#เหรียญหลวงปู่ฤาษีลิงขาว (หลวงพ่อช่อ) วัดฤกษ์บุญมี ต.ไผ

#เหรียญหลวงปู่ฤาษีลิงขาว (หลวงพ่อช่อ) วัดฤกษ์บุญมี ต.ไผ่กองดิน อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ปี33 เนื้อเงิน#

พระครูสุวรรณสิทธิการย์ หรือ
หลวงปู่ฤาษีลิงขาว (ช่อ อภินันโท) วัดช่องลม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
หลวงปู่ฤาษีลิงข่าว (ช่อ อภินันโท) วัดฤกษ์บุญมี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เป็นองค์เดียวกัน

เกิดพ.ศ. 2461 ปีมะเมีย ณ บ้านสาลี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี บิดาชื่อ เชื่อม มารดา ชื่อ เล็ก ร่มวงษ์

เริ่มพบหลวงปู่ปาน
โยมแม่เล็กเป็นคนส่งข้าวส่งน้ำให้หลวงปู่ปาน และเมื่อวัดบางนมโคมีงานต่างๆ โยมแม่เล็กจะมาช่วยทำครัวงานวัดเป็นประจำ เมื่อวัยเด็กเด็กชายช่อได้ติดตามมารดาที่ไปช่วยแม่ทำครัว ณ วัดบางนมโค เพื่อจัดงานประจำปี และเมื่อไปที่วัดมักจะเล่นกับเด็กที่วัดบางนมโคเด็กชายช่อมีผิวขาว น่ารัก ฉลาด เป็นที่ถูกใจหลวงปู่ปาน หลวงปู่ท่านจึงบอกโยมมารดาท่าน (โยมเล็ก) เพื่อขอให้เด็กชายช่อมาอยู่ที่วัดบางนมโคเพื่อเรียนหนังสือ

หลวงปู่ปานได้มอบเด็กชายช่อให้อยู่ในความดูแลของ หลวงพ่อเล็ก เกสโร เด็กชายช่อเป็นเด็กฉลาด และใฝ่รู้ จึงได้ร่ำเรียนสรรพวิชาต่างๆ ทั้งกรรมฐาน อักขระวิธี เลข ยันต์ ตำราต่างๆ จากทั้งหลวงปู่ปาน และหลวงพ่อเล็ก ตั้งแต่เล็กจนโต และสิ่งหนึ่งที่ชำนาญคือ แพทย์แผนโบราณยาและสมุนไพรต่างๆ สมุฎฐานของโรค รากฐานของพืชสมุนไพรทุกชนิด เด็กชายช่อสามารถจดจำได้หมด คนสมัยก่อนจะทราบว่าหลวงปู่ปานท่านเก่งเรื่องแพทย์แผนโบราณมากและยาที่ท่านทำท่านจะใช้อาคมเสกยาด้วย ก่อนจ่ายให้คนป่วยทาน

อุปสมบท
เมื่ออายุครบเกณฑ์บวช หลวงปู่ปานได้รับเป็นธุระเรื่องบวชให้ทั้งหมด เด็กชายช่อจึงได้อุปสมบทบวชในบวรพุทธศานา เมื่อ กรกฎาคม พ.ศ. 2481 โดยมี
พระครูพิทักษ์ธรรมคุณ วัดช่องลม เป็นอุปัชฌาย์
หลวงพ่อปานกับหลวงพ่อเล็ก เกสโร วัดบางนมโค เป็นคู่สวด ได้รับฉายาว่า อภินันโท
โดยขณะนั้นหลวงปู่ปานได้มาเป็นประธานการสร้างอุโบสถ วัดสาลี และ ศาลาการเปรียญ วัดช่องลม จ.สุพรรณบุรี จึงให้มาบวชที่วัดช่องลม

หลวงปู่ช่อบวชอยู่ที่วัดช่องลม และจำพรรษาอยู่ 3 พรรษาก่อนลาสิกขาออกมาเป็นแพทย์แผนโบราณช่วงหนึ่งก่อนจะอุปสมบทใหม่ และเป็นหลวงปู่ (ช่อ อภินันโท) วัดฤกษ์บุญมี จ.สุพรรณบุรี อย่างที่เรารู้จักกัน

หลวงปู่ช่อได้เรียนวิชาความรู้จากหลวงปู่ปานและหลวงพ่อเล็กมามาก เนื่องจากเป็นคนฉลาด และอยู่กับท่านทั้งสองมาเป็นเวลานาน คือตั้งแต่เล็กอยู่ที่วัดบางนมโค มิใช่เป็น การไปเรียนสั้นๆเพียงบางวิชาระยะสั้นๆ จึงถือว่าท่านสืบทอดตำหรับวิชาจากหลวงปู่ปานแบบสมบูรณ์ และท่านได้ใช้วิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาสงเคราะห์ลูกหลานมาโดยตลอด มีความเมตตาสูงยิ่ง

การเป่ายันต์เกราะเพชร ของหลวงปู่ช่อ
พิธีเป่ายันต์เกราะเพชร ของหลวงปู่ช่อนั้น จะเป็นการเป่ายันต์เกราะเพชรแบบเต็มสูตรตามแบบ ของหลวงปู่ปาน ซึ่งจะต่างจากที่เราเห็นทั่วไป โดยหลวงปู่ช่อจะจัดขึ้นปีละครั้งตอนงานบุญประจำปีที่วัด และจะจัดในวันอื่นเป็นคราวๆไป มีผู้ร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก ผู้ที่เข้าร่วมพิธีจะมีประสพการกันมากเรื่องการรู้สึกคันตามร่างกาย และผู้ที่มีครรภ์ที่ได้เข้าพิธีไปแล้วเมื่อคลอดออกมาแล้วปรากฎเป็นรอยยันต์ สีแดงบน กระหม่อมของบุตรให้เห็น คนอยู่ในเหตุการณ์รับรู้เรื่องนี้มากมาย

หมายเหตุ:
หลวงปู่ช่อ เมื่อครั้งยังเป็นเด็กชายช่อ เมื่อท่านมายังวัดบางนมโคท่านมักจะมาเล่นกับเพื่อนกลุ่มเดียวกัน โดยมีคนหนึ่งนั้นชือ เด็กชายเวก (ต่อมาคือพระครูพิศาลวุฒิธรรม หรือพระมหาเวก วัดดาวดึงษาราม กรุงเทพฯ) โดยเด็กชายเวกเป็นน้องชายของมหาวีระ หรือหลวงปู่ฤาษีลิงดำ เด็กจากบ้านสาลีเหมือนกัน




โดยสมาชิก ชื่อ สุมาเอี้ยง มังกร ศรีวิชัย
จากกลุ่ม พระเครื่องเมืองสุพรรณ(ทีมงานร้านพระเครื่องพุทธรักษา ห้างโรบินสันสุพรรณบุรี)