:::พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล วัดเขากง นราธิวาส ปี 2539.หน้า

:::พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล วัดเขากง นราธิวาส ปี 2539.หน้าตัก 5 นิ้ว. จัดสร้างในวาระงานเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 พรรษา.
:::พุทธลักษณะ สวยคม สมจริง มีรายละเอียดรายรอบฐาน เสมือนองค์จริงที่เป็นประดิษฐานบนพุทธสถานทุกประการ ในจังหวัดนราธิวาสมีพระพุทธรูปสำคัญยิ่ง เป็นพระพุทธรูปที่ประทับกลางแจ้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในดินแดนภาคใต้ คือ “พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล” โดยเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในดินแดนด้ามขวานทองนี้ ประดิษฐานเป็นองค์ประธานในพื้นที่พุทธอุทยาน วัดเขากงมงคลมิ่งมิตรปฏิฐาราม พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายวางหงาย นั่งขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา เป็นศิลปะสกุลช่างอินเดียตอนใต้แบบโจฬะที่แพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้และแหลมมลายู องค์พระสร้างขึ้นด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับโมเสกสีทองทั้งหมด มีหน้าตักกว้างถึง 17 เมตร และมีความสูงวัดจากพระเกศบัวตูมถึงฐานบัวใต้พระเพลา รวม 24 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย วัดเขากงมงคลมิ่งมิตรปฏิฐารามนั้น เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้กลายเป็นวัดร้างอยู่ชั่วระยะหนึ่ง จนมีพระภิกษุมาจำพรรษาอีกครั้งในปี พ.ศ.2494 และได้รับการฟื้นฟูจนมีความรุ่งเรืองมาในปัจจุบันในการก่อสร้างพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลขึ้นบนยอดเขากงนี้ ด้วยสาเหตุว่าพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นพุทธสถานมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยมีการค้นพบหลักฐานที่เป็นซากโบราณสถานอันเป็นส่วนประกอบของเจดีย์พร้อมทั้งเศียรพระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์ฝ่ายมหายาน รวมทั้งโบราณวัตถุมากมาย ดังนั้นบรรดาพุทธบริษัททั้งหลายจึงรวมใจกันสร้างองค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่บนยอดเขากง เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปประจำภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัดการก่อสร้างองค์พระได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2509 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2512 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระอุระเบื้องซ้าย ของพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลด้วยพระองค์เองในปี พ.ศ.2513 อันเป็นสิริมงคลสูงสุด นับแต่นั้นองค์พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลได้ประดิษฐานอย่างมั่นคงคู่กับจังหวัดนราธิวาส และดินแดนภาคใต้นั้นถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ และเป็นที่สักการบูชาอย่างสูงของชาวพุทธในดินแดนภาคใต้สืบมา.
พุทธกาล พระบูชา






โดยสมาชิก ชื่อ ยะเทพ ศาสตรา
จากกลุ่ม พระพุทธรูป พระบูชาทุกวัด ทุกสำนัก (เน้นพระบูชา)