#นิยมไทย0669 (เทพพระย่อย)

คืนนี้คล้องเดี่ยว!!

” หล่ออ

#นิยมไทย0669 (เทพพระย่อย™)

👉👉👉คืนนี้คล้องเดี่ยว!!👈👈👈

” หล่ออกเลา ผีเห็นเงา ยังต้องหลบ
บางตนปีน ต้นตะขบ กบดานหนี
นอนในหลุม คลุมผ้าขาว ก้าวจรลี
ยอดพิธี เกจิขลัง พลังแรง!! ”

#ค่ำคืนของวันพระ
” ขึ้น๘ค่ำ เดือน๑๑ ปีขาล ”

#ผีมักจะออกอาลาวาด
(ตามความเชื่อของคนโบราณ)

ควรหาเครื่องรางของขลังที่ป้องกันผี!!

#เหรียญหล่ออกเลา
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก พศ.๒๔๙๕

#อกเลา
นมอกเลาที่วิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก นั้น ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาที่โปรดให้ทำบานประตูวิหารโดยการ “ประดับมุก” ซึ่งนับเป็นบานประตูประดับมุกที่งดงามที่สุดในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ถึงขนาดทรงตรัสถึง‘นมอกเลา’ ที่นี่ในคราวเสด็จนมัสการพระพุทธชินราชว่า “นี่แหละ ของวิเศษมีอยู่ที่นี่” สาเหตุที่ตรัสเช่นนี้ เป็นเพราะนอกจากความงดงามแห่งศิลปะที่ยากจะหาใครเสมอเหมือนแล้ว ยังเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า นมอกเลานี้ คนโบราณนิยมอาราธนานำผ้าขาวบางมาวางทาบแล้วซับด้วยหมึก เพื่อนำติดตัวไปออกศึกสงคราม หรือเป็นเครื่องรางชั้นสูงในหมู่ประชาชนทั่วไป

#นมอกเลาหน้าวิหารฯ
จะถูกประดับมุกเป็นรูป ‘หนุมานแบกบุษบก’ ภายในบุษบกประดิษฐานด้วย “อุณาโลม” หมายถึง พระโลมาระหว่างพระขนง หรือ ขนระหว่างคิ้วขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นหนึ่งในลักษณะของมหาบุรุษ ตามคัมภีร์มหาปุริษลักขณะ ที่ส่งผลให้ทวีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคลมากยิ่งขึ้น ที่ทำเป็นรูปหนุมานนั้นสื่อถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่เป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ ซึ่งได้แก่‘พระราม’ บัญชาให้หนุมานทหารเอกทูนแท่นบุษบกมีอุณาโลมมาถวายองค์พระพุทธชินราช เข้าใจว่า คงจะทรงซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระตลอดจนอาจจะมีการถวายพระอุณาโลมไปด้วยในคราวเดียวกันซึ่งปัจจุบันคงไม่เห็นพระอุณาโลมซึ่งปฏิสังขรณ์สมัยนั้นแล้ว

#การประดับมุกบานประตูวิหารพระพุทธชินราช
เป็นฝีมือช่างหลวงชั้นครูสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยบรมราชโองการของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปรากฏคำจารึกที่บานประตูด้านขวามือว่า “ให้ช่าง ๑๓๐ คน เขียนลายประดับมุกที่บานประตูเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๐ พ.ศ.๒๒๙๙ ลงมือประดับมุกเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ รวมเป็นเวลา ๕ เดือน ๒๐ วัน จึงแล้วเสร็จ”

#งานประดับมุกเป็นปราณีตศิลป์ชั้นสูง
โดยใช้ ‘มุก’ ซึ่งได้แก่ เปลือกหอยทะเล เช่น หอยอูด หอยนมสาว นำมาเจียระไนเป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งจะเกิดประกายเลื่อมพรายและติดลงบน‘รัก’ ที่ต้องใช้ความชำนาญอย่างมาก บานประตูจะประดับมุกเป็นลายกนก ผูกเป็นภาพสัตว์หิมพานต์เช่น ราชสีห์ คชสีห์ เหมราช ครุฑ กินนร ในวงกลมที่เรียกว่า “ลายอีแบะ” ด้านละ 9 วง มีกนกหูช้างประกอบช่องไฟระหว่างวงกลม มีลายกรวยเชิงด้านบน และลายประจำยามก้ามปูประดับรอบบานประตู มุกที่ใช้เป็นมุกที่ไวต่อการสะท้อนแสงคนโบราณเรียก “มุกไฟ”

#ลายนมเลาวิหารพระพุทธชินราช
ได้รับความนิยมอัญเชิญมาประดับบนวัตถุมงคลต่างๆ อาทิ ใต้ฐานพระพุทธชินราชอินโดจีน ตามเหรียญพระพุทธชินราชหลังอกเลาประเภทต่างๆ หรือตามฐานผ้าทิพย์ก็มีปรากฏให้เห็น นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างความศรัทธาและความภาคภูมิใจ ให้กับชาวพิษณุโลก และชาวไทยทั่วทั้งประเทศ




โดยสมาชิก ชื่อ ปานเทพ กล้ากลางสมร
จากกลุ่ม จากกลุ่มเฟสบุ๊ค นิยมไทยพระเครื่อง