี ทางมูลนิธิชัยพัฒนาเล็งเห็นโอกาสที่จะจัดสร้างมงคลวัตถุที่ระลึกในพิธีดังกล่าว จึงได้นำพระพุทธรูปนิรโรคันตรายขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว เนื้อทองคำที่สร้างถวายเมื่อปี 2538 ดังกล่าวข้างต้น มาเป็นแม่แบบในการจัดสร้าง “พระพุทธนิรโรคันตราย ชัยวัฒน์จตุรทิศ” ขึ้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา จ.สระบุรี ซึ่งเป็นวัดต้นแบบในโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนา

โดยได้ขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศจำลองด้วยขนาดหน้าตัก 49 นิ้ว จำนวน 3 องค์ หน้าตัก 29 นิ้ว จำนวน 2 องค์ (ขนาดหน้าตักที่ลงท้ายด้วยเลข 9 นั้นสื่อให้หมายถึงรัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เพื่อนำไปประดิษฐานในสถานที่สำคัญของประเทศ

โดยในครั้งนั้นมีพระบรมราชานุญาตให้มีการจำลองเป็นองค์ขนาดหน้าตัก 6 และ 9 นิ้ว มีทั้งแบบรมดำ และปิดทองแท้ เพื่อให้ประชาชนนำไปสักการะบูชาในบ้านเรือน รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วได้นำเข้าสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนาต่อไป

พระพักตร์นั้นได้แรงบันดาลใจมาจากศิลปะสุโขทัย โดยประยุกต์ให้ร่วมสมัย มีความงดงามเป็นอัตลักษณ์ เปี่ยมไปด้วยฝีมือเชิงช่างแบบไร้ที่ติ ประติมากรผู้ฝากฝีมือเชิงช่างชั้นครูนั้นสามารถถ่ายทอดความเป็นอัจริยะภาพอันเอกอุ ผ่านทางผลงานที่เป็นมงคลวัตถุในพระพุทธปฏิมาองค์นี้ได้อย่างยอดเยี่ยม สมบูรณ์แบบ เหมาะเจาะลงตัวอย่างน่าทึ่ง

ด้านหน้าผ้าทิพย์ประดับพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี ปรากฎเครื่องหมายของมูลนิธิชัยพัฒนาเชื่อมติดกับพื้นผนังของฐานทางด้านหลัง โดยตอกโค๊ดรูป •หอยสังข์• ที่มุมบนซ้ายของขอบฐานด้านหลัง เพื่อป้องกันปลอมแปลง อีกทั้งมีการสลักหมายเลขประจำองค์พระไว้ทุกองค์ (องค์นี้หมายเลข ๑ ๒ ๕ ๑ )

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 องค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯกำหนดแบบตราสัญลักษณ์พร้อมทั้งความหมายด้วยพระองค์เอง และได้พระราชทานเป็นเครื่องหมายประจำมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย

1) พระแสงขรรค์ชัยศรี มีความหมายถึงพระราชอำนาจ พระบารมี และกำลังแผ่นดินที่จะ ฟันฝ่าให้เกิดการดำเนินการต่างๆ อันเป็นผลไปสู่ความมั่นคงแห่งพระราชอาณาจักร

2) ธงกระบี่ธุช เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะในการต่อสู้ เพื่อป้องกันอาณาประชาราษฎร์และพระราชอาณาจักรให้พ้นภยันตรายทั้งปวงและประสบความสำเร็จในการต่อสู้นั้น

3) ดอกบัว มีความหมายถึงศักดิ์ศรี ความสงบร่มเย็น ความเจริญงอกงาม และความบริบูรณ์แห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร ตลอดจนบรรดาทรัพยากรทั้งปวง อันจะนำไปสู่ความอยู่ดีกินดีและความสงบสันติสุขของประชาชนโดยทั่วหน้ากัน

4) สังข์ มีความหมายถึงน้ำที่จะสร้างความชุ่มชื้น ชโลมแผ่นดินให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และความร่มเย็นเป็นสุข

☆ จัดให้มีพิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ☆

นับเป็นองค์พระพุทธปฏิมาจำลองที่วงการฯให้ความนิยมอย่างมาก อีกทั้งเสาะหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน.







โดยสมาชิก ชื่อ Kullanath Kullohamongkol
จากกลุ่ม ซื้อ-ขาย พระบูชาไทย Thailand Buddha statue

Exit mobile version