พระวัดมฤคทายวัน พิมพ์คะแนนจิ๋ว หลังยันต์
หลวงปู่นาค จั

พระวัดมฤคทายวัน พิมพ์คะแนนจิ๋ว หลังยันต์
หลวงปู่นาค จัดสร้างเมื่อปี 2466 เนื้อผงน้ำมัน
ผิวขาว สวย สมบูรณ์ ไม่บิ่น ไม่หัก ไม่ซ่อม พร้อมบูชา

__________________________

วัดมฤคทายวัน อยู่ติดกับ ‘พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน’ ซึ่งสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เพื่อเป็นที่ประทับในฤดูร้อน และเมื่อพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานมายังพระราชนิเวศน์ฯ ก็มักทรงสดับพระธรรมเทศนาและสนทนาธรรมกับพระภิกษุผู้มีศีลาจารวัตรงดงาม รวมถึง หลวงปู่นาค ปุญญนาโค เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวันในสมัยนั้น

หลวงปู่นาค เป็นสมณสงฆ์ที่มีศีลาจารวัตรงดงามและมีความเชี่ยวชาญในวิทยาอาคมเข้มขลัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวจังหวัดเพชรบุรีและใกล้เคียง วัตถุมงคลของท่านล้วนเป็นที่นิยมสะสมและปรากฏพุทธาคมประจักษ์เป็นที่เลื่องลือ รวมทั้ง ‘พระสมเด็จวัดมฤคทายวัน’ แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านไม่ยอมสร้างคือ ‘รูปเหมือนตัวเอง’ โดยให้เหตุผลว่า “ท่านไม่เก่ง จะไปสร้างรูปให้เขากราบไหว้ได้อย่างไร ต้องสร้างเป็นพระพุทธเจ้าจะเหมาะกว่า” สำหรับ “เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่นาค” ที่นิยมเล่นหากันอยู่นั้น สร้างขึ้นหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน

พระวัดมฤคทายวัน สร้างในราวปี พ.ศ.2462 โดย ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้หลวงปู่นาคเป็นเจ้าพิธีในการสร้าง เพื่อพระราชทานให้กับข้าราชบริพารและชาวบ้าน ในวโรกาสเสด็จฯ ประทับแรม ณ พระราชนิเวศน์มฤทายวัน และทรงกำหนดให้ ‘วัดมฤคทายวัน’ เป็นเขตอภัยทาน เพื่อถวายเป็นพุทธาบูชา ในการที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพราณสี ประเทศอินเดีย เมื่อ 2,580 กว่าปีล่วงมาแล้ว เนื่องจากคำว่า “มฤค” นั้น มีความหมายว่า เนื้อ, ทราย ซึ่งมีอยู่ชุกชุมในสถานที่แห่งนี้ คล้ายคลึงกับสถานที่ในพุทธประวัติ

พระสมเด็จวัดมฤคทายวัน เป็นพระเนื้อผงทรงสี่เหลี่ยม คล้าย ‘พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์’ ของ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เนื้อหามวลสารประกอบด้วยปูนเปลือกหอยเป็นมวลสารหลัก และที่สำคัญคือ “ผงตรีนิสิงเห” อันเป็นผงวิเศษหลักในการสร้างพระสมเด็จมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) จนถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีอานุภาพนานัปการ ทั้ง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี จากนั้นมาผสมรวมกับมวลสารมงคลอื่นๆ แล้วใช้น้ำมันตังอิ๊วกับน้ำมันลินสีดเป็นตัวประสาน เนื้อมวลสารที่เป็นปูนเปลือกหอยก็จะอมน้ำมัน ทำให้เนื้อขององค์พระแลดูชุ่มและนุ่ม ส่วนผงตรีนิสิงเหนั้นไม่อมน้ำมันจึงปรากฏเป็นผงสีเหลืองนวลแทรกอยู่ในเนื้อขององค์พระสวยงามมาก โบราณจารย์บางท่านมักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พระผงน้ำมัน”




โดยสมาชิก ชื่อ กันตภณ บุรพพงษานนท์
จากกลุ่ม ชมรมพระเนื้อผงมาตรฐานสากล