By pro 5 : หลวงพ่อเงิน กรุวัดใหม่คำวัน ปี2482 … ถอดพิมพ

By pro 5 : หลวงพ่อเงิน กรุวัดใหม่คำวัน ปี2482 … ถอดพิมพ์มาจาก ขี้ตาสามชาย เป็นพระที่พบในช่อฟ้าหลังคาโบสถ์ วัดใหม่คำวัน จ.พิจิตร ซึ่งหลวงพ่อพิธ หลานหลวงพ่อเงิน ได้มาอุปถัมป์วัดและสร้างโบสถ์ไว้เมื่อ พ.ศ. 2482

เริ่ม 3.25 บาท
ปิด 3 ทุ่ม 25 นาทีวันนี้

🍀 ก่อนเวลาปิดประมูล 3 นาทีสุดท้าย หากมีผู้เข้าร่วมประมูลอีก จะเลื่อนเวลาการปิดประมูลออกไปอีก 3 นาที จนกว่า 3 นาทีสุดท้ายจะไม่มีผู้ประมูล จึงจะปิดการประมูลโดยสมบูรณ์

🍀 ในกรณีที่ผู้ให้ประมูลพิมพ์คำว่า “ปิด”ลงไปแล้วในกระทู้ เนื่องจากครบเวลา 3 นาทียึดตามเครื่องของผู้ให้ประมูลเป็นหลักแล้วมีผู้มาเคาะประมูลต่อในช่วงเสี้ยววินาทีสุดท้าย ถ้าราคาที่เคาะอยู่เหนือคำว่าปิดและเป็นราคาสูงสุด ให้ถือว่าเป็นผู้ชนะประมูลไปโดยปริยาย จะไม่มีการต่อเวลาเพิ่มอีก (กรณีนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก จนต้องคิดกติกาข้อนี้เพิ่มเติมขึ้นมา ลว. 8 ตุลาคม 2564)

🍀 อนึ่งคำตัดสินของผู้ให้ประมูลถือเป็นสิ้นสุดในทุกกรณี

.
.
.
.
.

#นิทานประกอบ : หลวงพ่อเงิน กรุวัดใหม่คำวัน
พระเครื่องที่สร้างทันยุคการปลุกเสกโดยตรงจากหลวงพ่อเงิน พุทธโชตินั้น ซึ่งการแบ่งยุคจะยึดหลักแนวทางแห่งสายกลางแนวทางการเล่นหาพระเครื่องหลวงพ่อ เงินจากนักนิยมพระสายตรงในพื้นที่จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก ที่เน้นการพิจารณาจากกระแสโลหะที่ทันยุคและสภาพธรรมชาติเป็นสำคัญ โดยไม่ได้ยึดทางสายแข็งที่เน้น 4 พิมพ์นิยมในวงการพระเครื่องปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ยุคสำคัญ ต่อไปนี้

ยุคที่ 1 เป็นพระเนื้อดินที่สร้างโดยการปั้นดินด้วยมือของหลวงพ่อปั้นเป็นพระเครื่อง ขนาดเล็กหรือลูกอมแจกให้กับเด็กและศิษย์จำนวนเล็กน้อย แขวนคอกันสุนัขหรือสัตว์อันตราย จำนวนไม่แพร่หลาย และไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่อาจจำแนกแยกแยะพิมพ์ทรงได้เพราะปั้นพระด้วยมือองค์ต่อองค์ เช่นเดียวกับหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ที่สร้างพระเครื่องด้วยมือปั้นองค์ต่อองค์ ต้องสืบความได้จากผู้ได้รับจากมือหลวงพ่อจริง ๆ จึงจะเป็นการยืนยันได้ นอกจากนี้ท่านยังได้เมตตาสร้างตะกรุด ผ้ายันต์แจกให้กับลูกศิษย์ใกล้ชิด ซึ่งพบอภินิหารมากมายจนเป็นที่เลื่องลือ

ยุคที่ 2 รูปหล่อโบราณพิมพ์ขี้ตา สร้างโดยช่างชาวบ้านในวัดบางคลาน

ยุคที่ 3 รูปหล่อพิมพ์นิยม สร้างโดยช่างบ้านช่างหล่อ กรุงเทพมหานครโดยมาทำพิธีการหล่อที่วัดชนะสงคราม เหรียญจอบเล็ก สร้างโดยยายวัน ช่างสตรีบ้านช่างหล่อ เหรียญจอบใหญ่ เป็นพระโรงงาน ที่โรงงานหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงหลวงพ่อเงิน สร้างมาให้วัดเพื่อให้วัดออกเช่าบูชาชดเชยการขาดทุนจากการ จ้างหล่อรูปเหมือน ( บางคนเรียกว่ารุ่นล้างหนี้ )

ยุคที่ 4 พระเครื่องหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยลูกศิษย์ใกล้ชิดในวัดบางคลานและนำให้ หลวงพ่อเงินปลุกเสก ได้แก่ รูปหล่อพิมพ์โบราณหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยโดยอาจารย์แจ๊ะ วัดบางคลาน ศิษย์ใกล้ชิด ซึ่งได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางคลานต่อจากหลวงพ่อเงิน ได้แก่รูปหล่อพิมพ์โบราณ วัดท่ามะไฟ ซึ่งมีทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และรูปหล่อพิมพ์หน้านกฮูกใหญ่ ซึ่งพระรูปหล่อพิมพ์นี้ในวงการเล่นหาว่าสร้างประมาณปี พ.ศ. 2472 ภายหลังการมรณะของหลวงพ่อเงิน แต่ทว่าเซียนสายตรงในวงการพระเครื่องสายหลวงพ่อเงินเขตจังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก ต่างพากันยอมรับว่า พระพิมพ์นี้ทันยุคหลวงพ่อเงินแน่นอน และเล่นหากันอย่างเงียบ ๆ กันมานานแล้ว ถ้าสังเกตดูพิมพ์ทรงของพระทั้งสองวัดนี้พบว่า เชิงช่างของรูปหล่อโบราณ วัดท่ามะไฟคล้ายกับพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์หน้านกฮูกใหญ่มาก นอกจากนี้มีการตะไบด้านข้างของพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินหน้านกฮุกใหญ่คล้ายกับ รอยแทงตะไบของห้วยเขนมาก รวมทั้งการฝนก้นพระจนราบเรียบ เช่นเดียวกับวัดห้วยเขนเช่นกัน ทั้งเนื้อหาก็จัดจ้านสูสีกันดูแล้วถึงยุคหลวงพ่อเงินอย่างเถียงไม่ออก เชื่อว่าสร้างระยะเวลาใกล้เคียงกับวัดห้วยเขน ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ของอาจารย์แจ๊ะ ที่เชื่อว่าสร้างทันยุคหลวงพ่อ ได้แก่พิมพ์ใหญ่หน้ากบ อีกพิมพ์หนึ่งที่หายากมากคือพิมพ์เล็กหน้านกฮูกคอเอียง นอกจากนี้ยังค้นคว้าพบว่ามีพิมพ์จอบใหญ่ ของท่านที่มีเนื้อหาจัดจ้านมากน่าจะทันยุคหลวงพ่อเงิน ส่วนพิมพ์อื่น ๆของหลวงพ่อซึ่งมีมากมายหลายพิมพ์นอกจากนี้น่าะสร้างในยุคหลังหลวงพ่อเงิน เนื่องจากมีความแตกต่างทั้งทางด้านพิมพ์ทรงและเนื้อหา

ยุคที่ 5 พระเครื่องหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยลูกศิษย์ใกล้ชิดต่างวัด โดยสร้างในวาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออาศัยบารมีอันไพศาลของหลวงพ่อเงินนำไปให้เช่าบูชาเพื่อเป็นการบำรุง พระศาสนาในวัดต่าง ๆ เหล่านั้น ซึ่งมีการปลุกเสกทันยุคของหลวงพ่อทุกวัด จากข้อมูลสายลึกในการสร้วงพระเครื่องหลวงพ่อเงิน พบว่ามีการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อเงิน ในวัดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ยุคที่ 5 พระเครื่องหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยลูกศิษย์ใกล้ชิดต่างวัด โดยสร้างในวาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออาศัยบารมีอันไพศาลของหลวงพ่อเงินนำไปให้เช่าบูชาเพื่อเป็นการบำรุง พระศาสนาในวัดต่าง ๆ เหล่านั้น ซึ่งมีการปลุกเสกทันยุคของหลวงพ่อทุกวัด จากข้อมูลสายลึกในการสร้วงพระเครื่องหลวงพ่อเงิน พบว่ามีการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อเงิน ในวัดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

5.1 วัดท้ายน้ำ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงพ่อเงินไปๆมาๆและมีพระรูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงพ่อเงิน สร้างขณะท่านมีชีวิตและที่วัดนี้ โดย พระครู วัตฎสัมบัญ ( ฟุ้ง ) ลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงพ่อเงินก็ได้จัดสร้าง พระเครื่องรูปหล่อ ทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ พิมพ์นิยม ขี้ตา จอบเล็กและจอบใหญ่เช่นเดียวกับวัดวังตะโก สำหรับพิมพ์ขี้ตา หลวงพ่อฟุ้งได้ถอดพิมพ์จากพิมพ์ขี้ตาของวัดบางคลานซึ่งพิมพ์นี้มีตำหนิที่ บริเวณสังฆาฎิ
เนื้อหาพระจัดจ้านสุด ๆ ออกสัมฤทธิ์แดง บางองค์ออกสัมฤทธิ์เหลืองแห้งจัดมากพระพิมพ์นี้เนื้อหาสวยงามมาก พระที่พบจะมีค่อนข้างน้อยมาก พระพิมพ์นี้ได้รับการยอมรับในบรรดาเซียนสายตรงพระเครื่องหลวงพ่อเงิน สังเกตได้จากมีรูปภาพปรากฎโชว์ไว้อย่างสง่างามภายในศาลาที่ประดิษฐานรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน ที่วัดบางคลานในปัจจุบัน ราคาเล่นหาในท้องถิ่นอยู่ที่หลักแสนต้น ๆ หลวงพ่อฟุ้งได้จำลองพระพิมพ์ขี้ตาพิมพ์นี้ออกมา แล้วให้หลวงพ่อเงินปลุกเสก ซึ่งต่อมาหลวงพ่อฟุ้งได้เป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและเจ้าคณะอำเภอโพทะเล สำหรับพระพิมพ์ขี้ตาของหลวงพ่อฟุ้ง วัดท้ายน้ำ ปัจจุบันมีราคาเ่ล่นหาค่อนข้างสูงอยู่ในหลักหมื่นต้น ๆ ในหมู่ผู้รู้ในท้องที่และเซียนพื้นที่นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก ที่รู้ลึกในพระเครื่องหลวงพ่อเงิน แต่ในแหล่งพระส่วนกลางยังขาดความรู้ ทำให้เซียนท้องถิ่น แอบมากวาดย่องกินตับ ทำกำไรกันมาก เซียนกรุงเทพบางคนได้รับคำสั่งซื้อเหมาหาส่งไปที่พิจิตรกันอย่างไม่อั้น ทีละเป็นร้อย ๆ องค์ ซึ่งในอนาคตราคาเช่าหาของพระพิมพ์ขี้ตา ที่อาจารย์ฟุ้ง วัดท้ายน้ำสร้างนี้ คาดว่าจะเล่นหาเข้าสู่หลักแสนต้นในอนาคตที่ไม่ไกล ถ้าข้อมูลที่ปิดลับนี้เผยแพร่ออกไปกว้างขวางขึ้น
นอกจากนี้พระเครื่องพิมพ์ขี้ตาพิมพ์มีตำหนิที่สังฆาฎินี้ ต่อมาพระอาจารย์นงค์ วัดทุ่งน้อย ได้นำไปถอดพิมพ์และสร้างเป็นรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งน้อย หลายต่อหลายรุ่น ซึ่งก็มีตำหนิพิเศษที่สังฆาฎิเช่นเดียวกัน ซึ่งการถอดพิมพ์ขี้ตาพิมพ์นี้ของพระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อย ดูจะถอดพิมพ์ได้สวยงามใกล้เคียงกว่าของหลวงพ่อฟุ้ง วัดท้ายน้ำซึ่งได้จัดสร้างไว้ก่อนหน้า แต่พระเครื่องหลวงพ่อเงินที่พระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อยได้จัดทำ จะเป็นการจัดพระในยุคหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ต้น ๆ ถึง 2520 กว่า ๆ ซึ่งไม่ทันการปลุกเสกจากหลวงพ่อเงิน แต่เนื้อหามวลสารของพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตา ที่พระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อยสร้างไว้ในยุคต้น ๆ มีเนื้อหาจัดจ้านเช่นเดียวกัน เพราะได้นำโลหะสัมฤทธิ์เก่าผสมลงไปจำนวนมาก อาจทำให้บางคนที่ได้ส่องพระของท่านอาจารย์นง ก็อาจเคลิบเคลิ้มว่าทันยุคหลวงพ่อ สำหรับพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน ที่พระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อยสร้างนี้ ราคาเช่าหาอยู่ในหลักพันต้น ๆ สำหรับพระยุคต้นที่มีเนื้อหาจัดจ้าน หรือพระที่มีผิวพรายเงิน หรืิอผิวพรายทองคลุมอยู่ จะมีราคาเช่าหาอยู่ที่หลักพันต้น ๆ สำหรับพระยุคปลาย ๆ ที่เนื้อหาแก่ทองเหลือง และพิมพ์พระดูจะตื้นเขินกว่าราคาจะอยู่ที่หลักร้อยปลาย ๆ เท่านั้น
ถ้าเทียบกันด้านเนื้อหา สำหรับพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาที่หลวงพ่อฟุ้งสร้างกับพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตา ที่พระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อยสร้าง พบว่าเนื้อหาพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาที่หลวงพ่อฟุ้ง วัดท้ายน้ำสร้างจะมีเนื้อหาจัดจ้านกว่ามากอย่างเห็นได้ชัด ถ้าได้ส่อง ดูแล้วจะเคลิบเคลิ้มกับความจัดของกระแสโลหะ ซึ่งทันยุคหลวงพ่อเงิน สำหรับรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาที่สร้างโดยพระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อย ยุค 2500 ต้น ๆ เนื้อหาก็อยู่ในเกณฑ์จัดจ้านเช่นเดียวกัน เพราะพระอาจารย์นงได้ผสม ขันทองเหลือง ขันสัมฤทธิ์ เครื่องลงหินต่าง ๆ ฯ ผสมลงไปจำนวนมากในพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตา ของวัดทุ่งน้อย ซึ่งจะมีราคาค่านิยมสูงกว่าพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาหลวงพ่อเงินที่อาจารย์นง วัดทุ่งน้อยสร้างไว้ยุคหลัง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาแก่ทองเหลืองไม่จัดจ้านเท่ากับพระยุคต้น

สำหรับการแยกแยะให้เด็ดขาดระหว่างพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตาที่มีตำหนิที่สัง ฆาฎิของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาที่มีสังฆาฎิที่ถอดพิมพ์ออกมาของหลวงพ่อฟุ้ง วัดท้ายน้ำ และพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาที่มีสังฆาฎิที่ถอดพิมพ์ออกมาของพระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อย พบว่ามีปัญหาในการแยกแยะค่อนข้างมาก ซึ่งการพิจารณาแยกแยะต้องอาศัยความรู้ด้านพิมพ์ทรงและเนื้อหาพระเป็นสำคัญ เพราะท่านอาจตกควายได้ทำให้มีการเล่นหาสับสนว่าจะเป็นพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตา ของหลวงพ่อเงิน หรือหลวงพ่อฟุ้ง วัดท้ายน้ำหรือของพระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อย ซึ่งราคาแตกต่างกันอย่างฟ้ากับเหว เซียนพิจิตรที่รู้ลึกไวสามารถแยกออกจากกันระหว่างสามวัดนี้ได้อย่างชำนาญ ก็ค่อย ๆ เก็บกินตับเช่าหาพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตาที่มีตำหนิที่สังฆาฎิ ของวัดบางคลาน หรือ พระพิมพ์ขี้ตา หลวงพ่อฟุ้ง วัดท้ายน้ำ โดยบอกผู้ให้เช่าหาที่ไม่รู้ว่าเป็นของวัดทุ่งน้อย ราคาขนมหลักร้อย โดยมีออเดอร์ไล่สั่งให้ช้อนซื้อกันคนละเป็นร้อย ๆ องค์ จนพระหลวงพ่อฟุ้งแต่เดิมมีเต็มหรือแม้แต่พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานที่อาจปะปนอยู่ กำลังก็พลอยหมดไปด้วยเพราะไม่มีใครรู้ ปัจจุบัน พ.ศ. 2555 พระเริ่มร่อยหรอหายไปจากสนามแทบหมดแล้ว ทั้งยังทำให้พระรูปหล่อที่สร้างโดยอาจารย์นงค์ วัดทุ่งน้อย พลอยโดนเหมาหมดเกลี้ยงไปจากสนามด้วยและราคาค่างวดจากหลักร้อยต้น ๆ ก้าวสู่หลักพันต้น ๆ

สำหรับท่านที่เป็นนักนิยมพระเครื่องหลวงพ่อเงิน การเล่นหาพระทั้งสามยุคนี้คงต้องอาศัยประสบการณ์จากการที่ได้เห็นพระทั้งสาม ยุคนี้มาก ๆ รวมทั้งการหาความรู้รอบด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพิจารณา มิฉะนั้นท่านอาจตกควายได้ โดยปล่อยพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตา ที่มีตำหนิที่สังฆาฎิ ในราคาวัดทุ่งน้อยหลักร้อย โดยที่พระองค์นั้นอาจเป็นพระพิมพ์ขี้ตาของหลวงพ่อฟุ้งซึ่งเช่าหาในพื้นที่ ราคาเป็นหลักหมื่นต้น หรือเป็นพระพิมพ์ขี้ตา ที่มีตำหนิที่สังฆาฎิ ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ที่มีราคาเป็นหลักแสนต้น
สำหรับผู้นิยมพระเครื่องหลวงพ่อเงิน ที่สนใจชมภาพถ่ายพระเครื่องหลวงพ่อเงินทุกภาพ ที่ได้รับการยอมรับจากวัดบางคลาน ลูกศิษย์หลวงพ่อและเซียนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก ในศาลาประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อเงิน ที่วัดบางคลาน สามารถชมได้ที่ นิทรรศการภาพพระเครื่องหลวงพ่อเงิน ซึ่งข้าพเจ้าได้ถ่ายรูปไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระเครื่องหลวงพ่อ เงินครับ

5.2 วัดหลวง หลวงพ่อหอม ได้สร้างพระ “เนื้อดิน ” ล้วนๆ พิมพ์ พิมพ์ นิยม พิมพ์ขี้ตา พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์สังกัจจายน์

5.3 วัดขวาง สร้างเหนือโลหะ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม และพิมพ์สังกัจจายน์ พระหลวงพ่อเงินที่ขึ้นที่วัดขวาง ราวปี พ.ศ. 251 กว่า ๆ มีพระจำนวนหนึ่งได้มอบให้กับผู้สนใจไปบูชาในราคาหลักหมื่นกลาง โดยไม่ได้ตอกโค๊ด พระชุดนี้หลวงพ่อเปรื่องได้นำมาแจกบูชาที่วัดท้ายน้ำ และได้ตอกโค๊ดนะ ไว้เป็นสำคัญ บางคนเข้าใจผิดว่าพระพิมพ์นี้ออกที่วัดท้ายน้ำ จริง ๆ ออกที่วัดขวางนั่นเองครับ เพียงแต่ที่แจกที่วัดท้ายน้ำมีการแจกโค๊ดด้วยเท่านัี้้น นอกจากนี้ยังได้สร้างเพิ่มเติมโดยถอดพิมพ์วัดขวางออกมาให้เช่าูบูชา แต่พิมพ์ทรงตื้นกว่ากันมาก ใครสนใจวัดนี้ระวังให้ดีนะครับจะเช่าพระผิดราคา เพราะถ้าเป็นยุคหลวงพ่อเปรื่องสร้างราคาอยู่ที่ร้อยกลางถึงพันต้น ๆ ครับ

5.4 วัดห้วยเขน พระครูล้อมสร้าง เนื้อโลหะพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม จอบเล็ก จอบใหญ่ และมีพระเนื้อดิน พิมพ์ นั่ง นอน ยืน
สำหรับรูปหล่อหลวงพ่อเงินของวัดห้วยเขนที่ข้าพเจ้าไ้ด้สะสมไว้มากก่อน หน้าที่วงการจะนิยมร่วม 10 ปี ซึ่งสมัยก่อนราคาหลักร้อยปลายถึงพันต้นเท่านั้น โดยเซียนที่เสาะหาให้ต้องไปค้นหาถึงต้นกำเนิดที่เมืองพิจิตรเป็นส่วนใหญ่ เพราะพระชุดดังกล่าวในกรุงเทพฯไม่ได้รับค่านิยมเท่ากับที่พิจิตร เป็นที่แปลกว่าพิมพ์ทรงของรูปหล่อหลวงพ่อเงิน กรุวัดห้วยเขนมีมากมายกว่า 20 พิมพ์ ซึ่งได้จากการที่ข้าพเจ้าพยายามแบ่งแยกและหาเอกลักษณ์ของเชิงช่างจนค้นพบที ละพิมพ์ การสร้างของพระวัดห้วยเขนเข้าใจว่าเป็นช่วงท้ายชีวิตของหลวงพ่อเงิน ทำให้ต้องระดมช่างมาสร้างพร้อม ๆ กันหลายช่างหลายสิบกลุ่ึ่ม เพื่อให้ได้วัตถุมงคลอย่างรวดเร็วเพื่อนำออกให้บูชาเพื่อนำไปสร้างวัดห้วย เขน ทำให้มีหลายๆ พิมพ์มาก เช่นเดียวกับชินราชอินโดจีน ที่มีพิมพ์ช่างไทยและพิมพ์ช่างจีน ซึ่งมีพิมพ์ทรงแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด สำหรับพิมพ์จอบของวัดห้วยเขน พบทั้งจอบเล็ก และจอบใหญ่ เนื้อหาจัดจ้านสูตรพระเครื่องเมืองพิจิตร เช่นเดียวกับรูปหล่อไม่ผิดกัน
นอกจากนี้ขอบอกความลับให้กับท่านนิยมพระเครื่องหลวงพ่อเงิืนทุกท่านทราบว่า พระสมเด็จองค์ขนาดเล็กจิ๋วเนื้อดินหยาบผสมกรวดสีขาวพิมพ์ทรงต่าง ๆ ของ หลวงพ่อเงินที่จัดสร้าง ณ วัดห้วยเขน นั้น พระทุกองค์หลวงพ่อเงินใช้มือกวนดินผสมมวลสารในบาตรพระแล้วกดพิมพ์ด้วยตนเอง ถือว่าเป็นของดีสุดยอดรู้กันลึก ๆ ในกลุ่มลูกศิษย์หลวงพ่อเงิน และพากันเช่าหาเก็บไว้ไม่ปล่อยออก ทำให้พระจำนวนมากหมดลงจนหาของไม่ได้ พร้อมทั้งมีประสบการณ์มากมายกับพระชุดนี้ ทำให้ราคาถีบตัวไปสู่หลักหมื่นแล้ว ขอให้ช่วยกันแสวงหากันไว้ ณ บัดนี้ก่อนจะหาไม่ได้ และราคาพุ่งไปมากกว่านี้

5.5 วัดบางมูลนาก พระครูพิทักษ์ ศิลคุณ ( น้อย ) (หมายเหตุ ผู้ให้ข้อมูลแก่ จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ ) กับหลวงพ่อพิธ (ก่อนอยู่วัดฆะมัง ท่านจำพรรษาอีกหลายวัด) สร้างพิมพ์นิยม พิมพ์ขี้ตา จอบใหญ่ จอบเล็ก

5.6 วัดคงคาราม หลวงพ่อน้อย (ตาบอด) สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม โดยจ้างให้ เจ๊กชัย หล่อ และยังมีพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตา เนื้อดินด้วย

5.7 วัดท่าฬ่่อ มีข้อมูลสายลึก ๆ จากนักนิยมพระเครื่องสายตรง ได้พูดถึงการสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมของหลวงพ่อปู่ภู วัดท่าฬ่อ พิมพ์ยิ้มใหญ่ พิมพ์ตาโปนซึ่งมีหลายขนาด ที่เชื่อว่าสร้างทันวาระที่หลวงพ่อเงินปลุกเสก นอกจากนี้ยังรวมถึงเหรียญหล่อสี่เหลี่ยมรูปของหลวงพ่อเงินด้วย แต่พระของท่านสร้างไว้น้อยมากจึงไม่ได้พบเห็นกันแพร่หลาย แต่มีกระแสเนื้อโลหะจัดจ้านลึกซึ้งมากทันวาระแน่นอน เซียนรูปหล่อสายตรงหลวงพ่อเงิน ที่ได้ส่องแล้วก็จะประทับใจทุกคน พร้ิอมกับคำพูดที่ว่าทำไมไม่ใช่พิมพ์นิยมของหลวงพ่อเงิน ถ้าพิมพ์ใช่ราคาก็คงต้องเป็นล้านแน่ ๆ

5.8 วัดฆะมัง มีข้อมูลสายลึก ๆ จากนักนิยมพระเครื่องสายตรง ได้พูดถึงการสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยหลวงพ่อพิธ ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่ง ที่เรียกว่าพิมพ์ใหญ่เศียรโต ลักษณะสวยงามมากทั้งเนื้อหาและรูปลักษณ์ตลอดจนเนื้อหาเก่าจัดและเข้มขลังสุด ๆ หาได้ยากมาก และคนรู้จักน้อยมาก โด่งดังด้วยอิทธิฤทธิ์อิทธิเดช จนทำให้หลวงพ่อน้อย วัดคงคาราม ที่จัดสร้างพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปืนแตก ได้ก๊อปปี้พิมพ์นี้มาสร้างเป็นพิมพ์หนึ่งของพระหลวงพ่อเงิน รุ่นปืนแตก วัดคงคารามซึ่งคนในพื้นที่แสวงหากันมากด้วยประสบการณ์ฺที่เป็นที่ประจักษ์ ทำให้พระส่วนมากตกอยู่ในนักนิยมพระในท้องถิ่นอย่างแหนหวงไม่แพร่กระจายมายัง ส่วนกลาง มูลค่าของพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นี้อยู่ที่หลักหมื่นกลาง แต่ก็ยังหาพระไม่ได้ครับ

5.8 วัดใหม่คำวัน มีการขุดพบพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่แตกกรุที่วัดใหม่คำวันส่วนใหญ่เป็นพิมพ์ ขี้ตา ขนาดเล็กกว่าพิมพ์ขี้ตานิยมเล็กน้อย เส้นสายพิมพ์ทรงใกล้เคียงกันมากจนดูเหมือนกับสร้างโดยช่างคนเดียวกันกับช่าง ที่สร้างพระพิมพ์ขี้ตา เมื่อแตกกรุใหม่ ๆ ราคาที่วัดเปิดให้เช่าบูชาในราคาหลักหมื่นกลาง ๆ เซียนพระเมืองกรุงและเซียนพระท้องถิ่นตลอดจนนักนิยมพระเครื่องที่ศรัทธาหลวง พ่อเงินได้แห่กันไปเช่าหาจนในที่สุดพระได้ถูกจำหน่ายหมดไปจากวัด เมื่อพระหมดจากวัดแล้วเซียนพระสมองใสก็ลบคำว่าวัดใหม่คำวันออก แล้วนำไปปล่อยให้เช่าบูชาต่อในราคาหลักแสนกลางในฐานะของหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ ตา ของวัดบางคลาน อย่างเนียน ๆ ต้องดูให้ขาดนะครับว่าเป็นพระพิมพ์ขี้ตาของวัดไหน เพราะถ้าส่องดูแต่เนื้อแยกไม่ออกเลยครับเพราะเก่าทันยุคเช่นเดียวกันต้อง สังเกตพิมพ์ทรงให้ดีครับ มูลค่าของพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นี้อยู่ที่หลักหมื่นกลางครับ

ยุคที่ 6 พระเครื่องหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยลูกศิษย์ใกล้ชิดของหลวงพ่อ แต่ได้มีการจัดสร้างภายหลังจากที่หลวงพ่อมรณภาพ พ.ศ. 2462 จนถึงปี พ.ศ. 2500 ได้แก่ พระเครื่องพิมพ์อื่น ๆ ของอาจารย์แจ๊ะ วัดบางคลาน ที่มีพิมพ์ทรงไม่ค่อยสวยงาม มีรูปทรงไม่่ค่อยได้สัดส่วนสวยงาม อาจมีขนาดใหญ่มากกว่าปกติก็มี (ยกเว้นหลวงพ่อแจ๊ะพิมพ์นิยม ได้พิมพ์นกฮูกใหญ่พิมพ์นกฮูกคอเอียง และพิมพ์กบ ที่ทันยุคหลวงพ่อ) หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง(ยกเว้นพิมพ์ใหญ่เศียรโต ที่ได้เป็นต้นแบบของพระรุ่นปืนแตกพิมพ์เศียรโต แต่เนื้อหาอ่อนกว่ากันมาก)หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่่อ (ยกเว้นพิมพ์ตาโปน พิมพ์ยิ้มใหญ่ ที่มีหลายขนาด ซึ่งทันยุคหลวงพ่อ) หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง เป็นต้น
ยุคที่ 7 พระเครื่องหลวงพ่อเงินที่สร้างในวัดบางคลาน โดยศิษย์ฆราวาศภายในวัด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนต่างถิ่นที่มาถึงพิจิตรก็ต้องการแต่พระรูป หล่อและเหรียญจอบของหลวงพ่อเงิน โดยได้หล่อจำลองขึ้นภายในวัดแล้วให้เช่าบูชาแจกจ่ายแก่ผู้ศรัทธา โดยมีช่างแม้นช่างกรุ่นเป็นกำลังสำคัญ ซึ่งเป็นช่างยุคทันหลวงพ่อเงิน พบเห็นการสร้างและมวลสารโลหะที่ใช้ในการสร้างพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินในยุค สมัยหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่เป็นอย่างดี ได้ถอดแบบพิมพ์พระหลวงแล้วเทหล่อออกมาจำนวนมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ปัจจุบันก็มีอายุมากกว่า 68 ปี ทำให้บางองค์ที่เนื้อจัด ๆ ดูกันเล่นหาเป็นพระแท้ไปหมดแล้ว
ยุคที่ 8 พระหลวงพ่อเงินยุคใหม่ เป็นพระเครื่องหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยวัดบางคลานและวัดต่าง ๆ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ.2530 ซึ่งพระหลวงพ่อเงินยุคนี้ รูปหล่อพิมพ์ปั๊มได้รับความนิยมมาก เช่น รูปหล่อปั๊ม ปี 2515 วัดบางคลาน วัดท้ายน้ำ วัด วัดหอไกร วัดบีงนาราง วัดมูลเหล็ก วัดวังกระทิง วัดตะพานหิน วัดวังจิก วัดสมาบาป เป็นต้น สำหรับพระรูปหล่อที่ใช้การหล่อโบราณ ที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ รูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปืนแตก รุ่นฟ้าคำรณ สำหรับพระรูปหล่อที่ใช้การหล่อแบบทันสมัย ที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ รูปหล่อรุ่นช้างคู่้ พ.ศ. 2526






โดยสมาชิก ชื่อ หญิงโม สุชานาฎ กล้าหาญ
จากกลุ่ม ตลาดนัด ตลาดประมูล ซื้อขาย พระเครื่อง พระบูชา by ทะเลจืด