ขอ​อนุญาติ​เปิด​คับ.. ปะ​กัน​แท้
รายการ​ที่​-1=5/10/65

ขอ​อนุญาติ​เปิด​คับ.. ปะ​กัน​แท้
รายการ​ที่​-1=5/10/65

(พร้อม​บัตร​รับรอง​พระ​แท้​จาก​ นิตยสาร​ท่า​พระจันท​ร์​สามารถ​ ตรวจสอบ​ได้)​

เหรียญ​พระสััมพุทธ​โสมนัส​วัฒนา​วดีนาถบพิตร
(กันภัย)​ วัดโสมนัส​ราชวรมหาวิหาร​ กรุงเทพ
ปี​ พ.ศ​ ๒๔๗๐ ข้างเลี่อย​ ปลุกเสกโด​ย​ พระเกจิคณาจารย์​ชื่อดัง ในยุคสมัย​นั้น​มากมาย อาทิ​เช่น

1/หลวง​ปู่​ จันทร์วัดโสมนัส
2/สมเด็จ​พระมหาวีรวงศ์​ (ยัง​ เขมาภิรโต) วัดโสมนัส​ 3/สมเด็จ​พระ​พุทธโฆษาจารย์​ เจริญ​ วัดเทพศิรินทร์​ 4/สมเด็จ​พระ​พุฒาจารย์​ นวม​ วัดอนงค์คาราม
5/ หลวงพ่อ​ พริ้ง​ วัดบาง​ปะ​กอก
6/หลวงพ่อ​ หรุ่น​เก้ายอด​ วัดอัมพวัน
7/หลวงพ่อ​ พุ่ม​ วัดบางโคล่​นอก
8/หลวงพ่อ​ พร​ วัดดอนเมือง
9/หลวงปู่​ นาค​ วัดอรุณราชวราราม​ (วัดแจ้ง)​ เป็น​ต้น

*วัดโสมนัสราชวรวิหาร หรือ วัดโสมนัสราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถและพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม มีคลองผดุงกรุงเกษมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ผ่านทางด้านหน้าของพระอุโบสถ ภายในวัดมีเจดีย์ ๒ องค์ เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
(เจดีย์ทอง)​ รูปทรงแบบลังกาสีทองเหลืองอร่าม ยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่า สามารถมองเห็นได้ไกลซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติแวะเวียนเข้ามาชมความงามและกราบนมัสการกันอยู่มิได้ขาด และยังมีเจดีย์องค์เล็ก (เจดีย์มอญ) อีกองค์ที่มีลักษณะสวยงามเช่นเดียวกับปรินิพพานสถูปในอินเดีย และหาชมได้ยากเพราะเจดีย์ลักษณะนี้มีเพียง ๒ องค์ในประเทศไทย คือ ที่วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร และที่วัดกันมาตุยาราม อีกองค์หนึ่ง

ประวัติวัดโสมนัส​ราชวรมหาวิหาร​

เริ่มก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชอุทิศสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถวิสุงคามสีมาอุโบสถ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๖ (จ.ศ. ๑๒๑๕) ครั้นสิ่งก่อสร้างสำเร็จลงบ้าง พอเป็นที่อาศัยจำพรรษาของภิกษุสามเณรได้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนาพระอริยมุนี (ทับ พุทฺธสิริ) จากวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร พร้อมด้วยพระสงฆ์ราว ๔๐​ รูปโดยขบวนแห่ทางเรือ เสด็จมาประทับที่กุฎี ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนตำแหน่งพระอริยมุนีเป็นพระพรหมมุนี ในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนตำแหน่งพระพรหมมุนีเป็นพระพิมลธรรม ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๒๒ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระพิมลธรรมเป็นสมเด็จพระวันรัต ต่อมาสมเด็จพระวันรัตได้ก่อสร้างสิ่งที่ยังไม่แล้วเสร็จให้เสร็จสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ท่านได้สร้างและเชิญพระสัมพุทธสิริมาจากวัดราชาธิวาสคราวยกวัด เพื่อมาเป็นพระประธานภายในพระอุโบสถ และพระสัมพุทธโสมนัสวัฒนาวดีนาถบพิตร (พระประธานในวิหาร) และพระอัครสาวก เป็นของหลวงเชิญมาจากพระบรมมหาราชวัง

พระพุทธรูปสำคัญ ภายในวัดโสมนัส​ราชวรมหาวิหาร​

-พระสัมพุทธโสมนัสวัฒนาวดีนาถบพิตร พระประธานในพระวิหาร

-พระสัมพุทธสิริ พระประธานในพระอุโบสถ

-พระนิรันตราย

-พระโพธิ์ศรีนาค พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัด

-พระพุทธรูปยืนโบราณ ในพระวิหารคต

-พระพุทธสิหิงค์จำลอง พระประธานในตึกสมเด็จ
๘๐​ ปี

-พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

-พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสีพระองค์แรกในรัชกาลที่​ ๔

*ลำดับเจ้าอาวาส​ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ

1/สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) ปี​ พ.ศ. ๒๓๙๙​-
ปี​ พ.ศ. ๒๔๓๔

2 /พระราชพงษ์ปฏิพัทธ (หม่อมราชวงศ์ล้น ญาณ
วโร) ปี​ พ.ศ. ๒๔๓๔ – ปี​ พ.ศ. ๒๔๔๕

3 /สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรโต) ปี​ พ.ศ. ๒๔๔๕ – ปี พ.ศ. ๒๔๗๔​

4 /พระพุทธวิริยากร (จันทร์ จนฺทกนฺโต) ปี​ พ.ศ. ๒๔๗๔ ​- ปี​ พ.ศ. ๒๔๘๑

5 /พระสิริปัญญามุนี (เยี่ยม ตทุตฺตรสิริ) ปี​ พ.ศ. ๒๔๘๑​ – ปี​ พ.ศ. ๒๔๘๙​

6/ สมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม) ปี​ พ.ศ. ๒๔๘๙ –
ปี​ พ.ศ. ๒๕​๓๙

7 /สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) ปี​ พ.ศ
๒๕​๓​๖ จนถึงปัจจุบัน​

*ชีวะประวัติ​ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรต
มหาเถร) เจ้าอาวาส​ วัดโสมนัส​ ลำดับที่​ ๓

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ยัง เขมาภิรโต ) วัดโสมนัสวิหาร เป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์​ องค์แรกของ ประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานตำแหน่งนี้ ท่านเป็นพระมหาเถระที่มี ความรู้แตกฉาน ในพระไตรปิฎก เป็นนักปราชญ์แห่งยุค และเป็นพระธรรมถึกเอก​ ที่มี อาจารสมบัติ ที่น่าประทับใจ ที่น่าเลื่อมใส ได้ดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ และนับเป็นสมเด็จ ที่ทรงเกียรติคุณ ควรแก่การเคารพบูชา มากองค์หนึ่ง​ แห่งยุคกรุงรัตนโกสินทร์

ชาติภูมิ

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดโสมนัสวิหาร มี​ นามเดิม
ว่า ยัง ฉายา เขมาภิรโต บิดาเป็นคนจีนนอก ชื่อ ยี่ มารดาชื่อ ขำ สกุลข้างมารดาของท่านเป็นข้าหลวงเดิม ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเกิดในสมัยราชการที่ ๔ ในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีกุล พุทธศักราช ๒๓๙๔ เมื่อท่านคลอดมานั้น ได้นอนแน่นิ่งไป บิดามารดาของท่าน สำคัญว่าสิ้นชีพแล้ว จึงปรารภกันว่า จะเอาลงหม้อขนัน (หม้อสำหรับใส่ศพเด็ก) ป้าของท่านเข้าไปดูเห็นว่ายังมีชีวิตอยู่ จึงร้องขึ้นว่า
“ยังมีชีวิตอยู่” อาศัยเหตุนี้ท่านจึงได้นามว่า ” ยัง​ ”

การศึกษาเมื่อเยาว์วัย

เมื่อท่านเจริญวัยขึ้น มารดาของท่าน ได้เป็นครูฝึกสอนอักษรสมัยให้เอง จนอายุได้ ๑๑ ขวบ มารดาของท่าน ก็ได้ถึงแก่กรรมจากไป เล่ากันมาว่า เมื่อมารดาของท่านสิ้นชีพแล้ว บิดาของท่านซึ่งเป็นชาวจีนนอก ได้ส่งตัวท่านไปเมืองจีน เพื่อศึกษาในประเทศจีน แต่ท่านไม่อยากไป ดังนั้น เมื่อเรือสำเภาออกจากท่า ท่านก็กระโดดจากเรือลงแม่น้ำ ขึ้นฝั่งไปหาน้าชายชื่อ สิงห์โต ผู้เป็นญาติทางมารดา น้าชายท่านก็รับเลี้ยงไว้เป็นเวลา ๑ ปี ต่อจากนั้นบิดาท่านก็มารับ ให้ไปเรียนหนังสือจีนที่ศาลา ข้างวัดส้มเกลี้ยง เรียนอยู่ประมาณ ๓ ปี พออายุได้ ๑๔ ปี บิดาก็พาไปฝาก เป็นเสมียน ทำบัญชีการค้า ของพระเสนางควิจารณ์ (ยิ้ม) อยู่ได้ปีเศษ พออายุได้ ๑๕ ปี น้าชายที่เคยอุปการะท่าน ได้มารับท่านไปเรียนศาสนธรรม ที่วัดเขมาภิรตาราม โดยฝากไว ้ที่สำนักของพระครูเขมาภิมุขธรรม (อิ่ม)

การบรรพชาอุปสมบท

เมื่อท่านได้เรียนถึงขั้นสูงขึ้น น้าชายจึงพาไปฝากให้เล่าเรียน ที่วัดโสมนัสวิหาร โดยฝากให้อยู่ในสำนักของพระอริยกวี (ทิง) เมื่อเป็นพระครูปลัด ของพระพรหมมุนี (ทับ) ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ในสำนักของพระอริยกวี จนอายุได้ ๑๗ ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโสมนัสวิหาร เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐ ท่านเป็นสามเณรอยู่ ๕ ปี ก็ได้รับอุปสมบท ที่วัดโสมนัสวิหาร โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ทับ) ในสมัยที่ดำรงตำแหน่ง เป็นพระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์

การศึกษาเมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้ว

เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เป็นผู้มีความสามารถมาก ในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม และเป็นผู้มีความรู้แตกฉาน ในด้านการภาษาบาลีมากอีกองค์หนึ่ง ท่านมีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกันกับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ท่านเข้าสอบพระบาลีปริยัติธรรมเพียง ๓ ครั้ง ก็ได้ถึงประโยค ๘ ดังนี้
๑.ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้เข้าสอบพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ ได้ เป็นเปรียญ ๓ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรอยู่
๒.เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้ว ท่านได้เข้าสอบ ที่พระที่นั่งพุทไธศวรรย์ เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙ แปลได้อีก ๒ ประโยค รวมเป็น ๕ ประโยค
๓. ต่อมาถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๒๕ ได้เข้าสอบพระปริยัติธรรม ที่พระที่นั่งพุทไธศวรรย์ แปลได้อีก ๓ ประโยค รวมเป็น ๘ ประโยค

สมณศักดิ์

เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เป็นพระมหาเถระ ที่มีความสามารถ ดีมากองค์หนึ่ง แห่งยุครัตนโกสินทร์ จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ และการประกาศกิตติคุณ ดังนี้
๑. เมี่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ ” พระอมรโมลี​ ”
๒. เมื่อเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช โดยมีพระราชทินนามเดิม คือ ” พระอมรโมลี​ ”
๓. ต่อมาถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๗ ได้พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่
” พระเทพโมลี​ ”
๔. เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่
” พระธรรมโกษาจารย์ ”
๕. เมื่อถึงปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่​ ” พระพิมลธรรม”
๖. เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นสุพรรณบัตรที่
” สมเด็จพระมหาวีรวงศ์​ ”
เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ ของวัดโสมนัสวิหาร
เมื่อท่านเจ้าคุณพระราชพงษ์ปฏิพัทธ์ (ม.ร.ว.ล้น กล้วยไม้) เจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ ได้มรณภาพไป เมื่อวันที่ ๒๔ กุมพาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ซึ่งในสมัยนั้นยังดำรงตำแหน่ง​ที่​ ” พระพิมลธรรม ” ก็ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ครองวัดโสมนัสวิหาร เมื่อวันที่ ๒๖ กุมพาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ นับเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๓
ของวัดโสมนัสวิหารสืบต่อมา

*ชีวะ​ประวัติ​พระพุทธ​วิริยากร หลวง​ปู่​ จันทร์​
วัดโสมนัส​ เจ้าอาวาส​ ลำดับที่​ ๔

พระพุทธวิริยากร (จันทร์ จนฺทกนฺโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ ๔ ของวัดโสมนัสราชวรวิหาร นับเป็นพระเถราจารย์ที่ทรงคุณยิ่งรูปหนึ่ง มีความรู้แตกฉานในพระปริยัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง หากท่านไม่ยอมเข้าสอบด้วยไม่ปรารถนาที่จะเจริญในด้านยศฐาบรรดาศักดิ์ แต่กระนั้นก็ยังได้รับการแต่งตั้งและพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ ‘พระพุทธวิริยากร’
พระพุทธวิริยากร (จันทร์ จนฺทกนฺโต) หรือที่เรียกกันอย่างสามัญว่า ‘หลวงปู่จันทร์’ ยังมีความเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน และชมชอบปฏิบัติอสุภกรรมฐาน ชอบออกธุดงค์ โดยได้รับการฝึกฝนถ่ายทอดวิชาจากสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) อดีตเจ้าอาวาส​ รูปแรกของวัดโสมนัสราชวรวิหาร จนแตกฉาน​ ที่สำคัญยิ่งคือ หลวงปู่จันทร์ได้ชื่อเสียงกิตติคุณเป็นที่เลื่องลือกันว่า มีญาณสมาบัติที่ล่วงรู้เหตุการณ์ทั้งในอดีตและอนาคต ดังเรื่องเล่าขานที่อาจารย์สามารถ คงสัตย์ และอาจารย์สมชาย พุ่มสะอาด เคยเขียนถึงไว้ในนิตยสาร ‘ลานโพธิ์’ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ กล่าวถึงกิตติคุณหลวงปู่​ จันทร์​ ไว้ว่า

“ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในอดีตกว่า ๓๐ ปีล่วงมาแล้ว
มีชาวจีนแต้จิ๋วคนหนึ่งประกอบอาชีพค้าขายอยู่ในย่านวัดโสมนัสราชวรวิหาร จีนคนนี้พักอยู่ที่เยาวราชนำของมาขายเร่ที่ย่านวัดโสมฯ เป็นประจำ​ ถึงคราวเคราะห์หามยามร้าย ถูกโกงจนหมดตัวคิดจะฆ่าตัวตายเสียให้รู้แล้วรู้รอดไป ไม่อยากจะมีชีวิตให้ชีช้ำกะหล่ำปลีอีกแล้ว​ ขณะที่มาค้าเร่อยู่ที่วัดโสมนัสราชวรวิหารนั้น ได้เคยทราบกิตติศัพท์ของหลวงพ่อพระพุทธวิริยากร (จันทร์) เป็นอย่างดีว่า ท่านเคยช่วยคนให้พ้นทุกข์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ไหนๆ ก็จะตายแล้ว ขอฟังเทศน์จากหลวงพ่อจันทร์เป็นขวัญตาสักครั้ง จะแน่ตามข่าวเล่าลือหรือไม่​ เมื่อตกลงปลงใจดังนั้นแล้ว ก็รีบมุ่งหน้าตรงไปยังกุฏิหลวงพ่อจันทร์ ซึ่งไม่โอ่โถงนัก ท่านชอบอยู่ของท่านอย่างนั้น ญาติโยมนิมนต์ให้ไปอยู่กุฏิใหม่ๆ ให้สมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านก็ไม่ยอม​ พอชายจีนเข้าไปถึงก็กราบหลวงพ่อแล้วน้ำตาก็ไหลซึมออกมาจากเบ้าตา หลวงพ่อจันทร์​ เห็นเข้าก็สงสาร จึงพูดเอาใจต่างๆ นานา​ พอทราบเรื่องเช่นั้น หลวงพ่อจันทร์​ ก็เริ่มอธิบายโดยยกเหตุผล และนิทานในธรรมบท
เนื่องจากหลวงพ่อจันทร์​ ท่านเป็นนักเทศน์ตัวยง เป็นที่ขึ้นชื่อลือชามาก แต่ท่านไม่เคยโอ้อวดกับใคร จนในที่สุดจีนนั้นก็ใจอ่อน หลวงพ่อจันทร์​ เลย​รดน้ำมนต์ให้ เสร็จแล้วก็พูดว่า​ ” อย่าไปคิดอะไรให้มากเลยโยม เขาทำกับเราอย่างไร เขาก็จะได้อย่างนั้นกรรมเวรมันมีจริง ” ท่านพูดทิ้งท้ายไว้เท่านั้นแล้วก็นิ่งไปชั่วครู่ เหมือนกับจะนั่งดูเหตุการณ์ข้างหน้าของชายจีนคนนี้ สักพักหนึ่งหลวงพ่อจันทร์ก็พูดขึ้นว่า
โยมอย่าเสียใจไปเลย ตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากินด้วยความสุจริตเถิด มีหวังรวยแน่ๆ​ ชายจีนก็กราบแทบเท้าหลวงพ่อ ตั้งแต่นั้นมาชายจีนก็หายหน้าไปจากย่านวัดโสมราว ๕-๖ ปี ก็กลับมาหาหลวงพ่อ ในใจก็คิดว่าหลวงพ่อจะยังอยู่ไหมหนอ​ ในที่สุดก็พบหลวงพ่อจริงๆ หลวงพ่อท่านทราบแล้ว ท่านให้เด็กเตรียมน้ำชาไว้ให้แล้ว โดยบอกว่า
“เดี๋ยวจะมีคนเขามาหา เขานัดไว้เมื่อ ๕-๖ ปีที่แล้ว”
เด็กวัดตกใจ ทำไมนัดกันตั้ง ๕-๖ ปี ยังงั้น พอประเดี๋ยวชายจีนคนนั้นก็มาถึง แต่งตัวภูมิฐานโก้หรูมาก ค่อยๆ คลานเข้าไปกราบแทบเท้าหลวงพ่อด้วยน้ำตาที่ปลาบปลื้มยินดี พูดด้วยเสียงสั่นเครือว่า
“เพราะหลวงพ่อช่วยชีวิตไว้แท้ๆ ไม่เช่นนั้นอั๊วคงตายไปนานแล้ว”
ชายคนนั้นพูดกับหลวงพ่อจันทร์ว่า ‘อั๊ว’ มาตั้งแต่แรกแล้ว หลวงพ่อจันทร์​ ท่านเป็นพระเถระชั้นราชาคณะก็ไม่ถือตัว กลับยิ้มแล้วพูดว่า “ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน โบราณเขาว่าถูกต้องแล้ว”
ชายจีนได้เล่าให้หลวงพ่อฟังว่า หลังจากที่ไปจากหลวงพ่อแล้ว ก็อดมื้อกินมื้อ อุส่าห์สร้างฐานะตนเองจนร่ำรวยเป็นเถ้าแก่ห้างในย่านเยาวราชที่เดิม
หลวงพ่อจันทร์ก็แสดงมุทิตาพลอยยินดีด้วย ชายจีนคนนั้นนับถือหลวงพ่อมาก จนในที่สุดไปมาหาสู่หลวงพ่อเสมอ ชายจีนคนนี้ได้เสียชีวิตไปนานแล้ว ก่อนหลวงพ่อเสียอีก แสดงว่าหลวงพ่อจันทร์​ วาจาสิทธิ์ พูดคำไหนเป็นคำนั้น และคนที่โกงเถ้าแก่ก็ถึงการพินาศ ถูกเขาโกงต่อจนหมดตัว ในที่สุดต้องฆ่าตัวตายอย่างน่าอนาถ สมกับคำของหลวงพ่อจันทร์ที่พูดว่า ” กรรมมันมีจริง ทุกประการ​ ”

กล่าวสำหรับปูมหลังหลวงปู่จันทร์ กล่าวว่า มีนามเดิมว่า จันทร์ โยมบิดาชื่อ บุญ โยมมารดาชื่อ เอม ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๐ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (ตรงกับวันอาสาฬบูชา) ปีเถาะ ณ ตำบลบางเพลี้ยง อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร​ เมื่อท่านยังเด็กได้ไปอยู่ในความอุปการะของคุณงิ้ว และคุณยายน้อยในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาเมื่อท่านอายุได้ ๘ ขวบ ก็ได้มาอยู่วัดโสมนัสราชวรวิหารกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์
(ยัง เขมาภิรตมหาเถร) เมื่อครั้งยังเป็นพระมหาเปรียญอยู่ ได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและหนังสือขอมอยู่ที่สำนักวัดโสมนัสราชวรวิหาร​ เมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนมาจนอายุพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่จะบรรพชาเมื่ออายุเท่าไรไม่ปรากฏ ต่อมาเมื่อท่านอายุครบอุปสมบท ได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดโสมนัสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ มีสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรตมหาเถร) เมื่อครั้งยังเป็นที่ ‘พระอมรโมลี’ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น “พระครูสมุห์” ฐานานุกรมของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรตมหาเถร) เมื่อครั้งเป็น ” พระเทพโมลี​ ” และเมื่อพระเทพโมลี (ยัง เขมาภิรตมหาเถร) ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น ” พระพิมลธรรม​ ” หลวงปู่จันทร์จึงได้เลื่อนขึ้นเป็น ” พระครูสรวิชัย​ ” ที่พระครูคู่สวด ต่อมาได้เลื่อนเป็น ” พระครูวินัยธรรม​ ” และเป็นพระครูปลัดมีนามตามสัญญาบัตรว่า ” พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ​ ”
และเมื่อพระพิมลธรรม (ยัง เขมาภิรตมหาเถร) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นสุพรรณบัตรที่ “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ” หลวงปู่จันทร์ก็ได้เลื่อนเป็นพระครูปลัด ฐานานุกรมของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรตมหาเถร) ที่ ” พระครูปลัดสัมพิพัฒน
วิริยาจารย์ ”

และเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่​”พระพุทธวิริญากร​ ” ในขณะที่ท่านปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสในขณะที่​ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
(ยัง เขมาภิรตมหาเถร) อาพาธไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้​ เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรตมหาเถร) มรณภาพในวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๔ หลวงปู่จันทร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสืบต่อ ซึ่งก่อนหน้านั้นหลวงปู่จันทร์ได้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสวัดมาแล้วถึง ๑๕ ปี​ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้อาพาธเป็นโรคลำไส้พิการ และเจ็บกระเสาะกระแสะ​ มาตลอดจนถึงมรณภาพเมื่อเวลา ๑๒.๔๕ น. วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ รวมอายุได้ ๗๒ ปี พรรษาที่ ๕๒

*สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่จันทร์ คือ

๑/เหรียญ​ปั๊มพระสัมพุทธโสมนัส​ (กันภัย)​ ลักษณะ​เป็น​รูป​กงจักรด้านบนเป็น​โบว์​ ริบบิ้นระบุปี​ พ.ศ​ ๒๔๗๐​ ตรงกลางมีองค์​พระสัมพุทธโสมนัส​ อยู่​บนยันต์​ พระเจ้า​ ๕​ พระ​องค์​ นะ-โม-พุท​-ธา​-ยะ​ แทรกมุมด้วยอักขระ​ ๔​ ตัวคือ​ พุท-ธะ-สัง-มิ​ แปลว่า ยอดแห่งศิล​ ด้านหลังเรียบ​ ความหมายดี​ ออกแบบ​ได้สวยงาม​คลาสสิค​ ลงตัวคับ​ ร่วมปลุกเสกโดยเกจิอาจารย์​ดัง
ในยุคสมัยนั้น​ จัดว่าพุท​ธ​คุณ​ดี​ น่าใช้อีกรุ่นหนึ่งครับ​

๒/เหรียญปั๊มพระพุทธชินราช ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ เมื่อครั้งที่หลวงปู่จันทร์มีอายุครบ ๗๐ ปี ลูกศิษย์ได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมา โดยหลวงปู่​ จันทร์ได้อนุญาตให้สร้างเป็นเหรียญ​พระพุทธชินราชขึ้นมา โดยหลวงปู่จันทร์ได้นำเอาแผ่นทองแดงมาลงอักขระและปลุกเสกในพระอุโบสถวัดโสมนัสราชวรวิหารก่อนจะนำแผ่นยันต์ให้ลูกศิษย์ไปหลอมรวมกันนำไปปั๊มเป็นเหรียญ​พระพุทธชินราช ซึ่งจำนวนสร้างนั้นไม่มากนัก สันนิษฐานว่าอยู่เพียงหลักร้อยเท่านั้น จึงเป็นเหรียญที่จัดว่าหายากเหรียญหนึ่ง​ เมื่อปั๊มเหรียญเสร็จแล้วจึงนำเหรียญใส่บาตรน้ำมนต์นำไปปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้งในพระอุโบสถวัดโสมนัสราชวรวิหาร

เมื่อสมัยที่หลวงปู่จันทร์ยังดำรงชีวิตอยู่ ละแวกวัดโสมนัสราชวรวิหารมีนักเลงก๊กวัดโสมนัสฯ ที่มักมีเรื่องราวตีฟันรันแทงกับนักเลงก๊กวัดมกุฎกษัตริยารามอยู่กันเสมอๆ เพราะทั้งสองก๊กต่างอยู่ในถิ่นเดียวกัน เพียงข้ามไปคนละฟากถนนเท่านั้น
ซึ่งนักเลงก๊กวัดโสมนัสฯ นั้น เป็นก๊กที่ไม่ค่อยมีใครมาตอแยด้วยมากนัก เพราะแต่ละคนนั้นได้ชื่อว่าหนังดีอยู่ยงคงกระพัน เป็นที่คร้ามเกรงของนักเลงก๊กอื่นๆ ต่างคนล้วนมีวัตถุมงคลของหลวงปู่จันทร์คุ้มครองอยู่นั่นเอง

ขอบคุณ​ข้อมูล​ส่วนหนึ่ง​จากเพท​/มุม​พระ​เครื่ิอง
เพท/วัดโสมนัส​ราชวรมหาวิหาร​ และเพท/วิกิพีเดีย







โดยสมาชิก ชื่อ สายลม ชมดาว
จากกลุ่ม เครื่องราง พระเครื่อง เมืองไทย