#พระเนื้อดินจงอางศึก บูชา ๓_๕_๐ บ.#
พระอู่ทองแจกทหาร รุ

#พระเนื้อดินจงอางศึก บูชา ๓_๕_๐ บ.#
พระอู่ทองแจกทหาร รุ่นจงอางศึก ๒๕๑๐-๒๕๑๑
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดพระธาตุฯ สุพรรณบุรี
อันเป็นที่ค้นพบพระกรุ “พระผงสุพรรณ” และ ”พระมเหศวร”
ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๕ พระชุดเบญจภาคี เนื้อผง และ เนื้อชิน
ท้าวความปฐมบทเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๐
ประเทศไทยได้จัดส่งกองกำลังทหาร “หน่วยจงอางศึก”
เข้าร่วมรบสมทบกับกองกำลังสหประชาชาติ
ในสงครามเวียดนามที่ประเทศเวียดนามใต้
ในการนี้ทำให้ ”จอมพลถนอม กิติขจร”
ได้ มีคำสั่งให้ดำเนินการ จัดสร้างพระอู่ทอง “รุ่นจงอางศึก”
นี้โดยเฉพาะเพื่อแจกให้ทหารที่ไปรบเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ
หลวงปู่โพธิ์ เจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ
ได้เป็นผู้รับดำเนิดการจัดสร้าง “พระอู่ทองรุ่นจงอางศึก”
ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ครั้งที่สองในปี ๒๕๑๑
”พระเนื้อดินยุคต้น”
มีการรวบรวมพระกรุเนื้อดินเนื้อผงฯที่ชำรุดแตกหัก
มาเป็นส่วนผสมหลักในการจัดสร้างพระชุดนี้
๑.พระผงสุพรรณ กรุวัดพระธาตุฯ
๒.พระกรุวัดบ้านกร่าง
๓.พระกรุถ้ำเสือ
๔.พระกรุสำปะซิว
๕.พระกรุบางยี่หน
๖.พระกรุวัดพระรูป
๗.ชิ้นส่วนที่แตกหักพระสมเด็จฯ
พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่ ๒๕๐๐
ซึ่งรับบริจากมาในสมัย ๒๕๐๐-๒๕๑๐ พระสมเด็จบางขุนพรหมที่หักยังไม่มีราคามากนักแต่จำนวนมากน้อยเพียงใด
ไม่สามารถทราบได้และยังมีพระผงเก่าๆ อีกหลายอย่าง
#มวลสารวัสดุที่นำมาใช้ผสม
๑.ผงวิเศษฯ ของพระเกจิคณาจารย์
๒.เกสรดอกไม้มงคลหลายชนิดฯ
๓.ว่านศักดิ์สิทธิ์ชนิดต่างๆ
๔.ดินกองละเอียด และ ดินสถานที่สำคัญฯ
ในจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อนำมาผสมเป็น มวลสารหลัก
๕.แร่วิเศษต่างๆ และ ของทนสิทธิ์ฯ
”พระอู่ทองเนื้อชิน”
#กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อชิน
๑.พระกรุเนื้อชินที่ชำรุดของทางวัดพระธาตุฯ
๒.ตะปูสังขวานรที่ใช้ตอกเสาโบสถ์
๓.พระกรุเนื้อชินต่างๆ เท่าที่จะหามาเป็นชนวนได้
นำมวลสารเหล่านี้มาเป็นชนวนหล่อในการสร้าง
ได้นำมาเป็นมวลสารหลักในการสร้าง ”เนื้อชินตะกั่ว”
ในความเข้าใจคาดว่าที่ต้องเป็นเนื้อชินตะกั่วเพราะว่า
ผู้สร้างต้องการให้ได้พระจำนวนมากขึ้น จึงนำตะกั่วมา
ผสมเพื่อให้ได้พระเพิ่มขึ้นเพื่อแจกเฉพาะบุคคล
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และ กรรมการผู้ร่วมจัดสร้างในขณะนั้น
พุทธลักษณะคล้ายคลึงกับพระสุพรรณยอดโถเดิมฯ
ด้านหลังเป็นรูป ”องค์พระปรางค์” อันเป็นสัญญาลักษณ์
ของพระรุ่นนี้ จำนวนการสร้าง ๑,๐๐๐ องค์เศษฯ
#พิธีมหาพุทธาภิเษก
เมื่อวันที่ ๑๓ พ.ค. ๒๕๑๐
ได้มีเชิญพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังร่วมปลุกเสก
พระชุดจงอางศึกรวมทั้งหมด ๖๙ รูป
รายชื่อพระเกจิคณาจารย์ทั้งหมดที่ร่วมปลุกเสก มีดังนี้
สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) วัดพระเชตุพนฯ เป็นประธานพิธีฯ
๑.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
๒.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
๓.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
๔.หลวงพ่อคํา วัดหน่อพุทธางกูร จ.สุพรรณบุรี
๕.หลวงพ่อใจ วัดวังยายหุ่น จ.สุพรรณบุรี
๖.หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ จ.สุพรรณบุรี
๗.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
๘.หลวงพ่อดี วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี
๙.หลวงพ่อโต๊ะ วัดลาดตาล จ.สุพรรณบุรี
๑o.หลวงพ่อเจริญ วัดธัญเจริญ จ.สุพรรณบุรี
๑๑.หลวงพ่อบุญ วัดโคกโคเฒ่า จ.สุพรรณบุรี
๑๒.หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง จ.สุพรรณบุรี
๑๓.หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
๑๔.หลวงพ่อตุ๊ วัดท่าเจริญ จ.สุพรรณบุรี
๑๕.หลวงพ่อเผื่อน วัดไทรย์ จ.สุพรรณบุรี
๑๖.หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์เจริญ จ.สุพรรณบุรี
๑๗.หลวงพ่อเจิม วัดกุฎีทอง จ.สุพรรณบุรี
๑๘.หลวงพ่อเลียบ วัดช่องลม จ.สุพรรณบุรี
๑๙.หลวงพ่อวิจิตร วัดบ้านทึง จ.สุพรรณบุรี
๒o.หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี
๒๑.หลวงพ่อสุบิน วัดท่าช้าง จ.สุพรรณบุรี
๒๒.หลวงปู่นาถ วัดศรีโลหะ จ.กาญจนบุรี
๒๓.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
๒๔.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี
๒๕.หลวงปู่โต๊ะ วัดสระเกษ จ.อ่างทอง
๒๖.หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธ์ จ.อ่างทอง
๒๗.หลวงพ่อสาย วัดท้องคุ้ง จ.อ่างทอง
๒๘.หลวงพ่อไวทย์ วัดบรมวงศ์ จ.อยุธยา
๒๙.หลวงพ่อด่วน วัดกล้วย จ.อยุธยา
๓o.หลวงพ่อชม วัดเขาดิน จ.อยุธยา
๓๑.หลวงพ่อทิม วัดพระขาว จ.อยุธยา
๓๒.หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จ.อยุธยา
๓๓.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.อยุธยา
๓๔.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
๓๕.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา
๓๖.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
๓๗.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
๓๘.หลวงปู่เพิ่ม วัดสรรเพชร จ.นครปฐม
๓๙.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
๔o.พระอาจารย์เจียม วัดไร่ขิง จ.นครปฐม
๔๑.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร
๔๒.หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร
๔๓.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร
๔๔.หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร
๔๕.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
๔๖.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี จ.กรุงเทพฯ
๔๗.หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตาราม จ.กรุงเทพฯ
๔๘.หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง จ.กรุงเทพฯ
๔๙.หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร จ.กรุงเทพฯ
๕o.หลวงปู่เพิ่ม วัดสามปลื้ม จ.กรุงเทพฯ
๕๑.หลวงพ่อผ่อง วัดสามปลื้ม จ.กรุงเทพฯ
๕๒.หลวงพ่อหวล วัดพิกุล จ.กรุงเทพฯ
๕๓.หลวงพ่อบุญนาค วัดเศวตฉัตร จ.กรุงเทพฯ
๕๔.หลวงพ่อผล วัดหนังบางขุนเทียน จ.กรุงเทพฯ
๕๕.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร จ.กรุงเทพฯ
๕๖.หลวงพ่อเฮง วัดกัลยาณมิตร จ.กรุงเทพฯ
๕๗.หลวงพ่อบุญมี วัดกลางอ่างแก้ว จ.กรุงเทพฯ
๕๘.หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม จ.ราชบุรี
๕๙.หลวงปู่สิมมา วัดบ้านหมอ จ.สระบุรี
๖o.หลวงพ่อโอด วัดโคกเดื่อ จ.นครสวรรค์
๖๑.หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว จ.นครสวรรค์
๖๒.หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
๖๓.หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บําเพ็ญบุญ จ.ชัยนาท
๖๔.หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี
๖๕.พระอธิการถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
๖๖.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน จ.เพชรบูรณ์
๖๗.พระอาจารย์สําราญ วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี
๖๘.หลวงพ่ออบ วัดถ้ําแก้ว จ.เพชรบุรี
๖๙.หลวงพ่อนิ่ม วัดเขาน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
เมื่อประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งแรกแล้ว
กองบัญชาการทหารสูงสุดโดยคำสั่งของ ”จอมพลขน กิตติขจร”
ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เดินทางมารับมอบพระรุ่นจงอางศึก
จำนวน ๒๕,๗๐๐ องค์ เพื่อแจกแก่ทหารอาสาสมัคร
เพื่อเดินทางไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม นอกจากนี้
ทางวัดพระศรีมหาธาตุฯ จังหวัด สุพรรณบุรี
ยังนำพระที่เหลือเข้าประกอบพิธีพุทธาภิเษกฯ
อีกสองครั้งในวันที่ ๒-๑๐ มี.ค. ในปี พ.ศ.๒๕๑๑
และวันที่ ๑๓ เม.ย. ๒๕๑๑ อีกครั้งในปีเดียวกัน
นำพระที่เหลือแจกประชาชน และ ข้าราชการ
ทั่วไปในจังหวัดพระส่วนนึงพระเกจิคณาจารย์
ได้นำกลับไปแจกลูกศิษย์และนำพระบรรจุ
กรุไว้ตามวัดต่าง ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นการ
สืบศาสนาต่อไปฯ ในภายหน้า
ทางวัดพระธาตุฯได้มีการนำพระอู่ทองแจกทหาร
ที่เหลือทั้งหมดประมานการได้ว่า ๑๘๔,๐๐๐ องค์
บรรจุไว้ในองค์พระปรางค์เจดีย์ ณ วัดพระธาตุฯ
จังหวัดสุพรรณบุรี
เมื่อวันที่ ๒๘ ม.ค. พ.ศ. ๒๕๑๒ และยังไม่มีการเปิดกรุ
จนถึงทุกวันนี้
สร้างครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๐
บันทึกระบุจำนวนไว้ ๒๕,๗๐๐ องค์
แจกจ่ายให้ ”ทหารอาสาสมัครรุ่นจงอางศึก”
ไปรบร่วมสงครามเวียดนาม จำนวน ๓,๓๒๕ องค์
สร้างครั้งที่สองในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ องค์
แจกจ่ายให้แก่ข้าราชการและหน่วยงานต่างๆทั่วประเทศ
พระอู่ทองแจกทหาร ”รุ่นจงอางศึก” ๒๕๑๐-๒๕๑๑
มีประสบการณ์และอิทธิปาฏิหาริย์มากมายใน ”สงครามเวียดนาม”
หน่วยรบอาสาสมัคร ”รุ่นจงอางศึกทหารของไทย” ต่างพบเจอ
ประสบการณ์เชื่อมั่นในพุทธคุณและมั่นใจเป็นอันมาก
ไม่ว่าจะโดนยิง!! หรือ โดนกับระเบิด ต่างก็รอดจากพญามัจจุราช
มาได้อย่างน่าอัศจรรย์จนชื่อของทหารไทยได้รับสมยานามว่า
”หน่วยรบทหารผีฆ่าไม่ตาย” จากสงครามเวียดนาม
พระอู่ทองแจกทหารจงอางศึก รุ่นนี้จึงเป็นของดีที่มี พุทธคุณทุกด้านฯ
แคล้วคลาด,คงกะพันชาตรี,เมตตามหานิยม,มหาอุตม์,โชคทรัพย์
เป็นพระดี ราคาถูก เป็นพระที่น่าสะสม และ บูชาติดตัวอีก





โดยสมาชิก ชื่อ บอล ปืนแตก
จากกลุ่ม จากกลุ่มเฟสบุ๊ค นิยมไทยพระเครื่อง