***Admin๘๘๘***

***ให้สอบถามราคา***

***พระชินราชอินโดจ

***Admin๘๘๘***

***ให้สอบถามราคา***

***พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ฯ ปี 2539-2540 ย้อนยุค***

พระพุทธชินราช อินโดจีนย้อนยุค หล่อโบราณ

ตามประวัติการสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พ.ศ.๒๔๘๕ ครั้งแรกได้ประกอบพิธีเททองหล่อที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๕ ต่อมาคณะกรรมการ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ได้กราบทูลขอพระเมตตาจากสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม ในเรื่องการประกอบพิธีพุทธาภิเษก

ทั้งนี้พระองค์ทรงพระเมตตาให้คณะกรรมการพุทธสมาคมนำพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งได้ ทำพิธี เททองหล่อพระตามตำรับตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์

พิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นในเวลานั้นถือว่ายิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ จนเป็นที่กล่าวขวัญมาถึงทุกวันนี้ เพราะพระคณาจารย์ ทั่วประเทศแ ละพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นได้มอบแผ่นพระยันต์ พร้อมทั้งเดินทางมาร่วม เมตตาอธิษฐานจิต กันอย่างมากมาย เช่น หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงปู่นาค วัดระฆัง หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฯลฯ

จุดประสงค์และเจตนาการสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ของพุทธสมาคมนี้ เพียงเพื่อต้องการให้ทหารและประชาชนมีพระเครื่องไว้บูชาติดตัวในยามเกิดสงครามอินโดจีน แต่ปรากฏว่าหลังจากสงครามอินโดจีนสงบลง ยังได้เกิดสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม ทหารและประชาชนที่บูชาพระพุทธชินราชอินโดจีนติดกาย ประสบพบเหตุการณ์รอดชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์ใจหลายต่อหลายคน ซึ่งทุกคนต่างรับรู้ได้ถึงพระพุทธานุภาพและพระพุทธคุณของพระพุทธชินราชอินโดจีน กันเป็นอย่างดี






โดยสมาชิก ชื่อ พิษณุ อกอุ่น
จากกลุ่ม พระกริ่งพระชัยวัฒน์ รูปหล่อ พระหมวดพระมหากษัตริย์