สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) อดีตเจ้าอาวาสวั

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามฯ มีชื่อเสียงทั้งทางด้านปริยัติและกรรมฐาน เชี่ยวชาญด้านลบผง เล่ากันว่าท่านเรียนมาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์โตโดยตรง ซึ่งพิจารณาแล้วเป็นไปได้สูง ทั้งพื้นที่วัดใกล้กัน ช่วงอายุที่เหมาะสม ยศที่ได้รับ (สมเด็จฤทธิ์เคยดำรงยศ พระธรรมไตรโลกาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ แล้วจึงได้สถาปนาเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) และความสัมพันธ์ของท่านกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ ญาณฉนฺโท)วัดระฆังฯ ซึ่งได้รับยศนี้หลังจากสมเด็จฤทธิ์มรณภาพแล้วประมาณ 8 ปี

เฉพาะวิชาด้านเมตตามหานิยมเล่าสืบกันมาว่า ท่านมีวิชาผงชื่อ ผงกลับศัตรูเป็นมิตร ซึ่งมีการทำตะกรุดเนื้อทองคำในชื่อนี้ด้วย นอกจากวิชาเมตตา ท่านยังมีวิชาตะกรุดสามกษัตริย์ ศิษย์ของท่านเท่าที่บันทึกโดยนักเขียนรุ่นเก่า เช่น พระพิมลธรรม (นาค) วัดอรุณฯ (ผู้สร้างตะกรุดหน้าผากเสือที่แพงที่สุดในประเทศไทย) หลวงปู่ไข่ วัดบพิตรภิมุข (พระปิดตาหลักล้าน สมเด็จฤทธิ์ ครั้งได้ยศเป็นพระอมรโมลี ครองวัดบพิตรภิมุข มาก่อน) พระครูภาวนาวิจารย์ (พระครูลืม ดังเรื่องลูกอมเมฆสิทธิ์ ต่อมาได้รักษาการ เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม 3 ปี) พระครูโสภณกัลยาณวัตร (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร ดังเรื่องน้ำมนต์ รวมถึงหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม เหรียญหลักล้านเช่นกัน (หลวงปู่ภู่ วัดบางกะพ้อมเป็นพระคู่สวด ของหลวงปู่ไข่ ได้แลกเปลี่ยนวิชากับสมเด็จฤทธิ์)

พิธีสร้างพระเครื่องกรุอัมพวานี้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นประธานในการปลุกเสก บรรจุกรุเอาไว้เมื่อคราวปฏิสังขรณ์วัดอัมพวา ช่วงประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๐ (ขณะนั้นท่านมีอายุประมาณ 70 ปี) เป็นไปได้ที่พระสร้างในช่วงท่านรับยศสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พ.ศ.๒๔๔๘ จำนวนและรายละเอียดการสร้างไม่แน่ชัด

พระกรุวัดอัมพวา บรรจุในพระเจดีย์ใหญ่หลังอุโบสถ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๐ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ช่วงสงคราม พระครูแป้น ได้เปิดกรุออกแจกจ่าย ในพระเกินห้าสิบพิมพ์ครับ แบงปันเบาๆๆคับ





โดยสมาชิก ชื่อ เอก ทุ่งสง
จากกลุ่ม พระปิดตายอดนิยมและพระปิดตาทั่วไป