เรื่องนี้เป็นข้อสันนิษฐานของผู้เขียน พี่ๆไปต่อยอด หาพระ

เรื่องนี้เป็นข้อสันนิษฐานของผู้เขียน พี่ๆไปต่อยอด หาพระมาศึกษาดูครับ จริงเท็จก็แล้วแต่ดุลพินิจของแต่ละคนนะครับ

พระเนื้อผงใบลานโบราณและเนื้อผงยาชุดนี้

ตามที่ผู้เขียนได้สืบค้นประวัติ และหาข้อมูลจากคำบอกเล่า ผู้สร้างพระชุดนี้ คือพระราชวิสูตรวิสุทธิรักษ์ (เชย บุนนาค) ท่านเชย บุนนาค เป็นบุตรของเจ้าพระยาสุรพันธิ์พิสุทธ์(เทศ บุนนาค) ซึ่งมีตำแหน่งเป็นพระยานั่งเมืองเพชรบุรี ครอบครับท่านมีฐานะค่อนข้างดี ท่านได้เดินทางไปศึกษาวิชาแขนงต่างๆ ที่ยุโรปในปี พศ 2420 และได้กลับมารับราชการที่กรมพระคลัง เท่าที่สืบค้นข้อมลู พระชุดนี้เริ่มสร้างในราว ปี พศ2472 ซึ่งมีหลักฐานชัดเจน จากร่องรอยการเขียน หลังองค์พระ และมีชื่อของท่านปรากฎอยู่บางส่วน สันนิษฐานว่า พระจัดสร้างในช่วง ปลายอายุของท่าน เพื่อสืบสาน ทำนุบำรุงต่อพุทธศาสนา
พระไม่ได้สร้างในคราวเดียวกัน แต่มีแม่พิมพ์ที่เป็นแนวรูปแบบศิลปะเชิงยุโรปเดียวกัน อาจเป็นไปได้ว่า ท่านเป็นคนไห้ทำแบบแม่พิมพ์ต่างๆขึ้นมาเอง ตามศิลปะที่ท่านได้เคยพบเห็นมาเมื่อครั้งสมัยไปเรียนที่ยุโรป

ตามข้อสันนิษฐาน พระชุดนี้ มีสองส่วน

ส่วนแรกที่พบเนื้อหาพระจะมีหลายพิมพ์ทั้งหมดเป็นเนื้อผงใบลาน

ส่วนอีกชุดที่มีห่วงลวดผูกเนื้อหาจะเป็นผงว่านยา

จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างคนละวาระกันแต่นำมาถวายไว้พร้อมกัน

พระที่พบน่าจะได้รับการปลุกเสก จากหลวงพ่อไล้ วัดเขายี่สาร และก็ไล่มาถึง หลวงพ่อ ทองวัดละมุด เพราะท่านเชยนั้น เป็นบุตรเจ้าพระยานั่งเมืองเพชรบุรี ท่านต้องมีโอกาศเดินทางไปกลับบ้านและพระนคร จาก เพชรบุรี แม่กลอง กรุงเทพ ซึ่งพระที่พบก็มีเนื้อหา คล้ายคลึงกับทั้งสองหลวงพ่อที่เล่นหากันอยู่ในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั่นพระชุดที่มีการผูกลวดเหล็ก ในสมัยก่อน โลหะจำพวกลวดจะหาซื้อตามหัวเมืองต่างจังหวัดได้ยาก พระน่าจะถูกสร้างจากทางพระนครและท่านได้นำกลับไปเพชรบุรี เพื่อไห้หลวงพ่อปลุกเสกและแจกจ่ายในภายหลังก็เป็นได้

พระชุดนี้ถูกพบที่ วัดช้างอยุธยา ในคราวลื้อโบสถ์ ปี 2521 ตำแหน่งที่พบ ไม่ทราบชัดเจน แต่คงไม่ได้บรรจุกรุ อาจพบที่ฝ้าเพดาน หรือในฐานชุกชีก็เป็นได้ พระที่พบมีไม่มากนัก แต่มีหลายพิมพ์ จากการคำนวนคร่าวๆ พระไม่ได้มีออกมาพร่ำเพื่อมากมาย จึงน่าจะพบเจอไม่มากนัก คงเป็นบางส่วนที่ผู้สร้างนำมาถวาย เพื่อเป็นที่ระลึก และแจกญาติโยม แต่แจกไม่หมดหลงเหลือจึงเก็บไว้ ไม่ได้เป็นการสร้างบรรจุกรุแต่อย่างใด พระถูกวางไว้ในสถานที่น่าจะไม่ปิดทึบ ทำให้ผิวพระภายนอกปรากฏร่องรอยคราบที่เรียกว่าขี้ยุง ซึ่งเป็นธรรมชาติและองค์ประกอบหลักที่พบในพระชุดนี้ แทบจะทุกองค์ทุกพิมพ์เพราะยังพบร่องรอยดังกล่าวชี้ชัดว่า พระถูกเก็บไว้ในสภาพสงบนิ่งมาเป็นเวลานาน แหล่งที่มาก้อมีดังนี้ ซึ่งอาจไปพบเจอพระพิมพ์นี้ในสถานที่หรือแหล่งที่มาอื่นก้อจะมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป

เครดิต ขอขอบพระคุณ พี่เจ้าของพระ เจ๊ก ปากน้ำ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ







โดยสมาชิก ชื่อ เพิ่ม ยีราฟ
จากกลุ่ม ชมรมพระเนื้อผงมาตรฐานสากล