ขออนุญาตแอดมินครับ
~เปิดพระบูชา พระกฐินต้น ภปร. วัดเทวส

🙏🏻ขออนุญาตแอดมินครับ🙏🏻
~เปิดพระบูชา พระกฐินต้น ภปร. วัดเทวสังฆาราม ปี2506 ออกปี2530(เสริมยุคต้น)
~ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว , ฐาน 7.5 นิ้ว , สูง 9.5 นิ้ว เนื้อโลหะผสมมวลสารเดิมเมื่อปี 2506

~วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งที่มีอายุเกินกว่า 100 ปี อีกทั้งมีความสำคัญต่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร อดีตสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ เป็นสามเณรเจริญ คชวัตร กระทั่งได้ย้ายมาประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

ภายหลังได้ทรงเป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ “พระภูมิพโลภิกขุ” เมื่อครั้งยังดำรงพระสมณศักดิ์ที่ “พระสาสนโสภณ”

ด้วยความสำคัญดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานเป็นการส่วนพระองค์ ในปีพุทธศักราช 2506 ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ด้วยพระราชศรัทธาประสาทะ

“พระเทพมงคลรังสี” (ดี พุทธโชติ) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระมงคลรังสีวิสุทธิ์” และเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น พร้อมด้วยคณะกรรมการ ประกอบด้วยหลวงกัมปนาทแสนยากร เป็นประธาน และ พระสาสนโสภณ (สมณศักดิ์ในขณะนั้นของสมเด็จพระญาณสังวร อดีตสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก) เป็นที่ปรึกษา

ได้มีความเห็นพร้อมกันว่า ในการพระราชพิธีนี้ นับเป็นมหามงคลโอกาสควรจัดสร้างพระพุทธรูปปางประทานพรเป็นที่ระลึก และเพื่อให้ประชาชนได้มีไว้สักการบูชา โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญ “อักษรพระปรมาภิไธย ย่อ ภปร.” มาประดับที่ผ้าทิพย์

สำหรับพระพุทธรูปที่จัดสร้างนั้น ได้ขออนุญาตใช้แบบพระพุทธรูปของโรงพยาบาลศิริราชที่สร้างขึ้นในคราวงานฉลองครบรอบ 72 ปี เมื่อปี 2505 มาเป็นต้นแบบ โดยแก้ไขให้นิ้วพระหัตถ์กระดกมากขึ้น พร้อมเพิ่มผ้าทิพย์ประดับ “อักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.” ที่ฐานด้านหน้า และมอบให้ช่างปั้นชุดเดียวกับที่ปั้นหล่อ “พระพุทธรูปฉลอง 72 ปีโรงพยาบาลศิริราช” เป็นผู้ดำเนินการ

ส่วนแผ่นโลหะที่จะใช้บรรจุในเบ้าหล่อพระพุทธรูป คณะกรรมการได้นิมนต์ไปให้พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในยุคนั้นลงอักขระเลขยันต์คาถาแห่งละ 17 แผ่น อาทิ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) วัดสระเกศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ , พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม , หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม , หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา และพระคณาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกอีกหลายรูป

ส่วนแผ่นโลหะ ทองคำ นาก เงิน อย่างละ 34 แผ่น รวมทั้งหมด 102 แผ่น สำหรับทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงบรรจุในเบ้าหล่อพระพุทธรูปนั้น พระมงคลรังสีวิสุทธิ์ (หลวงปู่ดี พุทธโชติ) เป็นผู้ลงอักขระยันต์ตามสูตรของวัดเทวสังฆาราม

กำหนดการเทหล่อพระพุทธรูป วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2506 หลังการเสด็จฯถวายผ้าพระกฐินพระราชทานแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรา ลงกรณ์ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เสด็จเข้ามณฑลพิธีทรงบรรจุแผ่น ทองคำ นาก เงิน ลงในเบ้าหลอม “พระพุทธรูป ภปร.” ทั้ง 17 เบ้าโดยมีพระมหาเถระและพระเถระ 9 รูป ตลอดทั้งพระสงฆ์ในบริเวณมณฑลพิธี 20 รูปเจริญชัยมงคลคาถา โหรลั่นฆ้องชัย เสร็จแล้วเสด็จออกจากมณฑลพิธี

วัดเทวสังฆารามได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ก่อนมอบให้แก่ผู้สั่งจอง โดยรายได้จากการบูชาพระพุทธรูป ภปร. ครั้งนั้นได้นำไปใช้ในการบูรณะวัดเทวสังฆาราม สร้างฌาปนสถาน และซื้อที่ดินถวายวัดเพิ่มเติมสำหรับจัดสร้างโรงเรียนมัธยมวัดเทวสังฆาราม

พระพุทธรูป ภปร. รุ่นแรก (กฐินต้น) พ.ศ.2506 วัดเทวสังฆาราม เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร ศิลปะสุโขทัยประยุกต์ ประดับผ้าทิพย์ที่กึ่งกลางมีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. พระพุทธปฏิมานั้นมีพุทธลักษณะงดงาม มีการจัดสร้างด้วยกัน 2 ขนาด ได้แก่ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว และขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว จัดสร้างเป็นเนื้อทองผสมและรมดำ เทหล่อด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ ซึ่งใต้ฐานมีดินหุ่นหรือดินเบ้าเป็นดินไทยโบราณ

ในพิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นนี้นอกจากพระพุทธรูปบูชา ภปร. แล้ว ยังได้มีการจัดสร้างเป็นเหรียญ เรียกว่า “เหรียญพระกฐินต้น พ.ศ.2506 วัดเทวสังฆาราม”

จำเนียรกาลผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูป ภปร.วัดเทวสังฆาราม ปี 2506 ถือว่าหาได้ยากยิ่ง มีมูลค่าสูงมาก อีกทั้งยังเปี่ยมคุณค่าทั้งด้านประติมากรรม ด้านประวัติศาสตร์

โดยในครั้งนั้นมีการจัดสร้างในครั้งแรก จำนวน 200 องค์ และจัดสร้างในครั้งต่อมาอีก 200 องค์ (ระยะเวลาห่างกันไม่มาก) และหลักพันองค์ในครั้งที่ 3 ในปีต่อๆมา

จนถึงปี 2530 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมายุครบ 5 รอบ หรือ 60 พรรษา รัฐบาลได้จัดพิธีเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ หน่วยงานเอกชน และราชการ รวมถึงวัดวาอาราม ได้จัดสร้างมงคลวัตถุที่ระลึกทั้งในรูปแบบของที่ระลึก พระเครื่อง และพระบูชา เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ

หนึ่งในนั้นก็คือวัดเหนือ หรือวัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดสร้างพระบูชากฐินต้นขึ้นมาใหม่อีกคำรบหนึ่ง ในรูปแบบเดิม พระพักตร์ดั่งเช่นเดิมเป๊ะ มองเผินๆคิดว่าเป็นพระรุ่นแรกเสียด้วยซ้ำ โดยคงไว้ซึ่งพุทธลักษณะที่งดงาม สง่ามหาบารมีดังเดิม โดยแยกหล่อพระออกเป็น 2 ส่วน ระหว่างองค์พระ และฐานรองประทับ เหมือนเก่า รวมถึงรูปแบบลายมือที่สลักลงไปที่ด้านหลังของฐาน ก็อ่อนช้อย (เล่นหาง) งดงาม ตระการตา เสมือนลายมือของพระรุ่นแรก มีการตอกโค้ดรูปช้างไอราพต หรือช้างสามเศียร ซึ่งเป็นสัตว์พาหนะของพระอินทร์ ดั่งเช่นพระรุ่นแรกทุกประการ ทั้งยังตอกหมายเลขกำกับในตำแหน่ง ใกล้เคียงกับของเดิม ทั้งในส่วนขององค์พระและฐานรองประทับ อีกด้วย จะมีที่แตกต่างในรายละเอียดเล็กน้อย ตามที่กล่วมาแล้วในข้างต้น
~สภาพสวยๆ ผิวหิ้ง พบเจอน้อยครับ
~ใครมองหาอยู่ไม่ควรพลาด!!

~สนใจสอบถามได้ครับ🙏🏻🙏🏻
~โทร096-4544051☎️
~ยินดีผ่านแอดมินครับ🙇🏻







โดยสมาชิก ชื่อ Thawatchai Tee
จากกลุ่ม พระบูชาสมัยต่างๆและพระบูชาพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษ ( แบบมาตรฐานสากล )