By pro 5 : พระปรุหนังเดี่ยว เนื้อชินเงิน กรุวัดมหาธาตุ

By pro 5 : พระปรุหนังเดี่ยว เนื้อชินเงิน กรุวัดมหาธาตุ

เริ่ม 3.30บาท
ปิด 3 ทุ่ม 30 นาทีวันนี้

🍀 ก่อนเวลาปิดประมูล 3 นาทีสุดท้าย หากมีผู้เข้าร่วมประมูลอีก จะเลื่อนเวลาการปิดประมูลออกไปอีก 3 นาที จนกว่า 3 นาทีสุดท้ายจะไม่มีผู้ประมูล จึงจะปิดการประมูลโดยสมบูรณ์

🍀 ในกรณีที่ผู้ให้ประมูลพิมพ์คำว่า “ปิด”ลงไปแล้วในกระทู้ เนื่องจากครบเวลา 3 นาทียึดตามเครื่องของผู้ให้ประมูลเป็นหลักแล้วมีผู้มาเคาะประมูลต่อในช่วงเสี้ยววินาทีสุดท้าย ถ้าราคาที่เคาะอยู่เหนือคำว่าปิดและเป็นราคาสูงสุด ให้ถือว่าเป็นผู้ชนะประมูลไปโดยปริยาย จะไม่มีการต่อเวลาเพิ่มอีก (กรณีนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก จนต้องคิดกติกาข้อนี้เพิ่มเติมขึ้นมา ลว. 8 ตุลาคม 2564)

🍀 อนึ่งคำตัดสินของผู้ให้ประมูลถือเป็นสิ้นสุดในทุกกรณี

.
.
.
.
.

#นิทานประกอบ : จ้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน นักเลงพระคนใดห้อยพระปรุหนัง อยุธยา ใคร ๆ เห็นต่างก็ซูฮกยกย่องเพราะเป็น ‘พระหลัก’ ของวงการฯสมัยนั้นมีค่านิยมสูงและพุทธคุณแน่นอนเชื่อถือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านป้องกันลูกตะกั่ว หรือไข้โป้ง ได้ผลชะงักนัก พระปรุหนัง อยุธยา เป็นพระพิมพ์ที่ ‘เลิศ’ ด้วยศิลปสมัยอยุธยา มีความวิจิตรตระการตา ด้วยจินตนาการประติมากรรมสกุลช่าง ชาวอโยธยา ท่ามกลางกลิ่นคาวเลือดของสงครามที่คุกกรุ่นมาโดยตลอด สันนิษฐานว่า สร้างเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 1915 ยุคสมัยอยุธยาตอนต้น หรือ 600 ปีก่อน ที่มาแห่งชื่อ ‘ปรุหนัง’ ด้วย พระปรุหนัง เป็นพระพิมพ์แบบฉลุเน้นพุทธลักษณะและรายละเอียดต่าง ๆ คล้ายกับการฉลุปรุโปร่งตัวละคร หนังตะลุง นักเลงพระยุคเก่าจึงขนานนามพระพิมพ์นี้ว่า ‘ปรุหนัง’ และเรียกขานกันมาจนทุกวันนี้ พระประหนัง อยุธยา รูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดกว้างประมาณ 4 ซ.ม. และสูงประมาณ 5 ซ.ม. ตรงกลางเป็นองค์พระพุทธประทับนั่งปางมารวิชัยขัดสมาธิราบเหนืออาสนฐานบัว 2 ชั้น รอบข้าง และเหนือองค์พระเป็นซุ้มเรือนแก้ว ประทับลวดลายช่อชัยพฤกษ์ ด้านข้างซ้ายและขวาขององค์พระดังกล่าว เป็นองค์พระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร ซึ่งเป็นพระอัคสาวกยืนพนมมือ รายละเอียดและพุทธลักษณะต่างๆ เน้นชัดเจนมาก ทั้งนี้เพราะฉลุพื้นผนังจนโปร่งใส แต่ในบางองค์เทหล่อแบบทึบตันทั้งองค์ก็มี ซึ่งพบเห็นน้อยมาก ๆ พระปรุหนัง อยุธยา เท่าที่พบและเล่นหากันเป็นแบบมาตรฐานสากล มีอยู่ทั้งหมด 5 พิมพ์ด้วยกัน ดังนี้ พิมพ์บัวเป็ด เป็นพิมพ์ที่ได้รับความ ‘นิยม’ สูงที่สุด พิมพ์บัวก้างปลา ซึ่งได้แยกได้อีก เป็น 2 แบบ คือ บัวถี่ และบัวห่าง พิมพ์บัวกลีบ แบบขนมต้ม พิมพ์ลีลา พิมพ์เดี่ยว เนื้อเท่าที่พบก็มี เนื้อชินเงิน ซึ่งมีทั้งผิวสนิทดำ และผิวปรอทสีขาว, เนื้อชินปนตะกั่วหรือที่เรียกกันว่า ‘ชินสังฆวานร’ มีความอ่อนตัวปิดงอได้เล็กน้อย และเนื้อดินเผา ซึ่งเนื้อดินเผานั้นไม่ได้รับความ ‘นิยม’เพราะจำนวนพระขึ้นจากกรุไม่มากนักประกอบกับพระที่สร้างในชั้นหลัง หรือพระยุคหลังล้อพิมพ์สมัยมีมาก แตกกรุ พระปรุหนัง อยุธยา แตกกรุปรากฏโฉมเป็นปฐม เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2440 ที่กรุวัดพุทไธสวรรค์ แต่มีจำนวนไม่มากนักแค่หลัก ‘สิบ’ เท่านั้น ต่อมาได้พบอีกที่ กรุวัดพระศรีสรรญเพชญ์ และกรุวัดมหาธาตุ ปี 95 จำนวนน้อยเช่นกัน และส่วนใหญ่ชำรุดผุกร่อนเนื่องจากพระบรรจุในกรุสถานที่แวดล้อมน้ำท่วมถึง ซึ่งในช่วงนั้น พระปรุหนัง ไม่เป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันอย่างกว้างขวางในแวดวงพระเครื่องเท่าใดนัก จนกระทั่งพระปรุหนังแตกกรุอีกหลาย ๆ ครั้งที่กรุวัดชนะสงคราม, กรุวัดราชบูรณะทั้งอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2500 และครั้งสุดท้ายพบที่ กรุวัดปราสาท เมื่อปี พ.ศ. 2506 ทั้ง 3 กรุดังกล่าว พบพระปรุหนังพิมพ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ชื่อเสียง ‘พระปรุหนัง’ก็เริ่มโด่งดังขจรขจายไปทั่ววงการพระเครื่องในแง่ศิลปสมัย จนเป็นที่นิยมแสวงหา และมีประสบการณ์อิทธิปาฏิหาริย์ในที่สุด เนื้อพระ พระปรุหนังถ้าเป็นเนื้อชินปนตะกั่วหรือชินสังฆวานร ผิวสีดำอมเทา มีคราบไขขาวเกาะบาง ๆ เป็นหย่อม ๆ ตามซอกมุม เนื้อชนิดนี้มีความอ่อนตัวบิดงอได้เล็กน้อย แต่ไม่เปราะหักง่าย เพราะมีความเหนียวแฝงความอ่อนนุ่ม ส่วนเนื้อชินเงินสามารถแยกออกเป็นแบบผิวสนิมดำและผิวปรอท ผิวสนิมดำนั้นเนื้อจะผุกร่อน เป็นขุยเกล็ด และเนื้อระเบิดแตกปริปะทุ ออกมาหรือที่เรียกกันว่า สนิมตีนกา และสนิมเกล็ดกระดี่ นั่นเอง ยิ่งในองค์ที่อยู่ใต้พื้นกรุเนื้อพระจะยิ่งผุกร่อน และระเบิดจนชำรุดยากต่อการรักษาสภาพ ผิวปรอท นั้นก็เหมือนกับพระพิมพ์กรุราชบูรณะ ที่พบเห็นกันบ่อย ๆ นั่นเหละ มีคราบปรอทสีขาวฉาบผิวโดยทั่วไปแต่ก็จะมีผิวสนิมดำ เป็นผื่นตามมุมต่าง ๆ เนื้อผิวชนิดนี้ถึงแม้ว่าจะ ‘แข็ง’ แต่มักจะมี รอยร้าว คล้ายกับ ‘ชำรุด’ ที่ด้านหลัง พระปรุหนังที่สภาพสมบูรณ์และรับรางวัลชนะเลิศการประกวด มักจะเป็นเนื้อชินเงินผิวปรอท เพราะสามารถรักษาและคงไว้ซึ่งสภาพเดิมมากที่สุด พระปรุหนัง อยุธยา วงการพระเครื่องแยกออกเป็น กรุเก่า และกรุใหม่ ซึ่งค่าความนิยมไม่ว่ากรุเก่าหรือกรุใหม่ ไม่ได้ มีบทบาทต่อ ‘ราคา’ ค่านิยมแต่อย่างใดขอเพียง ‘สวย’ และ ‘สมบูรณ์’ กรุไหนไม่สำคัญ พระกรุเก่า หมายถึง พระที่พบในช่วงแรก ๆ เช่นกรุวัดพุทไธสวรรค์ , กรุวัดศรีสรรญเพชญ์ และกรุวัดมหาธาตุ ซึ่งจะสังเกตได้จากเนื้อพระจะเป็นเนื้อชินปนตะกั่วมีความเก่าคร่ำ และผ่านการใช้สมบุกสมบันมาอย่างโชกโชน เช่นมีรอยถักลวดเป็นต้น พระกรุใหม่ หมายถึง พระที่พบในช่วงหลัง ๆ เช่นกรุวัดชนะสงคราม, กรุวัดราชบูรณะ และกรุวัดปราสาท เนื้อพระส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อชินเงิน มีทั้งผิวสนิมดำ และผิวปรอท สภาพความสมบูรณ์ดีเยี่ยม พระปรุหนัง อยุธยา ไม่ว่ากรุใดก็ตาม มิใช่ว่าจะเป็นแบบ ‘ ฉลุโปร่งเน้นรายละเอียด’ เท่านั้น ชนิดแบบตันทั้งองค์ หรือตันเป็นบางส่วน บางแห่งก็มี แต่เป็นจำนวนน้อย และมักจะเป็นของ กรุวัดปราสาท ความนิยม ด้วยพระปรุหนัง เป็นพระที่ฉลุโปร่ง เน้นรายละเอียดดังที่กล่าวมาแล้วทำให้พระเป็นจำนวนมาก ‘ชำรุด’ ซึ่งมีทั้งชำรุดมาแต่เดิมตอนสร้างก็มี! ชำรุดจากภายในกรุก็มาก! และชำรุดภายหลังจากแตกกรุโดยการห้อยบูชาก็เยอะ!! ที่ว่า ชำรุดมาแต่เดิมตอนสร้างนั้น หมายถึงรายละเอียดต่างๆ ตอนเทหล่อสร้างพระติดไม่เต็มพิมพ์ หรืออาจจะเป็นเพราะปริมาณเนื้อที่เทหล่อ ไม่มากพอ ทำให้พระไม่สมบูรณ์ยกตัวอย่างเช่น พระปรุหนังบางองค์พระเศียรขององค์พระโมคคัลลาน์หรือองค์พระสารีบุตรไม่มี เป็นต้น จึงถือว่าเป็นพระไม่สมบูรณ์ในความคิดของนักเลงพระทั้งหลาย และบางคนถึงกับมีคติไม่เช่าพระลักษณะดังกล่าวโดยเชื่อว่าไม่เป็นมงคล ส่วนที่ว่า ชำรุดภายในกรุ นั้นหมายถึง พระบางองค์บรรจุอยู่ใต้พื้นกรุ ซึ่งมีความชื้นแฉะ ทำให้บังเกิดสนิมกัดกินจนผุกร่อนยังผลให้รายละเอียดองค์พระชำรุดหายไป เช่นซุ้มเรือนแก้ว และลวดลายประดับต่าง ๆ ระเบิดหายไป สำหรับทีว่า ชำรุดภายหลังแตกกรุ หมายถึง การห้อยบูชาพระปรุหนังในสมัยก่อนนิยมถักลวดห้อยคอ หรือนำพระอัดตัดกับแผ่นไม้บางๆ แล้วพกพาติดตัวโดนกระทบกระแทกพระย่อมชำรุดไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม พระชำรุด จะด้วยสาเหตุอันใดดังกล่าว มีผลต่อการเช่าหาและค่านิยมของพระปรุหนังอย่างยิ่ง ถ้าเป็น พระที่สมบูรณ์ ราคาหนีไม่พ้นหลัก ‘หมื่น’ แน่นอน แต่ถ้า ชำรุดราคาก็จะลดหลั่นเหลือเพียงแค่หลัก ‘พัน’ เท่านั้น สำหรับพระปรุหนัง พิมพ์ที่นิยมและมีราคาแพงที่สุดก็คือ พิมพ์บัวเบ็ด รองลงมาก็พิมพ์บัวก้างปลา,พิมพ์บัวกลีบ ศิลปขนมต้ม และพิมพ์เดี่ยว ส่วน พิมพ์ลีลา นั้นหายากมากๆ ราคาเช่าหาไม่แน่นอน พระปรุหนังนอกจากจะเป็นพระพิมพ์ที่มีศิลปวิจิตรตระการตาแล้วยังเป็นพระที่มีประสบการณ์อิทธิปาฏิหาริย์มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านมหาอุด และคงกระพันชาตรี เป็นที่เล่าขานสืบต่อกันมามิรู้ลืม ฉะนั้นท่านที่ชอบพระบู๊ หรือพระเหนียว ไม่ควรมองข้าม พระปรุหนังเป็นอันขาด สำหรับองค์ที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นเนื้อชินเงิน ผิวปรอท พิมพ์บัวเบ็ด กรุวัดศรีสรรญเพชญ์ ใฝ่ฝันมาทั้งชีวิต พึ่งจะได้มาครอบครองครับ

🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀

กรุงศรีอยุธยา ก่อตั้งเป็นราชธานี ปฐมกษัตริย์องค์แรกคือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือ พระเจ้าอู่ทอง ความเป็นเอกราชของไทยสมัยอยุธยา มีอายุได้ยาวนานถึง ๔๑๗ ปี มีการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์กันหลายครั้ง เป็นเมืองแห่งยุคที่บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร สมบูรณ์ทั้งลุ่มน้ำ
จนถึง พ.ศ.๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยา ราชธานีไทยถึงกาลวิบัติ และสิ้นสุดยุคสมัยลง โดยเสียเอกราชแก่พม่า ที่มารุกราน

ประติมากรรมของขลัง ที่กำเนิดสมัยอยุธยายุคต้นนั้น ส่วนใหญ่เป็น พระเครื่องฝีมือช่างอู่ทอง ต่อมาอิทธิพลของศิลปะอื่นๆ ได้ไหลมารวมอยู่ในกรุงศรีอยุธยาอีกมากมาย

ขณะเดียวกัน ก็ได้ก่อเกิดศิลปะอันเป็นของตนเองขึ้นมาด้วย เรียกศิลปะนี้ว่า ศิลปะอยุธยาบริสุทธิ์ อาทิ พระขุนแผนเคลือบ พระขุนแผนใบพุทรา พระวัดตะไกร พระซุ้มไข่ปลา และพระเครื่องพิมพ์ปรุหนัง

พระทุกพิมพ์ที่กล่าวถึงนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นพระเครื่องสมัยอยุธยา โดยฝีมือสกุลช่างศิลป์อยุธยาบริสุทธิ์อย่างแท้จริง พระปรุหนัง พระเครื่องประเภทประณีตศิลป์ กำเนิดขึ้นในสมัยอยุธยายุคต้น เป็นพระศิลป์อยุธยาบริสุทธิ์ ที่งดงามยิ่ง ยากจะหาพระพิมพ์ใดเสมอเหมือน

พระเครื่องพิมพ์นี้ สร้างด้วยฝีมือสกุลช่างชั้นครูแห่งอยุธยา ได้ออกแบบเป็นพระพิมพ์ที่แหวกม่านกลิ่นอายเมืองแห่งการทำสงครามออกมาได้อย่างอลังการเป็นเลิศ เหนือพระเครื่องเนื้อชินของอยุธยาทั้งหมด

ที่มีชื่อว่า พระปรุหนัง เพราะลักษณะของเนื้อหาองค์พระที่ปรากฏ ช่างยุคนั้นออกแบบการเทหล่อเนื้อพระ ต้องการเทหล่อแบบให้องค์พระบาง เพื่อให้องค์พระที่ได้ มีพิมพ์พระที่เจาะโปร่ง ทะลุแบบมีลวดลายฉลุ จนดูคล้ายแผ่นหนังตะลุง หรือคล้ายกับแผ่นหนังใหญ่ ที่ใช้เชิดในการแสดงสมัยก่อน

พระบางองค์เป็นไปได้ว่า ขณะเทหล่อมีเนื้อมวลสารมากกว่า พระที่เทจึงมีความหนากว่าพระทั่วไป ทำให้องค์พระตัน ไม่ทะลุเจาะโปร่งแบบมีลวดลายฉลุ

พระปรุหนัง จัดเป็นพระเนื้อชินเงินอันดับหนึ่งของเมืองพระนครศรีอยุธยา ขุดพบครั้งแรกที่วัดมหาธาตุ เป็นจำนวนมาก

วัดมหาธาตุ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น อยู่ภายในกำแพงเมืองด้านหน้าพระราชวัง ด้านทิศตะวันออก ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง เคยได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

พระกรุวัดมหาธาตุ มีหลายพิมพ์ ล้วนแต่เป็นพระเนื้อชินเงินทั้งสิ้น เช่น พระนาคปรก กรุพะงั่ว พระอู่ทองคางเครา พระอู่ทองพิมพ์ต่างๆ พระขุนแผนใบพุทรา พระซุ้มประภามณฑล รวมทั้ง พระปรุหนัง ที่มีความงดงามอลังการด้วยการสร้างฉลุ ลวดลายแบบประณีตศิลป์ พระปรุหนัง มีหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์บัวเบ็ด พิมพ์บัวก้างปลา พิมพ์ปรุหนังเดี่ยว พิมพ์ปรุหนังลีลา แต่พิมพ์ที่นิยมมากที่สุด คือ พิมพ์บัวเบ็ด เพราะมีความสวยงดงามมาก

พุทธลักษณะ พระปรุหนัง พิมพ์บัวเบ็ด องค์พระประนั่งปางมารวิชัย บนฐานสองชั้น บนปลายฐานด้านบนทั้งสองข้าง มีโค้งกนกเล็กๆ ประดับอยู่ และในฐานแต่ละชั้นจะมีลายโค้งงอแบบเบ็ดตกปลา เรียงแถวตามแนวนอน แถวบนและแถวล่าง รูปเบ็ด จะเรียงโค้งงอสลับตรงข้ามกัน จึงเป็นที่มาของชื่อ พิมพ์บัวเบ็ด

องค์พระประทับนั่งอยู่ในซุ้มเสมา เหนือซุ้มเสมาขึ้นไปประดับด้วยลวดลายคล้ายกิ่งไม้รวม ๖ กิ่ง จำนวนเท่ากัน ข้างละ ๓ กิ่ง

แต่ละด้านมีกิ่งเล็กที่มีลายใบไม้ ๒ กิ่ง พร้อมกิ่งใหญ่ ๑ กิ่ง ที่ไม่มีลวดลายใบไม้

เอกลักษณ์ของพระปรุหนัง ตรงกลางเป็นรูปพระพุทธเจ้า โดยมีพระสาวก ยืนพนมมืออยู่ซ้ายและขวา ที่เศียรพระสาวกทั้ง ๒ มีลวดลายรอบเศียรโค้งมนสวยงาม ขึ้นมาเชื่อมติดกับลวดลายกิ่งไม้ด้านบน ซึ่งแลดูแล้วลงตัวอ่อนช้อยในพุทธศิลป์

พระปรุหนัง มีทั้งที่เป็นแบบฉลุทั้งองค์ ครึ่งองค์ และไม่ฉลุเลย (ตันทั้งองค์) ก็มี เป็นที่สังเกตว่า พระปรุหนังไม่ว่าจะพบที่กรุไหน ล้วนเป็นพระเนื้อชินเงิน หรือชินปนตะกั่วเท่านั้น

ส่วนพระเนื้อดินจะไม่มี ที่พบเห็นพระเนื้อดิน เป็นพระที่สร้างโดยพระเกจิอาจารย์ยุคหลัง เลียนแบบย้อนยุคขึ้นมา พระปรุหนัง เป็นพระที่สร้างแบบเจาะโปร่ง ค่อนข้างบางมาก เพราะฉะนั้น องค์พระส่วนมากจึงหักชำรุดง่าย โดยเฉพาะบริเวณส่วนพระศอขององค์พระ จะบางที่สุด พระที่สมบูรณ์จริงๆ จึงมีไม่มากนัก

ข้อสังเกตพระปรุหนังเกือบทุกองค์ ด้านล่างองค์พระ จะมีรอยตัด เพราะเน้นการเทเนื้อชินเงินจากด้านล่างสู่ด้านบน จึงมีการตัดชนวน ทำให้เห็นรอยตัด

พระปรุหนัง มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ตัดกรอบสี่เหลี่ยม ฐานกว้างประมาณ ๔.๕ ซม. สูงประมาณ ๕ ซม. ด้านหลังขององค์พระแบนเรียบทั้งหมด ไม่มีลายผ้า หรือลายอื่นใด องค์พระมีผิวปรอทปกคลุมทั่วทั้งองค์ บางองค์จะปิดทองเดิมมาจากกรุ บางองค์จะมีชาดแดงเก่า อย่างเช่นองค์ในภาพที่เห็นนี้ มีชาดเก่าติดอยู่ประปราย บริเวณลำตัวองค์พระ และข้างโคนเสาซุ้มเสมาด้านขวา

พุทธคุณ เป็นที่ยอมรับกันว่า ยอดเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เพราะสมัยก่อนสร้างไว้เพื่อปกป้องคุ้มครองเหล่าวีรชนนักรบ — —




โดยสมาชิก ชื่อ หญิงโม สุชานาฎ กล้าหาญ
จากกลุ่ม ตลาดนัด ตลาดประมูล ซื้อขาย พระเครื่อง พระบูชา by ทะเลจืด