รูปหล่อบูชาพระพิฆเนศ กรมศิลปากร ปี 47
อายุการสร้าง 18 ป

รูปหล่อบูชาพระพิฆเนศ กรมศิลปากร ปี 47
อายุการสร้าง 18 ปี
ราคา : โทรสอบถาม 089-8929200

สถานะ สภาพสวยเดิม

รายละเอียด
รูปหล่อบูชาพระพิฆเนศ กรมศิลปากร ปี 47

มิติ :
ขนาดหน้าตัก 6 นิ้ว
ฐานกว้าง 6.5 นิ้ว ลึก 5 นิ้ว
สูงรวมฐาน 8 นิ้ว

ตอกโค้ด “ตัวโอม” ในรูปหยดน้ำไว้ด้านบนซ้าย และสลักหมายเลข “๒ ๓ ๑ ๗” ไว้ด้านบนขวาของฐานทางด้านหลัง

ตรงกลางฐานด้านหน้าประดับ “ตราสัญลักษณ์ตัวโอมรูปทรงหยดน้ำ” ปั๊มด้วยโลหะชุบสีทอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นพระพิฆเนศของกรมศิลปากร ที่จัดสร้างในเวลาต่อจากรุ่นแรก ตำแหน่งที่ติดตราสัญลักษณ์นั้นมีแป้นรองรับซึ่งหล่อไว้ในตัวอยู่แล้ว

จัดสร้างด้วยเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง รมดำเคลือบผิว จำนวนทั้งสิ้น 3,000 องค์

กรมศิลปากรเป็นแหล่งรวมแห่งศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปะวิทยาการ สัญลักษณ์ของกรมศิลปากรนั้นเป็นรูปพระพิฆเนศในวงล้อมของดวงแก้ว 7 ดวง อันหมายถึง ศิลปวิทยาการ 7 แขนง ได้แก่ช่างปั้น , จิตรกรรม , ดุริยางคศิลป์ , นาฏศิลป์ , วาทศิลป์ , สถาปัตยกรรม และ อักษรศาสตร์

การที่พระพิฆเนศเป็นที่เคารพบูชาตลอดจนเลื่อมใสศรัทธามาก นั้นเหตุคงมาจากแนวความคิดหลักประการสำคัญที่ว่า…

“เป็นเทพที่สามารถขจัดสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคทั้งปวงได้”

หรืออีกนัย…

“พระพิฆเนศเป็นเทพผู้ประทานความสำเร็จให้แก่บุคคลผู้ทำพิธีกรรมบูชา”

เมื่อเป็นที่พอพระทัยก็จะบังเกิดความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นกิจการงานใดก็ตาม จึงไม่น่าแปลกใจที่พระองค์ได้รับการยกย่องว่า เป็นเทพในด้านต่างๆ อาทิเช่น…

เทพแห่งศิลปวิทยา , เทพแห่งความฉลาดรอบรู้ , เทพประจำเรือน , เทพผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ , เทพผู้คุ้มครองป้องกัน ขัดขวางสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง หรือ กล่าวได้ว่าพระพิฆเนศเป็นเทพแห่งจักรวาล ดังนั้นเมื่อเวลาจะประกอบพิธีกรรมใดๆ ก็มักจะเป็นเทพที่ได้รับการบูชาก่อนการบูชาเทพองค์อื่นๆ เพื่อให้พิธีกรรมและงานดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปโดยปราศจากอุปสรรค

พระพิฆเนศในรุ่นแรกๆ ที่จัดสร้างโดยกรมศิลปากร ณ ชั่วโมงนี้ เป็นอะไรที่ค่อนข้างหายากแล้ว ผู้ที่มีไว้สักการะบูชาต่างแหน อีกทั้งถือเป็นแม่แบบของพระพิฆเนศที่จัดสร้างในหน่วยงานต่างๆในเวลาต่อมาจวบจนปัจจุบัน

ในองค์ข้างต้นเป็นพระพิฆเนศที่จัดสร้างโดยกรมศิลปากรเมื่อปี 2547 สภาพสวยสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง พุทธลักษณะโดยรวมเสมือนรุ่นแรกที่จัดสร้างในปี 2540 โดยจำลองแบบมาจากองค์ประธาน ณ วิทยาลัยนาฏศิลปโบสถ์พระแก้ววังหน้า ซึ่งออกแบบโดย ศ. ศิลป์ พีระศรี ปรมาจารย์ด้านศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร

พิธีเทวาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (โบสถ์พระแก้ววังหน้า) บริเวณวิทยาลัยนาฎศิลป์ กรุงเทพ วันที่ 3 ธันวาคม 2547 ตรงกับวันศุกร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 12

โดยนิมนต์พระภิกษุผู้ทรงวิทยาคมและมีวัตรปฎิบัติงดงามมาร่วมพิธี 16 รูป ประกอบด้วย…
หลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน นนทบุรี
หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ สุราษฎร์ธานี
หลวงพ่อแสวง วัดสว่างภพ ปทุมธานี
หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เพชรบุรี
หลวงพ่อเขียน วัดกระทิง จันทบุรี
หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อพยุง วัดโป่งแดง สุพรรณบุรี
หลวงพ่อคำบ่อ วัดใหม่บ้านตาล สกลนคร
พ่อเอียด วัดไผ่ล้อม พระนครศรีอยุธยา
พระอธิการมนัส วัดคลองเกวียนลอย จันทบุรี
พระครูประดิษฐ์ วัดทุ่งตาอิน จันทบุรี
พระสุมห์จรูญ วัดราหุล สิงห์บุรี
พระอธิการสุรเชษฐ วัดหนองตาลัย สุพรรณบุรี
พระสมุห์ชำนาญ วัดบางกุฎีทอง ปทุมธานี
พระครูวินัยธร วัดลิ้นทอง อ่างทอง
สนใจโทรสอบถามได้ครับ 089-8929200







โดยสมาชิก ชื่อ พรสุข รัตนะ รัตนตรัยภพ
จากกลุ่ม พระพุทธชินราชและ พระแท้ สากล ทั่วประเทศ