สมเด็จแผ่นดินไหว ปี 2513 หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง

จำนวน

สมเด็จแผ่นดินไหว ปี 2513 หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง

จำนวนการสร้าง

1.สมเด็จแผ่นดินไหว พิมพ์ใหญ่ จำนวน 2,000.- องค์

2.สมเด็จแผ่นดินไหว พิมพเล็กหลังเรียบ จำนวน 2,000.- องค์

3.สมเด็จแผ่นดินไหว พิมพ์เล็กหลังยันต์ จำนวน 1,000.- องค์

และยังมีพิมพ์พระพุทธชินราชห้าเหลี่ยม พิมพ์พระขุนแผนห้าเหลี่ยม พิมพ์อู่ทอง พิมพ์พระรอด พิมพ์หลวงปู่ทวด

หลวงปู่ทองดำท่านตั้งใจที่จะสร้างพระพิมพ์สมเด็จขึ้นมา โดยมอบหมายให้ลูกศิษย์รวบรวมมวลสารศักดิ์สิทธิ์ได้ 9 อย่าง ได้แก่

1.ดินโป่ง (ดินเค็มที่สัตว์ป่าชอบมาเลียกิน) ๗ โป่ง

2.ดินบริเวณฐานพระประธานตามวัดร้าง ๗ วัด

3.ไคลเสมาจาก ๗ วัด

4.ดินจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 ประเทศอินเดีย

5.ชิ้นส่วนพระกรุเก่าที่แตกหักชำรุด

6.ว่านมหามงคล 7 ชนิด

7.ผงพุทธคุณ

8.ชานหมาก

9.แร่เหล็กน้ำพี้จาก บ่อพระแสง และ บ่อพระขรรค์ บ้านน้ำพี้

เมื่อบดส่วนผสมต่างๆ ละเอียดแล้วผสมกันจนได้ที่ผสมกับน้ำพระพุทธมนตร์กดเป็นพิมพ์พระลักษณะเป็น 4 เหลี่ยมชิ้นฟัก พิมพ์ใหญ์ ขนาดกว้าง 2.2 เซนติเมตร สูง 3.4 เซมติเมตร พิมพ์เล็ก ขนาดกว้าง 1.5 เซนติเมตร สูง 2.4 เซนติเมตร เมื่อหลวงปู่ได้กดพิมพ์พระสมเด็จเป็นปฐมฤกษ์แล้ว จึงให้ลูกศิษย์ที่ถือศีลช่วยกันกดพิมพ์พระได้ตามจำนวนแล้ว นำพระมาตากแดดจนแห้งแล้ว จึงนำพระวางเรียงใส่ในบาตรสุมไฟรอบบาตรจนกระทั่งบาตรแดงได้ที่จึงหยุดทิ้งให้เย็น แล้วก็นำพระออกมาคัดแยกจนเสร็จ ทาด้วยเชลแล็ค มีพระสมเด็จแผ่นดินไหวพิมพ์เล็กส่วนหนึ่งไม่ทาเชลแล็ค สันนิษฐานว่า เป็นพระคะแนนที่คั้นเวลานับจำนวนพระ พระสมเด็จแผ่นดินไหวจึงมีหลายสี ได้แก่ สีแดง สีดำ สีน้ำตาล น้ำตาลอมดำ และดำเปลือกมังคุด

เรื่องของเชลแล็คที่ทาพระสมเด็จแผ่นดินไหวนั้นจะเห็นได้ว่ามี แล็คบางและแล็คหนา เนื้่องด้วยเชลแล็คมีส่วนผสมของทินเนอร์ ทินเนอร์สามารถระเหยได้ ในการเริ่มเทเชลแล็คออกจากขวดแล้วทาองค์แรกๆ เนื้อแล็คจะบางทำให้พระชุดแรกๆ เคลือบแล็คบางจะมองเห็นลายละเอียดขององค์พระได้ชัดเจน เมื่อทานานไป ทินเนอร์ระเหยความเข็มข้นของเนื้อแล็คมากขึ้น พระชุดทาหลังๆ แล็คที่เคลือบก็จะหนากว่าพระชุดแรกๆ ทำให้เกิดเป็นลักษณ์และเสน่ห์เฉพาะตัวของพระสมเด็จแผ่นดินไหวแต่ละองค์ขี้นมา

ส่วนที่มาของชื่อ “พระสมเด็จแผ่นดินไหว” ขณะที่หลวงปู่อธิษฐานจิตปลุกเสกสมเด็จชุดนี้ภายในโบสถ์วัดท่าทอง ได้เกิดแผ่นดินไหวรอบปริมณฑลที่ปลุกเสก ชาวบ้านและลูกศิษย์ที่อยู่บริเวณนั้นต่างตกใจ ยกมือไหว้ท่วมหัวและประจักษ์ในความเข้มขลังของพระสมเด็จที่หลวงปู่ปลุกเสก และเป็นที่มาของชื่อพระสมเด็จรุ่นนี้ว่า “สมเด็จแผ่นดินไหว”
สมเด็จแผ่นดินไหวนี้ หลวงปู่ได้เมตตาแจกแก่ศิษย์และญาติโยมผู้ศรัทธาที่มากราบไหว้จนหมด ผู้ที่ได้รับไปต่างได้รับพุทธคุณต่างๆ กันไป เช่น ด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดคงกระพัน โชคลาภ จึงเป็นที่เสาะหาของบุคคลทั่วไป นับวันยิ่งหาได้ยากยิ่งจึงเป็นที่หวงแหนของผู่ที่ได้ครอบครองยิ่งนัก



โดยสมาชิก ชื่อ ป้องเกียรติ โชติช่วง
จากกลุ่ม ชมรมพระเนื้อผงมาตรฐานสากล