กท1 15/5/66
#เปิดพระยอดธง กรุวัดชะเมา นครศรีธรรมราช .ส

กท1 15/5/66
#เปิดพระยอดธง กรุวัดชะเมา นครศรีธรรมราช .สภาพเดิมๆจากกรุหายากครับ

พระยอดธง กรุวัดชะเมา หรือวัดประตูเขียน อ.เมือง นครศรีธรรมราช….อายุการสร้างสมัยอยุธยาตอนต้น ประมาณปี พ.ศ.2200 …. องค์ที่ท่านกำลัง ทัศนา อยู่นี้ #เป็นเนื้อทองสัมฤทธิ์ จาก พุทธคุณ…คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด มหาอำนาจ มหานิยม เสริมบารมีและโชคลาภ กล่าวกันว่า ใครมีไว้ในครอบครอง จะประสบแต่ความสำเร็จ ดั่งเป็นเคล็ดตามตำราพิชัยสงครามเมื่อครั้งโบราณกาล ที่สร้างพระยอดธง ไว้ประจำธงชัย ในการออกรบ สำหรับประวัติการค้นพบ………. กลายเป็นที่ฮือฮา การค้นพบ “พระยอดธงศิลปะอยุธยาตอนต้น” พระกรุเมืองคอน วัดชะเมา ถ.ราชดำเนิน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปลายเดือนเม.ย.54 เป็นจุดประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ชาวบ้านเรียกชื่อสืบทอดกันว่า”หลวงพ่อสูง” หน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ ความเป็นมานั้นได้สืบค้นข้อมูลและพบจารึกที่ฐานพระพุทธรูปว่า สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.1079 ประดิษฐานที่เดิมตรงพื้นที่วัดประตูเขียน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองนครศรีธรรมราช พบในบริเวณใต้ฐานพระประธานที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังวัด และมีการเคลื่อนย้ายมาบูรณะประดิษฐานด้านหน้าวัด เป็นพระพุทธรูปศิลปะลังกาวงศ์ มีหน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ สูงประมาณ 4 เมตรเศษ ซึ่งถูกบูรณะให้อยู่ในรูปทรงเดิมอย่างงดงาม เผยอาถรรพ์ใครคิดเคลื่อนย้ายเกิดอาเพศทั้งลมพายุ,ฟ้าผ่าและอุบัติเหตุ-ระบุ 9 เจ้าอาวาสมรณภาพปริศนา “พระเกษม เขมจิตโต”กล้าลองของแต่เคลื่อนย้ายสำเร็จ-แตกตื่นพระทองคำพร้อมเพชรนิลจินดาใต้ฐานเพียบ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 14 ส.ค.2554 ที่วัดชะเมา ถนนราชดำเนิน ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้มีประชาชนจำนวนมากแห่เดินทางไปชมการประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ อายุเกือบ 1,500 ปี ซึ่งประเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสย้ายจากสถานที่ประดิษฐานเก่าบริเวณด้านหลังวัด มาประดิษฐานในที่ใหม่บริเวณลานด้านหน้าวัด ริมถนนราชดำเนิน อยู่ระหว่างการบูรณะซ่อมแซมโดยก่อปูนหุ้มองค์พระเดิมแต่ยังไม่แล้วเสร็จ และยังพบว่าใต้ฐานเดิมที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังกล่าวมีพระพุทธรูปองค์เล็กหน้าตัก 3 นิ้ว 5 นิ้ว และ 7 นิ้ว พระเครื่องศิลปะลังกาวงศ์ที่ทำด้วยทองคำ และทำด้วยเงินรวมหลายองค์ บางองค์ชำรุดเศียรขาดก็มี อีกทั้งยังพบเพชรนิลจินดาของมีค่าอีกจำนวนมาก ทำให้ประชาชนที่ทราบข่าวแห่เดินทางมาขอชมอย่างต่อเนื่อง สำหรับพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ทำการย้ายออกมาประดิษฐานที่ใหม่นั้น มีหน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ สูงประมาณ 4 เมตรเศษ นำมาบูรณะซ่อมแซมและประดิษฐานให้อยู่ในลักษณะรูปทรงเดิมอย่างงดงาม อย่างไรก็ตามพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมีการเล่าลื่อกันมานับ 100 ปีว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีอาถรรพ์มาก หากใครคิดจะเคลื่อนย้ายจะต้องจะเกิดอาเพศต่าง ๆ นา ๆ เช่น เกิดฟ้าผ่า เกิดลมพายุที่คนโบราณเรียกว่า”ลมหัวด้วน” หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง จนไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้สำเร็จแม้เจ้าอาวาสวัดชะเมาจะพยายามมาตลอดถึง 9 เจ้าอาวาส ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุหรือฆราวาสจะมีอันเป็นไปจนมรณภาพและเสียชีวิตอย่างปริศนาทุกราย การที่พระเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน กล้าเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ทำให้คนทั่วไปให้ความสนใจและวิพากวิจารณ์อย่างกว้างขวาง และเป็นห่วงว่าพระเกษม เจ้าอาวาสจะมีอันเป็นไปจนมรณภาพไปอีกรูป เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระปลัดเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสวัดชะเมา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า พระพุทธรูปองค์นี้ชาวบ้านเรียกชื่อสืบทอดกันว่า “หลวงพ่อสูง” เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ หน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ ซึ่งพุทธลักษณะศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์นั้นจะต้องเป็นแบบนั่งราบเท่านั้น คือนั่งขัดสมาธิแบบขาขวาทับบนขาซ้าย จากการได้สืบค้นข้อมูลความเป็นมาคาดว่าสร้างสมัยเชียงแสนตอนต้นโดยช่างลังกา โดยเฉพาะมีหลักฐานจากการพบจารึกที่ใต้ฐานพระพุทธรูปว่าสร้างในปี พ.ศ.1079 หากนับจนถึงปีนี้พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุเก่าแก่ถึง 1,475 ปี เดิมประดิษฐานตรงพื้นที่วัดประตูเขียน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งแต่โบราณ ภายหลังในปี พ.ศ.2458 หรือเกือบ 100 ปีที่ผ่านมา พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณสิริธรรมมุณี หรือพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตฺนธชเถร)เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ได้สั่งการให้รวมพื้นที่วัดขึ้น 3 วัด คือ วัดประตูเขียน วัดสมิทฐาน และ วัดโมฬี หรือ วัดชะเมา เป็นพื้นที่เดียวกันและกลายเป็นวัดชะเมาในปัจจุบันนั่นเอง “พระพุทธรูปองค์นี้เดิมประดิษฐานอยู่ในเขตวัดประตูเขียน ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ของวัดชะเมาในปัจจุบัน และเจ้าอาวาสวัดชะเมาทุกรูปเห็นว่าพระพุทธรูป”หลวงพ่อสูง”เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่สำคัญจึงต้องการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปหลวงพ่อสูงมาอยู่บริเวณหน้าวัดซึ่งเป็นจุดที่เหมาะสม ประชาชนที่ผ่านไปมาจะได้มีโอกาสแวะเข้าไปสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลได้อย่างสะดวก โดยที่ผ่านมาได้พยายามเคลื่อนย้ายมาอย่างยาวนานต่อเนื่องถึง 9 เจ้าอาวาส แต่ไม่สำเร็จ ทำให้พระพุทธรูปที่เก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และเป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปว่าความพยายามของเจ้าอาวาสที่ผ่านมาเกิดอาเพศตลอดว่าเมื่อจะทำการเคลื่อนย้ายก็จะเกิดปรากฏการณ์เหลือเชื่อทุกครั้ง ในบางครั้งเกิดฟ้าผ่าลงมาอย่างรุนแรง บางครั้งเกิดลมพายุหัวด้วนอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย หรือเกิดอุบัติเหตุกับช่างหรือคนงานที่มาเคลื่อนย้าย” พระปลัดเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสวัดชะเมา กล่าวต่ออีกว่า เมื่อไม่มีใครกล้าดำเนินการจึงมีการปล่อยปละละเลยไว้เฉย ๆ จนเมื่อปี 2516 พระครูสุทธิจารี เป็นเจ้าอาวาสมีปรารภให้ย้ายพระพุทธรูปหลวงพ่อสูงแต่ท่านได้มรณภาพลงอย่างกระทันหัน ต่อมาสมัยพระครูกาแก้ว เป็นเจ้าอาวาส ได้ขอดำเนินการปลูกสร้างโรงเรือนหลังคามุงสังกะสีกันแดดกันฝน แต่พระครูกาแก้วก็มรณภาพ
(รับประกันพระแท้เก้คืนเต็ม)





โดยสมาชิก ชื่อ สุเมธ สุขแก้ว
จากกลุ่ม ชมรมพระเครื่องเมืองใต้@นครศรีฯ@สุราษฎร์@ทั่วไป…