By pro 4 : #เฉพาะเลี่ยมเงินลงยาไข่ปลาตีเกรียวก็สองพันบา

By pro 4 : #เฉพาะเลี่ยมเงินลงยาไข่ปลาตีเกรียวก็สองพันบาทไทยแล้วขอรับ เหรียญอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ รุ่นแรก ปี2520…เหรียญของอาจารย์ใหญ่ที่ลูกศิษย์อย่างอ.ปาล วัดเขาอ้อปลุกเสกให้เต็มพลัง เป็นเหรียญที่พลาดไม่ได้ขอรับ

ปล.จุดจ่ายตังค์อย่างง่าย คือ เส้นแตกจาก ข ไปยังสระ า

เริ่ม 3.20 บาท
ปิด 3 ทุ่ม 20 นาทีวันนี้.

🍀 ก่อนเวลาปิดประมูล 3 นาทีสุดท้าย หากมีผู้เข้าร่วมประมูลอีก จะเลื่อนเวลาการปิดประมูลออกไปอีก 3 นาที จนกว่า 3 นาทีสุดท้ายจะไม่มีผู้ประมูล จึงจะปิดการประมูลโดยสมบูรณ์

🍀 อนึ่งคำตัดสินของผู้ให้ประมูลถือเป็นสิ้นสุดในทุกกรณี

.
.
.
.
.
#นิทานประกอบ : เหรียญอาจารย์ทองเฒ่า รุ่นแรก (เหรียญหัวจุก) ปี พ.ศ. 2520 วัดเขาอ้อ อ. ควนขนุน จ. พัทลุง

*** เหรียญอาจารย์ทองเฒ่า รุ่นแรก (เหรียญหัวจุก) ***

*** ผิวหิ้งเดิมๆ ***

*** โค๊ตเล็ก ชัดเจน ***

*** ที่ระลึกวันมรณภาพ 50 ปี ***

*** ด้านหลังยันต์ลึก ***

*** วัตถุประสงค์ดี ออกแบบดี พิธีใหญ่ ***

วัตถุประสงค์ดี ออกแบบดี พิธีใหญ่โดยอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ อาจารย์หมุน อาจารย์เล็ก อาจารย์ศรีเงิน และเกจิอาจารย์สายเขาอ้อร่วมพิธีปลุกเสก เป็นเหรียญประสบการณ์อีกเหรียญของเมืองพัทลุง

พระอาจารย์ทอง เฒ่า ต้นตำรับสำนักเขาอ้อ (วัดเขาอ้อ)

“วัดเขาอ้อ” เป็นวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่ง ที่มีความสำคัญทางด้านศิลปะและโบราณคดี ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

นับ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ท่านเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อหลายต่อหลายรูป ล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องไสยศาสตร์ วิชาการ เวทมนต์ และคาถาต่างๆ จึงได้รับการรักษาถ่ายทอดสืบต่อกันมามิได้ขาดสาย จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศ

เชื่อกันว่าศิษย์จากสำนักวัดเขาอ้อที่ได้เล่าเรียนวิชา และผ่านพิธีกรรมต่างๆ ทางไสยศาสตร์ที่กล่าวมาแล้วนั้น ย่อมมีพลังร่างกายที่คงกระพัน

สำนักวัดเขาอ้อ ตามตำนานกล่าวว่า ภูเขาอ้อเป็นบรรพตแห่งพราหมณ์หรือฤษีผู้ทรงวิทยาคุณ ใช้เป็นที่พำนักเพื่อบำเพ็ญพรตและตั้งสำนักถ่ายทอดวิชาความรู้แก่ผู้แสวงหา วิชาเพื่อใช้ในการปกครองและเลี้ยงชีพ ตามตำราพระธรรมศาสตร์ ตำราอาถรรพ์เวท ตำราพิชัยสงคราม และอายุรเวท

ครั้นต่อมาเมื่ออิทธิพลของพราหมณ์ลดบทบาทลง วิชาของเขาอ้อได้ถูกถ่ายทอดสู่พระภิกษุ

กล่าวสำหรับอดีตเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อที่พอสืบค้นประ วัติได้บ้าง คือ “พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต” (ทองเฒ่า) แต่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อใดนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า “พ่อท่านเขาอ้อ”

พระอาจารย์ทองเฒ่า ขึ้นชื่อว่าเป็นต้นตำรับสำนัก ตักศิลาเขาอ้อ ถือเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังทางวิทยาคมไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ จนเป็นที่เคารพนับถือยำเกรงของคนทั่วไป

กล่าวว่าตรงศีรษะของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต หรือพระอาจารย์ทองเฒ่า มีเส้นผมสีขาวซึ่งไม่สามารถโกนหรือตัดขาดได้

ประวัติ พระครูทองเฒ่า สืบค้นได้จากคำบอกเล่า ของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังจะพอจดจำกันได้บ้างว่า พื้นเพของท่านเป็นชาวบ้านสำนักกอ ต. ปันแต อ. ควนขนุน จ. พัทลุง บิดานั้นไม่ทราบชื่อ ส่วนมารดาชื่อ นางรอด ตัวของท่าน ทองเฒ่า เป็นพี่คนโต และมีน้อง 2 คน เป็นชายและหญิง ครอบครัวมีอาชีพทำนา

ในการอุปสมบทจะเป็นเมื่อใด ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ ตลอดจนพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ หาทราบไม่ แต่มีเรื่องเล่ากันว่า ก่อนที่ท่านจะบวชได้ล้มป่วยมีอาการหนักมาก จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานบนบานศาลกล่าวว่า หากหายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วยจะบวชเป็นการถวายแก้บน หลังจากนั้นไม่นานอาการป่วยไข้ก็ทุเลาเบาบาง และหายไปในที่สุดอย่างน่าอัศจรรย์

ซึ่งต่อมาได้อุปสมบทตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้ และได้ศึกษาวิชากับพระอาจารย์เอียดเหาะได้ วัดดอนศาลา ซึ่งเป็นศิษย์สายสำนักวัดเขาอ้อ เป็นที่เล่าขานถึงวิชาพุทธาคมของพระอาจารย์เอียดเหาะได้ว่า เหตุที่ท่านมีสมญานามเช่นนั้นสืบเนื่องมาจาก ทุกวันพระ 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ พระอาจารย์เอียดเหาะได้ จะเหาะไปบำเพ็ญภาวนาในถ้ำที่วัดเขาอ้อเป็นประจำ ชาวบ้านหลายคนได้พบเห็นเป็นประจักษ์ต่อสายตา จึงได้ขนานนามท่านว่า พระอาจารย์เอียดเหาะได้

กล่าวสำหรับพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) ได้ชื่อว่ามีตบะบารมีสูงส่งทีเดียว และเป็นผู้ที่เข้มงวดกวดขันกับบรรดาลูกศิษย์เป็นอย่างยิ่ง หากพบเห็นว่าทำสิ่งใดไม่ถูกต้องก็จะตำหนิตักเตือน ทั้งนี้ก็ด้วยความปรารถนาดีที่อยากให้ศิษย์ของท่านได้ดีในวิชาความรู้

ในส่วนของมารดาของพระครูสังฆวิจารณ์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ในช่วงบั้นปลายของชีวิตได้บวชชีที่วัดเขาอ้อ โดยพระอาจารย์ทองเฒ่าปลูกกุฏิให้พำนักอยู่ใกล้ๆ กับกุฏิของท่าน เพื่อสะดวกในการปรนนิบัติตามหน้าที่ของบุตรผู้กตัญญูตราบจนสิ้นอายุขัย

สมณะศักดิ์ราชทินนามพระครูสังฆวิจารณ์ฉัตรทันต์บรรพต เจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ ได้รับพระราชทานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย

พระอาจารย์ทองเฒ่า ได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อปี พ.ศ. 2470 ขณะอายุได้ 78 ปี

สิ่งหนึ่งที่เหลือไว้สำหรับให้รำลึกถึง คือ วัตถุมงคลที่ท่านสร้างขึ้น นอกเหนือจากพิธีกรรมของสำนักวัดเขาอ้อ คือ พิธีอาบว่านแช่ยา พิธีหุงข้าวเหนียว พิธีป้อนน้ำมันงา ซึ่งในสมัยท่านเป็นพิธีกรรมที่เข้มขลังเป็นอย่างยิ่ง — — —





โดยสมาชิก ชื่อ เดียว ทะเลจืด
จากกลุ่ม ตลาดนัด ตลาดประมูล ซื้อขาย พระเครื่อง พระบูชา by ทะเลจืด