#นิยมไทย1768 เม็ดยาวาสนาจินดามณีหลวงปู่เจือ วัดกลางบางแ

#นิยมไทย1768 เม็ดยาวาสนาจินดามณีหลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว
ยาวาสนาจินดามณี ตำรับวัดกลางบางแก้ว ตกทอดจาก หลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม กลิ่นหอมรัญจวนใจ ตัวยาวาสนาจินดามณีมีกลิ่นและรสเฉพาะตัว พุทธคุณในหลายด้าน เรียกว่ารอบด้าน ก็ย่อมได้จะใช้กินอาราธนา รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ใช้แทนพระเครื่องของท่านก็ได้สบาย เป็นเมตตามหานิยมอย่างแรงกล้า อมในปากใช้เจรจางานสำคัญๆจะสัมฤทธิ์ผลเป็นคุณแห่งผู้ใช้งาน

ตำราการสร้างผงยาวาสนาจินดามณี มีดังนี้-.

เครื่องยาผงจินดามณีประกอบด้วย
เกสรบุษบัน 1 เปราะหอม 1 ดอกจันทร์ 1 ดอกคราด 1 โกฏิสอ 1 โกฏิเขมา 1 เปลือกกุ่มชลธาร 1 โกฐเขมา 1 กำยาน 1 ทองน้ำประสาน 1 อย่างละเท่ากันบดตำผสมกับพิมเสน ชมดเชียง น้ำผึ้งรวงรัน แกนไม้กฤษณานำมาเผาเอาแต่น้ำมันที่ควันลอยมาเกาะเป็นยางเหนียวสีดำ (ไม้กฤษณานี้ จะขึ้นเองในป่า ราคากิโลกรัมละ หลักแสนบาท) น้ำมะนาวสดคั้น น้ำมะเขือขื่นคั้นเป็นตัวประสานผสมยาเข้าด้วยกันการบดตำยาผสมยานี้จะต้องทำกันในพระอุโบสถวัดกลางบางแก้ว อัญเชิญดวงวิญญาณบูรพคณาจารย์และเทวดา ฤษีจินดามณี เป็นผู้ดูแลโดยตั้งเครื่องสักการบูชา ดอกไม้บายศรีต่างๆ เครื่องคาวหวาน หัวหมู เป็ด ไก่ ปลา ผลหมากรากไม้เป็นต้น นำมาเซ่นสรวง จะเลือกทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งวันนั้นคือวันเพ็ญเดือน ๑๒ ผู้ที่เข้าทำการบดยา(พนักงานฝ่ายฆราวาสในพระอุโบสถ)จะต้องชำระร่างกายให้สะอาด นุ่งขาวห่มขาว ถ้าเป็นสตรีเพศจะต้องเป็นพรหมจารีย์บริสุทธิ์ ถือศีลแปด ก่อนกระทำพิธีอย่างน้อย ๗ วันขึ้นไปเมื่อผสมตัวยาต่างๆ ๒๐๐ กว่าตัวได้ที่แล้วจึงปั้นเป็นเม็ดยาวาสนาจินดามณี(จะใช้หญิงสาวพรหมจรรย์เป็นผู้ปั้นเม็ดยา) ผึ่งลมให้แห้ง แล้วเสกต่อด้วยพระคาถามีดังนี้

จินดามณี ปิยังมันตัง ยะสังธาสัง ดกมัง อุปสันติ สะเนหัง มาตาปิตาวโอรสัง ปโพสัญจะ มหาราชา ตวังมังโป สัตถุโนทิปัง กาเรเทโว สุโปเสทิ กิญจิเทโว สักโกปัชชัง พัสมิงกินเนวา ทัตวา ปิยังกัตตะ สิรีปุตโต ภวันตุเม สิท์ลาภัง ชะนานะเย
ประธานฝ่ายสงฆ์ผู้ประกอบพิธี ในพิธีการปรุงยา ต้องอารธนา และยอมลดทอนอายุตนเองที่มาสร้างยา ครั้งละ ๑๐ ปี (กระทำการช่วยมนุษย์เหนือกรรม)หลวงปู่บุญ ปรุงยาได้ ๒ คราว หลวงปู่เพิ่ม ปรุงยาได้ ๒ คราวเช่นกัน ส่วนหลวงปู่เจือก็มีความตั้งใจปรุงเพียง ๒ คราวเช่นเดียวกับบรรดาปรมาจารย์ทั้ง ๒ ท่าน แต่มีเหตุปัจจัยที่หลวงปู่เจือ ต้องปรุงยาครั้งที่ ๓ กล่าวคือ พระองค์เจ้าพัชระกิติยาภา(พระยศในขณะนั้น) มีพระประสงค์ให้หลวงปู่เจือ ปรุงยาวาสนาจินดามณีถวายเป็นการเฉพาะเพื่อนำเข้าวัง เป็นพระโอสถเพื่อ เสวยป้องกันแลรักษาโรคภัยำข้เจ็บกันในวังเท่านั้น

สีของผงยาวาสนาจินดามณีมักจะออกสีน้ำตาลแกมดำเข้มหรือ แล้วแต่สีของตัวยาสมุนไพร ณ.คราวนั้นๆ และตัวประสานนั่นเอง จะนำยาวาสนาจินดามณีที่ได้มาทำการบดด้วยครกหรือเครื่องบดยาโบราณด้วยหินบดยาให้ตัวยานั้นละเอียดเนียนแล้วร่อนส่วนที่ไม่ละเอียดนำมาบดใหม่อีกคราวหนึ่งให้ละเอียดจนใช้การได้ดี อีกครั้งจึงค่อยผสมเข้าด้วยกัน สำหรับ คราวที่จะนำยาวาสนาจินมณี ไปสร้างประคำวาสนาจินดามณี จะสอดตะกรุดเงินมีแกนเป็นตะกรุดลงพุทธคุณทุกดอก ๑๐๘ ดอก(ลงพระคาถา อิติปิโส ๑๐๘ จารไม่ซ้ำอักขรังะกัน). แล้วจึงเอาตะกรุดเงินสอดไปยังเม็ดยานั้น ขณะร้อยประคำก็ว่าคาถากำกับด้วยคาถาอิติปิโส ๑๐๘ (ขณะจารตะกรุดเงินก็ท่องบ่นคาถานี้ไปด้วยเช่นกันไป ทำให้สะดวกในการร้อยประคำและไม่ทำให้รอยอุดตันด้วย ส่วนที่ทำเม็ดยานั้นต้องปั้นให้กลมและมีขนาดกลืนกินได้สะดวกคือขนาด “เม็ดนุ่น”

อุปเท่ห์ “ยาจินดามณี”

ตามตำรากล่าวว่าผู้ใดได้กิน “ยาจินดามณี” จะมีความเจริญทุกด้านกว่าคนทั้งหลาย ลาภ ยศ เงินทองจะหลั่งไหลมาเทมา และถ้านำไปบูชากราบไหว้สักการะทุกวันจะระงับภัยอันตรายต่าง ๆ ได้ ขึ้นโรงขึ้นศาลโทษหนักเท่าหนักถึงตายจะลดลงหรือพ้นโทษได้ พกติดตัวไว้จะเป็นที่ชื่นชมของคนทั่วไป เจรจาเป็นที่จับใจเป็นคุณแก่ผู้นำมาอมไว้ในปากสำหรับการเจรจางานสำคัญๆตลอดจนกระทั่งมีสง่าราศี เรียกได้ว่าใครเห็นใครรัก ใครพบใครหลงจนกระทั่งยาจินดามณีนี้มีการขนานนามอีกนามหนึ่งว่า “ยาวาสนา”

สรุปได้ว่ายาจินดามณีนี้มีพุทธานุภาพทุกด้าน ทั้งแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ลาภผลพูนทวี เมตตามหานิยม เปรียบเสมือนยาดำ ซึ่งรักษาได้สารพัดโรคก็ว่าได้ ท่านเจ้าคุณพระพุทธวิถีนายก(บุญ) พระพุธวิถีนายก(เพิ่ม) พระสมุห์ เจือ ปิยสีโล วัดกลางบางแก้ว ผู้สืบสานการสร้างยาวาสนาจินเามณี อำเภอครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นสำนักเดียวในประเทศไทย ที่สืบทอดตำรายาจากพระมหาเถร คันฉ่องหรือ อีกนามหนึ่งคือ สมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว (ฝ่ายอรัญญวาสี) เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา







โดยสมาชิก ชื่อ พรสุข รัตนะ รัตนตรัยภพ
จากกลุ่ม จากกลุ่มเฟสบุ๊ค นิยมไทยพระเครื่อง