ขอ​อนุญาติ​เปิด​คับ.. ปะ​กัน​แท้
รายการ​ที่​-2​=23/9/65

ขอ​อนุญาติ​เปิด​คับ.. ปะ​กัน​แท้
รายการ​ที่​-2​=23/9/65

เหรียญ​ท่านเจ้าคุณ​ ธรรม​วงศา​จารย์​ (ลี​ จุน​ฺโท)
วัดโบสถ์​เมือง​ อดีต​เจ้าคณะ​จังหวัด​ จันทบุรี
ที่​ระลึกในงาน​พระราชทาน​เพลิงศพ​ ปีพ.ศ​ 2485
ขอบกระบอก​ ทองแดง​รม​ดำ​ พิธี​ปลุกเสกพร้อม
พระพุทธ​ชินราช​ อินโดจีน​ ณ.วัดสุทัศ​น์เทพวราราม.

*ประวัติ​ วัดโบสถ์​เมือง​ ตั้ง​อยู่​บนเนิน​สูง​ ระดับ​เดียวกัน​กับที่​ตั้ง​ ศาล​ากลางหลัง​เก่า​ บนถนนเบญ
จ​มราชูทิศ​ ติดกับแม่น้ำ​ จันทบุรี​ฝั่ง​ขวา​ สันนิษฐาน​ว่าสร้าง​เมื่อ​ปีพ.ศ​ 2295 ตั้งแต่​สมัย​กรุงศรีอยุธยา
ตอนปลาย​ โดย​สังเกต​ุจากใบเสมาหินทราย​ขาว
พระอุโบสถ​์​ และ​เจดีย์​ทรง​ลังกา​ นอกจากนี้​ยัง​มีการค้นพบ​ ทับหลัง​อันเป็น​ศิลปะ​ บาปวน​ ตอนปลาย
พ.ศ​ 1510-1630 รูป​พระอินทร์​ ทรง​ช้าง​เอราวัณ​ ในซุ้ม​เรือน​แก้ว​ และภายในวัดยัง​มีสิ่ง​ต่าง​ๆ​ น่าชมมากมาย​ เช่น​ พระอุโบสถ​์​ ศาลา​การเปรียญ​ หอสวดมนต์​ เจดีย์​ใหญ่​ บรรจุ​พระ​บรม​สารีริกธาตุ​ มีเจดีย์​เล็กล้อมรอบ​ 4​ มุม​ โรงเรียน​พระปริยัติธรรม​ ลักษณะ
เด่นของวัดโบสถ์​เมือง​ โบสถ์​เป็น​รูป​ปั้นนูน​ต่ำที่​หน้า​โบถส์ เป็น​ที่ประดิษฐาน​ของ​พระศรี​อาริ​ยะ​เนื้อ​เงิน
เป็น​หอกลอง​เก่า​ มีเจดีย์​สูง​ที่สุด​ใน​จังหวัด​ จันทบุรี
ด้านหลัง​ของ​วัดสามารถ​เดิน​ลงไปถึง​ ย่านท่าหลวง
ซึ่ง​เป็น​ชุมชน​เก่าแก่​ ริม​แม่น้ำ​จันทร​บูร​ มีอายุ​ราว
300​ ปี​ ตั้งแต่​สมัย​สมเด็จ​พระ​นารายณ์​มหา​ราช​ ปัจจุบัน​มีการส่​ง​เสริม​ และพัฒ​นา​ริม​นำ้​ จันทร​บูร
เป็น​แหล่งอนุรักษ์​ ศิลปะ​วัฒนธรรม​ และแหล่ง​ท่องเที่ยว​เชิง​วัฒนธรรม​ ถนนริมน้ำ​ในอดีต​ เคย​เป็น​ย่าน​การค้า​ดั้งเดิม​ มี​ร้าน​ค้าเก่าแก่​ บ้าน​เรือนเก่า​ ที่​ยังมีความงดงาม​ ควรค่าแก่​การ​อนุรักษ์​ไว้.

*ในหนังสือทำเนียบสมณะศักดิ์​ ราชกิจจานุเบกษา
กระทรวง​ธรรม​การ​ แจ้งว่า​”พระ​ครู​ธรรม​วงศา​จารย์
วิมลญาณ​สมาโยคฯ”นามเดิม​ (ลี)​ ฉายา จุน​ฺโท
ตำแหน่ง​ สังฆวาหะ​ เจ้าอาวาส​วัด โ​บถ​ส์เมือง​ จังหวัด​จันทบุรี​ และ​ได้​สืบ​ค้นตามหา​บรรทึกต่าง​ๆ​ พบในฐานรูปหล่อ​สลักไว้​ว่า​”เจ้า​คุณธรรม​วงศา​จารย์​(ลี)” ชะตาเมื่อปีพ.ศ​ 2427 มรณะ​ภาพ​ปีพ.ศ​ 2484​ สิริรวมอายุ
ได้​ 57 ปี​ ถือเป็น​เป็น​เจ้าคุณ​ ที่มีอายุ​น้อย​ ที่​สุดใน
ประวัติ​ศาสตร์​ เมือง​จันทบุรี.

*ในยุค​ของสงครามโลก​ครั้ง​ที่​ 2​ หรือสงคราม​มหาเอเชีย​บูรพา​ เดิมประเทศไทย​เป็น​ประเทศ​ ที่วางตัวเป็นกลาง​ จนกระทั่งถูก​ ญี่ปุ่น​บุกยึดครอง​ ในวันที่
8​ ธันวาคม​ พ.ศ​ 2484​ เวลาประมาณ​ 02.00 น.
กอง​ทัพญี่ปุ่น​ ได้ยกพลขึ้น​บก​ ทางภาคใต้​และ​ภาค​ตะวันออก​ ของ​ไทย​ และได้ปะทะ​กับทหารไทย​ แล
ยุวชน​ ก่อนรัฐบาล​จะมี​คำสั่ง​หยุดยิงเมื่อเวลา​ 11.00
นาฬิกา​ หลังจากนั้น​มีการทำสนธิสัญญาทหาร​ ระหว่าง​ 2​ ประเทศ​ ในช่วง​แรกของสงคราม​ ญี่ปุ่น
กดดัน​ให้รัฐบาล​ไทย​ เปิด​ทางให้ทหาร​ญี่ปุ่น​ เดินทัพ
ผ่านไปยัง​พม่า​ และ​บริติชมาลายา​ ซึ่ง​รัฐบาล​ไทย
นำโดย​ จอมพล​ ป​ พิบูลย์​สงคราม​ ยิมยอมเนื่อง​จากทางญี่ปุ่น​ ให้สัญญา​ว่า​ จะมอบดินแดง​เป็น​บาง
ส่วน​ ฝั่งซ้า​ย​ ริมแม่น้ำ​โขง​ ที่เคยเสียให้​ ฝรั่งเศส
คืน​ *ในช่วง​ยุคของ​สงคราม​นั้น​ ท่านเจ้าคุณ​ธรรม​วงศา​จารย์​ (ลี​ จุ​นฺโท)​ มีความห่วงใย​ในลูกศิษย์​ และชาวจันทบุรี​ จึงดำริ​ ว่าอยาก​จะ​สร้าง​เหรียญ​ ให้​ลูก​ศิษย์​ได้​มี​ ของดีคุ้มครองภัยยามบ้านเมือง​เกิด​ สถานการณ์​เช่นนี้​ แต่ด้วยทางจังหวัด​ จันทบุรี​ อยู่​ห่าง​ไกลกรุงเทพ​ฯ​ มาก​ การ​เดินทาง​ระหว่าง​ช่วง​ สงคราม​มีความเสี่ยง​สูง​ ความ​คิดในการจัดสร้างเหรียญ​ จึงมิได้​มีการดำเนิ​น​การสร้างในปีพ.ศ​ 2484​ ซึ่ง​ขณะนั้น​ ท่าน​เจ้าคุณ​ ยังมีชีวิต​อยู่.

*ท่านเจ้า​คุณ​ ธรรม​วงศา​จารย์​ (ลี​ จุ​นฺโท​)​ องค์​นี้
ขณะที่​ เป็น​เจ้าคณะ​จังหวัด​จันทบุรี​ ชาว​เมือง​จันทบุรี
เคารพ​เลื่อมใส​ ท่าน​มาก​ แต่ท่านได้มรณะ​ภาพ​ ตอน​ที่เกิดสงคราม​พอดี​ เมื่อ​เป็น​ดังนั้น​ ทางสรีระร่างกาย​ของ​ท่าน​เจ้าคุณ​ ยัง​ไม่​ถึง​กำหนด​ วันพระราชทาน​เพลิง​พระ​ศพ​ จึงทำให้​ชาวเมือง​ จันทบุรี​ มาอาศัย​วัดเป็น​ที่พึ่ง​ หลบภัย​สงคราม​ ด้วยต่าง​ก็​เชื่อ​ว่า​ บารมี​ของ​ท่าน​เจ้าคุณ​ ธรรม​วงศา​จารย์​ ​(ลี​ จุ​นฺโท​)​ จะช่วย​ปกป้อง​คุ้มครอง​ภยันตราย​ ต่าง​ๆ​ได้​ บรรดาชาว​เมือง​จันทบุรี​ มีสิ่ง​ที่​ยึด​เหนี่ยว​ จิตใจ​คือ​ ระลึก​ถึง​องค์
สมเด็จ​พระ​เจ้า​ตากสิน​มหาราช​ กับวัดโบสถ์​เมือง
ทั้ง​ 2​ สถานที่​นี้จึง​มี​คนหลั่งไหล​ ไปขอพึ่ง​ บารมี​กัน​มาก​ เฉพาะ​ที่​ วัด​โบถส์เมือง​ ประชาชน​ไปกันมากเพื่อขอพึ่ง​ บุญ​บารมี​ดวงวิญญาณ​ ของท่านเจ้า​คุณ
ธรรม​วงศา​จารย์​ (ลี​ จุ​นฺโท​)​ ให้ช่วยขจัดคุ้มครอง​ภัย
ต่าง​ๆ​ นานับประการ.

*เนื่อง​ด้ว​ยในปีพ.ศ​ 2485​ ผู้ว่า​ราช​การเมือง​จังหวัด​จันทบุรี​ได้​ เล็งเห็น​ว่า​สงคราม​มหา​เอเชีย​บูรพา​หรือ​สงครามโลก​ครั้ง​ที่​ 2​ จะ​ยืดเยื้อ​ไม่​ยุติ​ลง​ง่ายๆ​ประกอบ​กับ​ทาง​เมือง​จันทบุรี​ ได้มี​พิธี​พระราชทาน​เพลิงศพ​ของท่าน​เจ้า​คุณ​พระ​ ธรรม​วงศา​จารย์
(ลี​ จุ​นฺโท​)​ ซึ่ง​เป็น​ที่​เคารพ​รัก​นับถือ​ของ​ชาว​ จังหวัด
จันทบุรี​ เพื่อ​เป็น​การระลึก​ ถึงพระเดชพระคุณ​ท่านเจ้าคุณ​พระ​ ธรรม​วงศา​จารย์​ จึง​ได้​จัด​สร้าง​เหรียญ​ที่ระลึก​ รุ่น​นี้​ขึ้น​ เพื่อแจกจ่าย​ ลูกศิษย์​ และ​ชาวจังหวัด​จันทบุรี​ ไว้เป็น​ขวัญ​กำลังใจ​ ในยามบ้านเมือง​เกิด​ภัย​สงคราม​ จะได้​ช่วย​ป้องกัน​คุ้มครอง​ภัยได้​ จำนวน​การ​สร้าง​ 2000​ เหรียญ​ เท่าที่พบมีเนื้อ​ ทองแดง​กะไหล่​ทอง​ พบเจอน้อย​ เนื้อ​ทองแดง​ และ​ทองแดง​รม​ดำ​ จะพบเห็นมากหน่อย​ อีกทั้ง​ยังนำเหรียญ​เจ้าคุณ​พระ​ ธรรม​วงศา​จารย์​ (ลี​ จุ​นฺโท​)​ รุ่น​นี้​ ฝากนำเข้า
พิธี​พุทธาภิเษก​ ณ.วัด​สุทัศ​น​์เทพ​ว​รา​ราม​ กรุงเทพ​ฯ
พร้อม​กับพระ​หล่อ​ พระพุทธ​ชินราช​ รุ่น​ อินโดจีน
ปีพ.ศ​ 2485​ จากนั้น​จึง​นำกลับมา​แจก​ ประชาชน​ชาวจังหวัด​จันทบุรี​ เพื่อ​เป็นขวัญ​กำลังใจ​แก่​ชาวจันทบุรี.

**พิธี​ปลุกเสก​พระพุทธ​ชินราช​รุ่น​ อินโดจีน​ ปีพ.ศ​2485​ นั้นเป็​น​(พิธี​ที่ยิ่งใหญ่​ สุดขลัง)​ ปลุกเสกเพื่อ​แจกจ่าย​ทหาร​ ออกไปรบ​ หรือให้​ประชาชน​ ไว้คุ้มครอง​ภัย​ยามสงคราม​ ช่วงสงคราม​กำลัง​ครุกรุ่น
จากเหตุ​พิพาทดินแดนกัน​ ทำให้​ประเทศไทย​ต้อง​ประกาศ​ศึกสงคราม​กับฝรั่งเศส​ นักล่าอณานิคม
จากสงคราม​ในครั้งนั้น​ ทำให้ทหารไทย​ได้รับ​สมญานาม​ว่า​ “ทหาร​ผี” โดย​มีผู้รู้เห็น​ได้​เล่า​ว่า​ ทหารไทย
ถูก​ยิง​เข้า​เต็ม​อก​ อย่าง​จัง​แทนที่จะ​ตาย​กลับ​ไม่​เป็น
ไร​ แค่​ล้ม​กลิ้ง​ ล้มหงาย​ แล้วลุกขึ้น​มา​ต่อสู้​ได้​อีก
จนทำให้​ทหาร​ฝ่าย​ตรงข้าม​ หวาดผวา​จนต้อง​ตั้ง
ฉายา​ ทหารไทย​ว่า​ “ทหาร​ผี​ ฆ่า​กี่​ทีก็ไม่ตาย”

**พิธี​มหา​พุทธาภิเษก​ ณ.วัดสุทัศ​น์เทพวราราม
เมื่อวันเสาร์​ขึ้น​ 5​ ค่ำ​ เดือน​ 5​ ปีมะเมีย​ ตรงกับวันที่
21​ มีนาคม​ พ.ศ​ 2485​ มี​ สมเด็จ​พระสังฆราช
(แพ​ ติ​สส​เท​โว​)​ เสด็จ​เป็น​องค์​ประธาน​ ในพิธ​ี​ และ
ยังได้เชิญ​ พระเกจิ​คณาจารย์​ ผู้​เรืองเวทย์​ แก่กล้า
วิชาอาคม​ 108​ รูปในสมัยนั้นมา​ร่วม​พิธี​อธิฐาน​จิต​ปลุกเสกวัตถุมงคล​ เพื่อ​แจกจ่าย​ ทหาร​ไปร่วมรบสงครามโดยเฉพาะ​ ให้ผล​พุทธ​คุณ​ ทาง​แคล้วคลาด​คงกระพันชาตรี​ เป็น​ยอด.

#รายนามพระเกจิคณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสก #

1/ สมเด็จพระสังฆราช (แพ)​ วัดสุทัศน์เทพวราราม
กรุงเทพ​ฯ เป็นองค์ประธานในพิธี
2/ ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ วัดสุทัศ​น์เทพวราราม
กรุงเทพ​ฯ​ เป็นผู้ดำเนินการควบคุมการจัดสร้าง
3/ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา​ จ.ปราจีนบุรี​
4/ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก​ จ.อยุธยา​
5/ หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆษิตาราม​ จ.ธนบุรี​
6/ หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู​ จ.ลพบุรี​
7/ หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว​ จ.ฉะเชิงเทรา​
8/ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง​ จ.เพชรบุรี​
9/ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง​ จ.นครปฐม​
10/ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว​ จ.สมุทร​ปราการ​
11/ หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด​ จ.ธนบุรี​
12/ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ​ จ.สมุทร​สาคร​
13/ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง​ จ.นนทบุรี​
14/ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ​ จ.ชลบุรี​
15/ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา​ จ.สุพรรณบุรี​
16/ หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ​ จ.อยุธยา​
17/ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก​ จ.ฉะเชิงเทรา​
18/ พระ​พุท​ธโฆษาจารย์​ เจริญ​ วัดเทพศิรินทร์
กรุงเทพ​ฯ
19/ หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่​ กรุงเทพ​ฯ
20/ สมเด็จ​พระมหาวีระวงศ์​ติสโส​ อ้วน วัดบรมนิวาส
กรุงเทพ​ฯ
21/ สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ​วิหาร​กรุงเทพ​ฯ
22/ สมเด็จ​พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์คาราม
กรุงเทพ​ฯ
23/ พระครู​ปลัด​ เส่ง​ วัดกัลยาณมิตร​ จ.ธนบุรี​
24/ หลวงพ่อเปลี่ยน วัดชัยชุมพล​ (วัดใต้​)​จ.กาญจนบุรี​
25/ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ​ จ.อยุธยา​
26/ หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค จ.อยุธยา​
27/ หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ​ จ.อยุธยา​
28/ หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้​ จ.นนทบุรี​
29/ หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี​ จ.สมุทร​สาคร​
30/ หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง​ จ.นนทบุรี​
31/ สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ​ กรุงเทพ​ฯ
32/ หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม​ จ.สมุทร​สาคร​
33/ หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม​ กรุงเทพ​ฯ
34/ หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ​ กรุงเทพ​ฯ
35/ หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน​ กรุงเทพ​ฯ
36/ หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน​ กรุงเทพ​ฯ
37/ หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด(โพธิ์​ทอง)​ จ.ธนบุรี​
38/หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ​ จ.พิษณุโลก
39/ หลวงพ่อสอน วัดพลับ​ จ.ธนบุรี​
40/ หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์​ กรุงเทพ​ฯ
41/ หลวงพ่อบัว วัดอรุณราช​ว​รา​ราม​ จ.ธนบุรี​
42/ หลวงพ่อนาค วัดอรุณราช​ว​รา​ราม​ จ.ธนบุรี​
43/ หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง​ ​(วัดพระบรมธาตุ​)​จ.กำแพงเพชร​
44/ หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน​ จ.นครปฐม​
45/ หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ​ กรุงเทพ​ฯ
46/ หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ​ กรุงเทพ​ฯ
47/ หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ​ กรุงเทพ​ฯ
48/ พระครู​อาคมสุนทร​ มา วัดราษฎร์บูรณะ​ กรุงเทพ​ฯ
49/ หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม​ (วัดเหนือ)​จ.กาญจนบุรี​
50/เจ้าคุณ​ประหยัด วัดสุทัศน์​เทพวราราม​ กรุงเทพ​ฯ
51/ หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
52/ หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา​ จ.ธนบุรี​
53/ หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก​ จ.ประจวบคีรีขันธ์​
54/ หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน​ จ.ชุมพร​
55/ หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ​ จ.พิจิตร​
56/ หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน​ จ.ธนบุรี​
57/ หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส​ จ.สิงห์​บุรี​
58/ หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง​ จ.ลพบุรี​
59/ หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน​ จ.สมุทร​สาคร​
60/ หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม​ จ.ลพบุรี​
61/ หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม​ จ.ปราจีนบุรี​
62/ หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง​ จ.พิจิตร​
63/ หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก​ จ.ระยอง​
64/ หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ​ จ.แพร่​
65/ หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง​ จ.ราชบุรี​
66/ หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ​ จ.ปทุมธานี​
67/ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว​ จ.กาญจนบุรี​
68/ หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง​ จ.อยุธยา​
69/ หลวงพ่อปลื้ม วัดอู่​ทองปากคลองมะขามเฒ่า​ จ.ชัยนาท​
70/ หลวงพ่อแนบ วัดระฆังโฆษิตาราม​ จ.ธนบุรี​
71/ หลวงพ่อเลียบ วัดเลา​ จ.ธนบุรี​
72/ หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง​ กรุงเทพ​ฯ
73/ หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า​ จ.กาญจนบุรี​
74/ หลวงปู่เผือก วัดโมลี​ จ.นนทบุรี​
75/ หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ​วิหาร​ กรุงเทพ​ฯ
76/ หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม​ จ.สมุทร​สงคราม​
77/ หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม​ จ.สมุทร​สงคราม​
78/ หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์​ จ.สมุทร​สงคราม​
79/ หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว​ จ.สมุทร​สงคราม​
80/ หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง​ จ.อยุธยา​
81/ หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง​ จ.นคร​สวรร​ค้​
82/ หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร​ จ.ธนบุรี​
83/ หลวงพ่อศรี วัดพลับ​ จ.ธนบุรี​
84/ พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ​ จ.ธนบุรี​
85/ หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก​ จ.ธนบุรี​
86/ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ​ จ.สมุทร​สงคราม​
87/ หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา​ กรุงเทพ​ฯ
88/ หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ​ กรุงเทพ​ฯ
89/ หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม​ กรุงเทพ​ฯ
90/ หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคาราม​ กรุงเทพ​ฯ
91/หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม​ จ.สมุทร​สงคราม​
92/ หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์​ จ.อยุธยา​
93/ หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง​ จ.ลพบุรี​
94/ หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม​ จ.ชัยนาท​
95/ หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง​ จ.โคราช
96/ หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง​ จ.สมุทร​ปราการ​
97/ หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร​ จ.โคราช
98/ หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร​ กรุงเทพ​ฯ
99/ หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ​ กรุงเทพ​ฯ
100/ หลวงพ่อบุตร วัดใหญ่​บางปลากด​ จ.สมุทร​ปราการ​
101/ หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย​ จ.โคราช
102/ หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ​ จ.สมุทร​ปราการ​
103/ หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ​ กรุงเทพ​ฯ
104/ พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง​ จ.ธนบุรี​
105/ พระอธิการชัย วัดเปรมประชา​ จ.ปทุมธานี​
106/ หลวงปู่รอด วัดเกริ่น​ จ.ปทุมธานี​
107/ หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ​ จ.สมุทร​ปราการ​
108/หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)

* นับได้ว่าเป็นเหรียญ​ที่น่าแขวน​ บูชา​อีกวัดหนึ่ง
ใช้แทนพระพุทธ​ชินราช​ “รุ่น​อินโดจีน​” ได้อย่างสบายเพราะ​เจตนา​การ​สร้าง​ บริสุทธิ์​ เพื่อสาธารณะ​เหรียญ​นี้เป็น​เหรียญ​เก่า​ อันดับ​ต้น​ๆของเมืองจันทบุรี
หายากมากๆกับจำนวน​การ​สร้างที่​น้อย​ 2000​เหรียญ
ควรค่าแก่​การอนุรักษ์​ บูชา​เป็น​อย่างยิ่ง.







โดยสมาชิก ชื่อ สายลม ชมดาว
จากกลุ่ม เหรียญเก่ายอดนิยม