พระนางบ่อสวก พิมพ์ใบตัน ที่สุดของพระกรุเนื้อดินอันดับ1

พระนางบ่อสวก พิมพ์ใบตัน ที่สุดของพระกรุเนื้อดินอันดับ1 ของจังหวัดน่าน ….. โคตรหายาก และโคตรอยากมีไว้ครอบครอง ในใจของคนน่านหลายคน ….. องค์นี่ ป้าข้างบ้านให้มา ครับ เจ้านายๆๆ

ประวัติกรุบ่อสวก
หมู่บ้านบ่อสวกถือได้ว่าเป็นแหล่งเครื่องปั้นดินเผาโบราณเมืองน่าน พื้นที่ตั้งอยู่ตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ห่างจากตัวเมืองน่านประมาณ ๑๐ กม. สามารถเดินทางโดยรถยนต์เข้าสู่แหล่งเตาเผาได้ ๒ ทาง คือ ทางถนนสายน่าน – พะเยา แยกสายบ้านปางค่า – น้ำปั้ว และทางถนนสายแพร่ – น่าน แยกสายบ้านดู่ใต้ – ซาวหลวง
แหล่งเตาเผาโบราณบ้านบ่อสวกในอดีตคาดว่าน่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องดินเผาที่สำคัญแห่งหนึ่งในล้านนา จึงมีรูปแบบและประเภทของผลิตภัณฑ์เครื่องถ้วยชามที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งแตกต่างออกไปจากแหล่งเตาเผาอื่นที่พบเจอในดินแดนล้านนาและในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้ามากกว่าแหล่งเตาเผาอื่นในยุคร่วมสมัยเดียวกัน ดังนั้นผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาของแหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวกจึงแพร่หลายออกไป ยังท้องถิ่นที่อื่นในล้านนา
จากการเล่าสืบต่อกันมา ของชาวบ้านในบริเวณนี้ เกี่ยวกับความเป็นมาของเตาเผาโบราณนี้ พบว่าบริเวณนี้สมัยก่อน เป็นพื้นที่ ที่อาศัยโดยชาวจีนฮ่อ ที่อพยพมาจากเมืองจีน ซึ่งมีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกับการทำเครื่องปั้นดินเผา จึงทำให้เมื่ออพยพมาในบริเวณนี้ ประกอบกับภูมิประเทศที่สมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำและดินจึงทำให้ที่นี้กลายเป็น แหล่งเตาเผาที่ผลิตเครื่องถ้วยชามที่สำคัญแห่งหนึ่งในล้านนา
สำหรับการขุดค้นพบพระกรุบ่อสวกนั้น แตกกรุขึ้นมาด้วยความบังเอิญ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2498 โดยชาวบ้านบริเวณนั้น ได้ทำการแผ้วถางพื้นที่เพื่อที่จะทำการปลูกพืชผลทางการเกษตร โดยที่ไม่ทราบว่าพื้นที่นี้เคยเป็นวัดหรือศาสนสถานมาก่อน และได้ทำการจุดไฟเผาเศษไม้ เศษหญ้า ที่บริเวณเนินดินแห่งหนึ่งแต่ปรากฏว่าจุดไฟเท่าไหร่ก็ไม่ติด เมื่อย้ายบริเวณไปจุดไฟที่อื่นปรากฏว่าติด เป็นที่อัศจรรย์ใจ จึงคาดว่าบริเวณใต้พื้นดินนั่นหน้าจะมีสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ฝังไว้อยู่ จึงได้ทำการขุดเนินดินบริเวณนั้นพบแผ่นอิฐขนาดใหญ่ เมื่อยกแผ่นอิฐออกปรากฏพบพระพิมพ์ดินเผาวางเรียงอยู่ในกรุเป็นจำนวนมาก ซึ่งพระที่พบเจอนั่นมีลักษณะเนื้อพระเหมือนกันกับเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดค้นพบในบริเวณใกล้เคียงนั่นคือพระเนื้อดินจะเป็นพระที่มีความแข็งแกร่งของเนื้อพระ และมีน้ำเคลือบตามผิวพระ (สันนิษฐานว่าพระอาจจะเผาในเตาเผาเครื่องถ้วยชาม) พระที่ขุดได้มีทั้งเนื้อดิน ชิน แต่เนื้อดินจะมีปริมาณมากกว่า เมื่อข่าวคราวการขุดเจอพระแพร่กระจายออกไปจึงมีชาวบ้านมาขุดค้น พระแทบทุกวัน เป็นเดือน เป็นปี จนพระหมดลงในที่สุด ปัจจุบันพื้นที่นี้ไม่หลงเหลือเค้าโครงความเป็นกรุพระและโบราณสถานให้เห็นแล้ว พระกรุที่ได้แบ่งออกเป็น 4 พิมพ์หลัก คือ

1.นางพญาบ่อสวก พิมพ์ปลายตัด พุทธลักษณะนั่งปางมารวิชัย บนฐานสองชั้น คล้ายพระผงสุพรรณ

2.นางพญาบ่อสวก พิมพ์ใบตัน(ใบพุทธา) พุทธลักษณะเดียวกันกับพิมพ์ปลายตัดแต่พระมีปีกกว้างเหมือนใบพุทธา(ใบตัน)และในบางองค์ตัดปีกสูงขึ้นด้านบนเรียกเป็นพิมพ์แหลมลี่

3.นางพญาบ่อสวก พิมพ์ใหญ่(ขี้ปุ๋ม) พุทธลักษณะนั่งมารวิชัย พระอุทร(ท้อง)แลดูใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียกว่าพิมพ์ “ขี้ปุ๋ม”(ภาษาเหนือ “ลงพุง”)

4.พระลีลาบ่อสวก เป็นพระปางลีลา ยกพระหัตถ์ซ้ายแนบพระอุระ พระขวาเขย่งก้าว พิมพ์นี้มีสองลักษณะคือ พิมพ์มีขอบ(ฮางยา) และพิมพ์ไม่มีขอบ(ลีลา)

สจ.บอม เมืองน่าน






โดยสมาชิก ชื่อ Chalermphon Arnupapbanjerd
จากกลุ่ม อมตพระกรุ