By pro 5 : นางกวัก พิมพ์ใหญ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ปี246

By pro 5 : นางกวัก พิมพ์ใหญ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ปี2460

เริ่ม 3.25 บาท
ปิด 3 ทุ่ม 25 นาทีวันนี้

🍀 ก่อนเวลาปิดประมูล 3 นาทีสุดท้าย หากมีผู้เข้าร่วมประมูลอีก จะเลื่อนเวลาการปิดประมูลออกไปอีก 3 นาที จนกว่า 3 นาทีสุดท้ายจะไม่มีผู้ประมูล จึงจะปิดการประมูลโดยสมบูรณ์

🍀 ในกรณีที่ผู้ให้ประมูลพิมพ์คำว่า “ปิด”ลงไปแล้วในกระทู้ เนื่องจากครบเวลา 3 นาทียึดตามเครื่องของผู้ให้ประมูลเป็นหลักแล้วมีผู้มาเคาะประมูลต่อในช่วงเสี้ยววินาทีสุดท้าย ถ้าราคาที่เคาะอยู่เหนือคำว่าปิดและเป็นราคาสูงสุด ให้ถือว่าเป็นผู้ชนะประมูลไปโดยปริยาย จะไม่มีการต่อเวลาเพิ่มอีก (กรณีนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก จนต้องคิดกติกาข้อนี้เพิ่มเติมขึ้นมา ลว. 8 ตุลาคม 2564)

🍀 อนึ่งคำตัดสินของผู้ให้ประมูลถือเป็นสิ้นสุดในทุกกรณี

.
.
.
.
.
#นิทานประกอบ : หลวงพ่ออิ่มวัดหัวเขา สุพรรณบุรี เป็นพระเกจิยุคเก่าของเมืองสุพรรณบุรีในยุคเดียวกันกับหลวงพ่อกาพย์ หลวงพ่อพริ้ง วัดวรจรรย์ หลวงพ่อสอนวัดป่าเลไลย์ หลวงพ่ออ้นวัดดอนปุปผาราม เป็นต้น นักสะสมพระเครื่องบางท่านเชื่อว่า หลวงพ่ออิ่มเป็นลูกศิษย์ยุคต้นๆของหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งลูกศิษย์รุ่นนี้ได้แก่ หลวงพ่อโตวัดวิหารทอง หลวงพ่อคงวัดใหม่บำเพ็ญบุญ เป็นต้น หลวงพ่ออิ่มในอดีตมีชื่อเสียงมากในสุพรรณบุรีว่าเป็นพระเกจิที่เก่งด้านคงกระพันชาตรี เป็นที่เลื่องลือไปทั่วในยุคนั้น

หลวงพ่ออิ่มวัดหัวเขาประมาณว่าท่านเกิดเมื่อพ.ศ.๒๔๐๖ ปลายสมัยรัชกาลที่๔ตรงกับวันที่ ๑ มิถุนายน อุปสมบทเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๒๖ สันนิษฐานว่าคงเป็นพระธุดงค์มาจากเมืองอื่น แล้วเดินทางไปปักกลดปฏิบัติธุดงควัตรอยู่บริเวณวัดหัวเขา ซึ่งแต่เดิมเป็นป่ารกทึบ จากคำบอกเล่าของญาติโยมที่เป็นคนเก่าแก่ปลายสมัยของหลวงพ่ออิ่ม สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หลวงพ่ออิ่ม ในช่วงชีวิตสมัยที่ยังอยู่วัยหนุ่มนั้นเคยเป็นเสือปล้นก่อนที่จะมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาจวบจนมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ สำหรับลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่มที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่

หากพูดถึงพระเกจิอาจารย์ที่หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ยกย่องกันแล้วหล่ะก็ “หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี” ก็นับเป็นอีกรูปหนึ่งที่หลวงพ่อปานกล่าวยกย่องด้วยความเคารพ โดยหลวงพ่อปานเรียกหลวงพ่ออิ่มว่า “พระเจดีย์” ซึ่งหมายถึงว่า เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่น่าเคารพยกย่องเหมือนกับเป็นพระสถูปหรือพระเจดีย์ ที่ควรค่าแก่การสักการะบูชาและก็ต้องบอกว่า คำที่หลวงพ่อปานกล่าวยกย่อง ไม่เกินเลยความจริงแต่ประการใด เพราะพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองสุพรรณรูปนี้เก่งอย่าง “ของจริงของแท้” แบบเล่าขานปากต่อปาก ไม่ต้องโหมโฆษณาตามสื่อมวลชนแขนงต่างๆ กันแต่ประการใด มิหนำซ้ำหลวงพ่ออิ่มวัดหัวเขา ยังมีข้อวัตรปฏิบัติตรงตามพระธรรมวินัยสมเป็นพุทธบุตรอีกต่างหาก

ถึงขนาดที่ว่า สามารถกำหนดอิริยาบถการมรณภาพได้อีกด้วยคือ ท่านกำหนดนั่งสมาธิมรณภาพจนถือว่า เป็นพระเกจิฯ ในยุคแรกๆ ของเมืองสุพรรณฯ ที่นั่งสมาธิมรณภาพซึ่งนั่นเป็นสิ่งบ่งบอกถึงภูมิจิต ภูมิธรรมขั้นสูงตามหลักพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดีว่า หลวงพ่ออิ่มก็เป็นพระอริยบุคคลรูปหนึ่ง ในอดีตถ้าพูดถึงพระเกจิที่สร้างนางกวักได้ขลังและมีชื่อเสียงมากที่สุด จะต้องนึกหลวงพ่ออิ่มวัดหัวเขาอยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ นางกวักของหลวงพ่ออิ่มสร้างหลายครั้งก่อนปี ๒๔๘๐ ลักษณะนางกวักหล่อโบราณ ด้วยสำริดทองเหลืองบางองค์แก่ทองคำแต่ละองค์จะไม่เหมือนกัน สำหรับนางกวักยุคต้นๆน่าจะสร้างราวปี ๒๔๖๐-๗๐ นางกวักจะเป็นการปั้นหุ่นด้วยมือ ศิลปะของแต่ละองค์จะสวยในการสร้างพระและวัตถุมงคลต่างๆ หลวงพ่ออิ่มจะบอกบุญไปทางญาติโยม ในสมัยโบราณไม่มีการเรี่ยไรเงินครับ แต่จะนำวัสดุพวกโลหะต่างๆมาให้หลวงพ่อ วิธีการสร้างคือการหล่อดินไทยโบราณ ปั้นหุ่นเทียนทีละองค์ และนำไปติดช่อ ดังนั้นพระและนางกวักต่างๆจะไม่มีทางเหมือนกันทั้งขนาดและทรงพิมพ์(แค่คล้ายกันเท่านั้น) ยิ่งนางกวักที่เคยได้มา องค์ใหญ่สุดขนาดเกินสองข้อนิ้วก้อย เล็กสุดขนาดพอๆกับเล็บนิ้วก้อย พระหล่อดินไทยโบราณจะมีรูพรุนบ้าง แหว่งบ้าง หรือแม้กระทั่งเป็นรอยตะปุ่มตะปั๊มทั่วองค์พระ บางเรียกว่าผิวมะระ บางเรียกว่าผิวคางคก อีกจุดที่สำคัญคือพระหล่อเนื้อทองผสมของหลวงพ่ออิ่มจะมีส่วนผสมของทองคำเยอะมาก องค์ที่ได้รับทองคำน้อยจะเห็นน้ำทองวิ่งตามซอกต่างๆ บางองค์ที่ได้รับทองคำเยอะจะเห็นเป็นเกร็ดทองคำหรือแม้กระทั่งเป็นก้อนทองคำเล็กๆเลยทีเดียว

ซึ่งเป็นการสร้างได้ถูกต้องตามตำราโบราณปั้นหุ่นที่ละองค์ สำหรับยุคต้นแล้วหล่อออกมาคล้ายกับพระปิดตา หลวงพ่อทับวัดทอง (จากความเห็นของนักสะสมรุ่นเก่าหลายท่าน บอกว่ายังไม่เคยเห็นนางกวักยุคต้นๆ ที่เหมือนกันสององค์ครับ แต่จะมีลักษณะศิลปะใกล้เคียงกันเท่านั้น) นางกวักหลวงพ่ออิ่มที่แท้ๆตัวจริงศิลปะสวยหายากนะครับ ส่วนใหญ่ที่เจอเป็นนางกวักยุคหลังหรือไม่ก็เป็นของเกจิท่านอื่นเอามาเล่นกัน เรื่องพระพุทธคุณนั้นพระเครื่องฯ ตลอดจนวัตถุมงคลอื่นๆ ของหลวงพ่ออิ่มนั้น มีประสบการณ์อย่างโชกโชน ตั้งแต่สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่แล้ว ทั้งคงกระพันชาตรีกันเขี้ยวงา แคล้วคลาด มหาอุตม์ เมตตามหานิยม ค้าขายดี มีเงินทองไม่ขาดมือ

ถึงขนาดยกย่องกันว่า ใครมีพระเครื่องฯหรือวัตถุมงคลของหลวงพ่ออิ่มแล้ว“อิ่ม”สมชื่อจริงๆไม่มีคำว่า“อด” นอกจากนี้ ประสบการณ์เรื่องคุ้มครองป้องกันภยันตรายต่างๆก็ดีเยี่ยมเล่าขานไม่รู้จบ ถึงขนาดที่ว่า เหล่าบรรดาเสือปล้นเมืองสุพรรณฯ รุ่นเก่าทั้งหลายที่เลื่องชื่อว่า หนังเหนียว อยู่มีดอยู่ปืน ส่วนใหญ่ใช้พระเครื่องฯวัตถุมงคลของท่านหรือไม่ก็ไปสักยันต์กับท่านไม่เว้นแม้กระทั่งวัตถุมงคลรูปแม่นางกวักของท่านก็มีอานุภาพเรื่องคงกระพันมหาอุตม์ หยุดปืนได้ด้วยเหมือนกันทั้งๆ ที่เป็นเครื่องรางของขลังที่สร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เรื่องเมตตาค้าขาย โดยล่าสุดที่ จ.สุพรรณบุรีก็ได้เกิดเหตุการณ์ผู้คล้องแม่นางกวักหลวงพ่ออิ่มรายหนึ่งถูกอาวุธปืนพกสั้นจ่อยิงแต่ไม่สามารถทำอันตรายให้ระคายผิวได้ เรียกว่าอานุภาพในวัตถุมงคลนั้นเชื่อถือได้สนิทใจทีเดียวเชียวครับ สำหรับหลวงพ่ออิ่มวัดหัวเขายอดเกจิฯแห่งเมืองสุพรรณบุรี

– เป็นรูปหล่อโบราณ(นางกวัก) พิมพ์ใหญ่ ยุคต้นๆเนื้อทองผสมแก่ทองคำ
– นางกวักเป็นเครื่องรางของขลังและเป็นเครื่องมงคลที่สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในเรื่องเมตตาค้าขาย
– นางกวักยุคแรกๆของท่านสร้างประมาณปีพ.ศ.2460-2470 เป็นการปั้นหุ่นด้วยมือทีละองค์แต่ละองค์ จึงไม่เหมือนกันแต่คล้ายกัน
– มีลักษณะเป็นรูปแม่นางกวักนั่งพับเพียบ ท้าวแขน ทรงสไบ ผมหวี มือขวาที่กวักยกสูงระดับปาก
– หลวงพ่ออิ่มวัดหัวเขาเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าที่มีชื่อเสียงด้านคงกระพันชาตรีของชาวจังหวัดสุพรรณบุรี
– เป็นผู้สร้างรูปหล่อโลหะแม่นางกวักได้ขลัง มีพุทธคุณ ดีครบทุกด้าน จนเป็นที่ยอมรับของวงการพระเครื่องเมืองไทย
– หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 อุปสมบทประมาณปี พ.ศ.2426 มรณะภาพ เมื่อปี 2480 สิริอายุ 74 ปี
– เป็นลูกศิษย์ยุคต้นๆของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
– ท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี — —




โดยสมาชิก ชื่อ หญิงโม สุชานาฎ กล้าหาญ
จากกลุ่ม ตลาดนัด ตลาดประมูล ซื้อขาย พระเครื่อง พระบูชา by ทะเลจืด