เหรียญไข่เล็กลงยาหลวงพ่อแดงวัดใหญ่

พระครูธรรมสารอภินัน

เหรียญไข่เล็กลงยาหลวงพ่อแดงวัดใหญ่

พระครูธรรมสารอภินันท์ (แดง ธมฺมปญฺโญ)
วัดใหญ่อินทาราม ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

สำหรับหลวงพ่อแดง ธมฺมปญฺโญ ชุดนิยมนี้ จัดเป็น ‘เหรียญชุดรุ่นแรก’ ซึ่งได้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เนื่องในโอกาสเดินทางไปทอดกฐิน ณ วัดกำแพง เมืองพระตะบอง ซึ่งเป็นถิ่นฐานกำเนิดของท่าน
โดยได้นำไปแจกสมนาคุณแก่บรรดาผู้ร่วมสมทบทำบุญทอดกฐินในครั้งนั้น นัยหนึ่งก็คือ ‘เหรียญที่ระลึก’ การทอดกฐิน ณ วัดกำแพง ในครั้งนั้น
อย่างไรก็ตาม การสร้างวัตถุมงคลในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ นอกเหนือจากเหรียญพิมพ์นิยม ซึ่งเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แล้ว ยังมีการสร้างวัตถุมงคลในคราวเดียวกัน คือ
– เหรียญปั๊มรูปไข่เล็ก เนื้อเงินลงยา
– เหรียญปั๊มรูปเหมือนใบสาเก
– แหนบ
– แหวน
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ในความนิยมของนักสะสมในแต่ละพิมพ์ทรงนั้น อาจขึ้นอยู่กับการเป็น ‘รุ่นแรก’ หรือเป็นรุ่นที่ ‘มีประสบการณ์’ เป็นที่ฮือฮา แต่ที่มองข้ามไปไม่ได้อีกเช่นกัน คือ ความสวยงามของ ‘พิมพ์ทรง’
กล่าวได้ว่า เหรียญปั๊มรูปเหมือนพิมพ์นิยมหลวงพ่อแดง หรือเหรียญปั๊มรูปไข่ใหญ่ นอกจากจะเป็นเหรียญ แต่มีการสร้างหลายพิมพ์ หากมีความสวยงามกว่าในพิมพ์อื่น อีกทั้งเป็นที่ต้องการของนักสะสมมากกว่าพิมพือื่นที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน จึงเป็น ‘พิมพ์นิยม’ ของรุ่นไป
เสียดายแต่ว่า เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อแดงพิมพ์นิยมนี้ ไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดไว้บนเหรียญเลย อันเป็นส่วนหนึ่งทำให้นักสะสมพระเครื่องที่ไม่รู้จักมองข้ามไปได้ เนื่องเพราะไม่ทราบว่าเป็นผู้ใดสร้าง นอกจากจะพบว่า เป็นเหรียญที่มีความเก่ามากอีกเหรียญหนึ่ง จัดเป็น ‘เหรียยเก่า’
ที่สำคัญเป็นเหรียยหายาก และเป็นที่แสวงหาของคนเมืองชลบุรีโดยเฉพาะ
หันมามองเหรียญปั๊มรูปเหมือนพิมพ์นิยมของหลวงพ่อแดง วัดใหญ่อินทาราม เหรียญนี้เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีการปั๊ม หูเชื่อม ขอบด้านหน้าเหรียญยกเป็นเส้นลวดนูนสองชั้น ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแดงหน้าต

กล่าวสำหรับปูมหลังหลวงพ่อแดง เกิดมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐ที่เมืองพระตะบอง เมื่อครั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสยาม ก่อนที่ไทยต้องยกเมืองพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐ ให้กับฝรั่งเศส เมื่อครั้งประเทศกัมพูชาตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส เพื่อแลกกับอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จังหวัดตราด และให้ฝรั่งเศสผ่อนคลายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตต่อสยาม ตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐
เป็นบุตรคนโตในจำนวน ๘ คนของ นายหยู และนางลำดวน
ได้อุปสมบท ณ วัดนะรา เมืองพระตะบอง มีพระธรรมวงศาจารย์ (คง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอุดมพฤฒาจารย์ (บัว) เป็นพระคู่สวด
เมื่อมาอยู่ศึกษาวิชากับพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ต่วน ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนาธุระ สอนวิชาด้านรุกขมูลธุดงควัตร จนเป็นที่เชี่ยวชาญดีแล้ว จึงออกธุดงควัตรมาถึงประเทศไทย และได้ธุดงค์มาถึงวัดใหญ่อินทารามขณะกำลังทรุดโทรม ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านจำพรรษาที่วัดใหญ่อินทาราม อยู่ช่วยหลวงพ่อช้าง เจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น
จนเมื่อหลวงพ่อช้างมรณภาพลง จึงได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสืบต่อในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ ‘พระครูธรรมสารอภินันท์’
ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชราเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ สิริรวมอายุได้ ๘๐ ปี พรรษาที่ ๖๐




โดยสมาชิก ชื่อ Thawee Khunnam
จากกลุ่ม เหรียญเก่ายอดนิยม