ขอแนะนำของดีของท่านเจ้าคุณพระมงคลทิพยมุนี มุ้ย ปัณฑิโต

ขอแนะนำของดีของท่านเจ้าคุณพระมงคลทิพยมุนี มุ้ย ปัณฑิโต วัดจักรวรรดิราชาวาส(สามปลื้ม) ได้ทำการฝากบรรจุกรุวัดชลอนเทพาวาส ต.หัวก์ป่า อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ประวัติผู้สร้าง ชาตะในรัชกาลที่ ๔ ปีพ.ศ.๒๔๐๔ มรณะภาพเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๔ สมณศักดิ์พระมงคลทิพยมุนีนั้น ท่านได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าจากรัชกาลที่ ๖ ตำแหน่งเสมอชั้นเทพ ได้รับพระราชทานพัดยศพื้นกำมะหยี่ขาวล้วนประดับพลอยซึ่งเป็นสมณศักดิ์สูงสุดทางด้านวิปัสนาธุระ เป็นเจ้าคณะปกครองมลฑลนครราชสีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ อนึ่งที่วัดพรหมเทพาวาส (ชลอน) เป็นอารามที่ท่านเจ้าคุณพระอุปัชฌาย์ของท่านได้บำรุงและก่อสร้างถาวรวัตถุไว้แล้วได้เก่าชำรุดลง ท่านประสงค์จะแสดงกตเวที จึงได้อุตสาหะจัดการปฏิสังขรซ่อมแปลงถาวรวัตถุนั้น ๆ ให้ดีขึ้นหลายอย่าง ได้ทำศาลาการเปรียญและพระอุโบสถให้เรียบร้อยงดงามดังที่เห็นในปัจจุบัน เมื่อท่านมีอายุมากขึ้นได้ปรารภถึงสังขารอันจักเป็นไปได้ไม่นานเท่าไรแล้วได้จัดสร้างพระพุทธรูปพิมพ์ ทำด้วยดินเผาผสมผงใบลานกับผงทางวิปัสสนา เพื่อเป็นปูชนียวัตถุสำหรับบูชาแห่งพุทธศาสนิกชนในภายหน้า สร้างได้ ๗๐,๐๐๐ เศษ ๆ ยังได้ไม่ครบ ๘๔,๐๐๐ ตามพระธรรมขันธ์ ท่านก็เริ่มอาพาธด้วยโรคชรากระเสาะกระแสะเลื่อยมา ครั้นพอค่อยสบายดีแล้วได้ขึ้นไปจัดการยกช๋อฟ้าวิหารพระนอนที่วัดชลอน สิงห์บุรีเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๔ โรคกับขึ้นกำเริบแต่ที่นั้น ได้กลับลงถึงวัดจักรวรรดิราชาวาสเมื่อ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๔ ดำรงสังขารอยู่อีก ๗ วันก็ได้ถึงกาลมรณะภาพ ครั้นได้รับพระราชทานเพลิงศพแล้วในปี พ.ศ.๒๔๗๖ ได้นำอัฐิไปประดิษฐานไว้ ณ.อุโบสถวัดชลอนพรหมเทพาวาส จ.สิงห์บุรี พร้อมกับพระพุทธรูปพิมพ์และอังคารของท่าน
ต่อมาทางเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดชลอนได้นิมนต์พระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง) เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรีทำการเปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕
พระมงคลทิพยมุนีนั้นท่านนับถือพระครูพรหมนครบวรราชมุนี(หลวงปู่ศุข วัดป่าหวาย)มาก ส่วนลูกศิษย์ของท่านที่สิงห์บุรี มี พระพรหมนคราจารย์(หลวงพ่อดี วัดแจ้งพรหมนคร) หลวงพ่อเลื่อน วัดตราชู และพระธรรมมุนี(หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง)ซึ่งท่านได้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้หลวงพ่อแพด้วย

#ขอบคุณท่านผู้เรียบเรียงด้วยครับ





โดยสมาชิก ชื่อ Sittipat Puanggaew
จากกลุ่ม ชมรมพระเนื้อผงมาตรฐานสากล