#พระรอดมหาวัน
#ประวัติพระรอดมหาวัน
#วิธีดูพระรอดมหาวัน

#พระรอดมหาวัน
#ประวัติพระรอดมหาวัน
#วิธีดูพระรอดมหาวัน
#พระรอดมหาวันเนื้อหินอัคนีเผา

พระรอดมีกรุเดียว ที่วัดมหาวัน เท่านั้น มีเนื้อแบบเดียว คือเนื้อหินอัคนี(หินภูเขาไฟ) เผา มีพัฒนาการที่ผิว 4 สี

มีหลากหลายพิมพ์ หลากขนาด มากกว่าที่มีการเขียนกำหนดไว้ 5 พิมพ์

พระนางจามเทวีไม่ได้เป็นผู้สร้างพระรอดมหาวัน มีการสร้างหลังจากยุคพระนางจามเทวีไม่น้อยกว่า 200 ปี (ประมาณ พ.ศ. 1400-1500) อายุจริงๆ น่าจะประมาณ 1000 ปี เท่านั้น

จากการค้นคว้า ทั้งทางมวลสารศาสตร์ พุทธศิลป์ประวัติศาสตร์ และข้อมูลทางโบราณคดี ยืนยันว่ายุคของพระนางจามเทวี (พ.ศ. 1204) เกิดก่อนยุคการสร้างพระคง พระเปิม พระรอด อย่างน้อย 200 ปี ยุคการสร้างพระรอด(เนื้อหินเผา) เกิดหลังจากพระคง (กลุ่มพระดินดิบ) เกือบ 100 ปี

ท่านที่เสาะแสวงหาพระรอดมหาวันแท้ ควรอิงตามหลักฐานทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พุทธศาสตร์ และ โบราณคดี ตัดสินความแท้ของพระรอด โดยใช้หลักพัฒนาการของหินเก่าๆ แทน ดินเผา หรือ ดินดิบ

พระรอดมหาวันเนื้อหินอัคนีเผาเป็นพระเนื้อที่ดูง่ายที่สุด วัสดุเนื้อครูก็หาง่ายพอสมควร เพราะต้นแบบที่เรียนรู้ได้ คือ ก้อนหินเก่าๆ ที่ไหนก็พอหาได้ แม้แต่ในเมือง กทม. ตามปัมป์น้ำมันใหญ่ๆ ก็มักมีคนนำไปประดับต้นไม้ สวนหย่อม กระถางต้นไม้ อ่างปลา ฯลฯ

ด้วยลักษณะความเป็นเนื้อหินเก่า ผิวหินเก่า ทำให้ทำเลียนแบบได้ยากมากๆ เพราะไม่สามารถทำให้เกิดผิวเก่าได้ แต่งอย่างไรก็ไม่เหมือน เพราะทั้งงอก ทั้งกร่อน แบบละเอียด ทับซ้อน ซับซ้อน เป็นเวลากว่า 1000 ปี

การงอกของผิวหินเก่า อายุประมาณ 1000 ปี ทุกชนิด ส่วนใหญ่จะมี 4 สี แทรกซ้อนกัน ละเอียดยิบ ในสัดส่วนที่ไม่แน่นอน คือ สีขาว ของ ซิลิก้า หรือ เกล็ดแก้ว หรือชื่อทางเคมี ซิลิกอนไดออกไซด์ SiO2
* สีเหลือง ของ เหล็กซัลไฟด์ FeS
* สีแดง ของ ทองแดงซัลไฟด์ CuS
* สีดำ ของ แมงกานีสซัลไฟด์ MnS
ลักษณะการงอกของผิวก้อนหินเก่าๆ เมื่อเริ่มส่องจากก้อนหินธรรมชาติ จะเห็นความละเอียด
โทนสีการเรียงตัว การกระจายตัวแบบเป็นธรรมชาติ ที่ไม่สามารถเร่ง หรือ ทำเลียนแบบได้

แม้จะนำหินอัคนีแท้ๆมาแกะ ก็ต้องรอเวลาอย่างน้อย นานอีกหลายร้อยปี จึงจะเกิดการงอกในลักษณะดังกล่าวได้ จึงไม่สามารถลอกเลียนแบบพัฒนาการในเนื้อหินผ่านกาลเวลาตามธรรมชาติได้อย่างง่ายๆ (ดูภาพประกอบ)

จากผลการศึกษา และประเมินทางหลักการทางวิทยาศาสตร์ และธรรมชาติวิทยา ถึงความน่าจะเป็นของวิธีการสร้างพระรอดดินเผา ได้ความว่า
การใช้หิน และหินอัคนีมาสร้างพระพุทธรูป ถือเป็นระดับความคิด และเทคนิคทางวัสดุศาสตร์ขั้นสูง ที่นำสิ่งที่สะอาดที่สุดในโลก (หินอัคนี) มาสร้างสิ่งสักการะบูชา ที่เกินจินตนาการของคนธรรมดาทั่วไป
การเลือกหินอัคนีมาใช้น่าจะเลือกตามความชอบ และความสวยงามตามใจของผู้สร้าง ที่พบว่ามีสีเนื้อหินหลากหลายมาก คือ ขาว (กลุ่มหินไรโอไรท์) แดง (กลุ่มหินแร่ ชาลโคไซต์ ชาลโคไพไรท์) เขียว (กลุ่มหิน แอนดีไซต์) ดำ (กลุ่มหินบาซอลต์) ที่มีทั้งสีเดียวๆ และสีผสม ไม่แน่นอน กลายเป็นเนื้อพระรอดสีต่างๆ แทบไม่ซ้ำกันเลย

การนำหินต่างๆมาบดแบบละเอียดมากจนเกิดความเหนียว (เมื่อมีความชื้น) แบบเดียวกับการนวดดิน ในระบบเครื่องปั้นดินเผา ก็เป็นองค์ความรู้สำคัญในทางวัสดุศาสตร์ ที่ช่วยให้สามารถปั้นพระรอดจากหินบดละเอียดได้

ตามหลักฐานมีการนำผงอัญมณีชนิดต่างๆมาผสมกับเนื้อหินบด ก่อนการปั้นเป็นองค์พระ

เมื่อปล่อยให้แห้งแล้ว ก็น่าจะนำไปเผาที่อุณหภูมิสูงสุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้เนื้อหินหลอมละลายมาเกาะกันเป็นก้อนหินอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ไม่ร้อนพอที่จะทำให้หินเดือดเป็นฟองได้ พระรอดจึงไม่มีเนื้อส่วนใดเป็นฟอง

แม่พิมพ์ที่ใช้กดพิมพ์พระรอด น่าจะเปลี่ยนบ่อย เพราะมีพิมพ์ทรงที่หลากหลายมาก จนนับไม่ถ้วน จึงไม่สามารถกำหนดจำนวนพิมพ์ได้ แบบเดียวกับการสร้างพระเครื่องทั่วไป แม้มีการกำหนด ก็จะเพี้ยนและเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามความเป็นจริงของการสร้าง
เมื่อมีการเก็บไว้นานๆ ก็จะมีผิวสึกกร่อน และงอกแบบเดียวกับก้อนหินทั่วไป จึงสามารถใช้ก้อนหินทั่วไปเป็นวัสดุเนื้อครู ดูพระรอดมหาวันได้อย่างสบายๆ

นี่คือผลของการศึกษา ค้นคว้าทั้งทางวิชาการ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และทางธรรมชาติในทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง และทำให้ได้ข้อมูลเพื่อการตัดสินพระรอดดังที่กล่าวมา

#ธรรมรัตนะพระเครื่อง พุทธศาสตร์พระเครื่องตามหลักวิทยาศาสตร์และธรรมชาติวิทยา







โดยสมาชิก ชื่อ Supinya Kusunoki
จากกลุ่ม ชมรมผู้นิยมพระเครื่องเบญจภาคี