ข้อมูลจำเพาะ – เจาะจง – ตรงประเด็น
กรณีศึกษา : พระโพธิส

ข้อมูลจำเพาะ – เจาะจง – ตรงประเด็น
กรณีศึกษา : พระโพธิสัตว์ สัมฤทธิ์ “คุณหมอ ชวลิต จันคนา” ปราสาทปลายบัด 2 จ.บุรีรัมย์ ประเทศไทย พระโพธิสัตว์ หมายถึง ผู้ที่ข้องอยู่ในโพธิ์ หรือ ความรู้ ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

พระโพธิสัตว์ที่พบที่นี่มี 2 แบบหลักๆ

1.พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
จะมี ” พระอมิตาภะ ” ประทับนั่งอยู่บนมวยผม

2.พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย
จะมี ” สถูปเจดีย์ ” อยู่บนมวยผม

เป็นรูปเคารพของศาสนาพุทธ นิกายมหายาน ของอาณาจักรโบราณที่ชื่อ ศรีจนาศะ อายุประมาณ 1,200-1,300 ปี

นักวิชาการต่างชาติเรียก”ศิลปะประโคนชัย”
นักวิชาการไทยเรียก”ศิลปะทวารวดี-อีสาน”
ไม่ใช่ศิลปะเขมร พบเฉพาะบริเวณที่ราบสูงโคราช บนเขาปลายบัด รูปแบบศิลปะของพระปลายบัด 2 จะมีลักษณะพิเศษกว่าที่อื่น คือ ผนวกเอาศิลปะอินเดีย ศิลปะทวารวดี และศิลปะขอมแบบกำพงพระ เข้าด้วยกัน

ผลิตด้วยวิธีสูญผึ้ง ( Lost Wax )
หล่อสัมฤทธิ์เสร็จ ต้องทุบแบบทิ้ง
แต่ละองค์จึงไม่มีทางผลิตซ้ำได้
ทุกองค์จึงเป็นองค์เดียวในโลกเสมอ

สัมฤทธิ์ คือ ทองแดง ผสม ดีบุก
ส่วนผสมโลหะของแต่ละองค์จะไม่เหมือนกัน
สีของแต่ละองค์ ก็จะไม่เหมือนกันด้วย

กายวิภาค ( Anatomy ) เหมือนคนจริงๆ
1.พระพักตร์แบบศิลปะทวารวดี 2.ผมทรงสับปะรด 3.มีหนวด คิ้วโก่ง 4.ไม่สวมเสื้อ สี่กร 5.มีเชือกรัดผ้านุ่ง 6.นุ่งผ้าสั้นแนบเนื้อ 7.ยืนเอียงตนเล็กน้อยหรือยืนตรง






โดยสมาชิก ชื่อ สิทธิโชค สุทธิภาค
จากกลุ่ม เครื่องราง พระเครื่อง เมืองไทย