ให้บูชา1ชุด 2องค์

1.พระ กริ่ง 155 ปี สังฆราชแพ วัดสุทั

ให้บูชา1ชุด 2องค์

1.พระ กริ่ง 155 ปี สังฆราชแพ วัดสุทัศน์

พระกริ่ง 155 ปี สมเด็จพระสังฆราชแพ

-เนื้อนวะแก่ทองผิวไฟ. เลข4438
เททองโบราณ. ไม่มีกล่อง

ครบรอบ ๑๕๕ ปี แห่งการประสูติกาลสมเด็จพระสังฆราช (แพ)”

เปิดตำนานสุดยอดพระกริ่งชั้นบรมครูตำรับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) แห่งสำนักวัดสุทัศนเทพวราราม

ขอเชิญร่วมพิธีเททองหล่อโบราณครั้งแรกในรอบ ๑๕ ปี มณฑลพิธีวัดสุทัศน์ฯ

และร่วมสั่งจองบูชาเป็นปฐมฤกษ์วัตถุมงคล รุ่น

“๑๕๕ ปี พระสังฆราชแพ”

วันอังคารที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕ (ขั้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีมังกรทอง)งานเริ่มเวลา 09.00 น.

พิธีเททองครั้งนี้ฤกษ์ตรงกับพระกริ่ง รุ่น “ชนะคน” ในอดีต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑ ของสมเด็จพระสังฆราชแพ

ฤกษ์ดีอุดมมงคล เอกอุเข้มขลัง เช่นนี้ ตามตำราท่านกล่าวว่าอีก ๑๑๑ ปี ถึงจะมีอีกครั้งหนึ่ง

พิธีจักรพรรดิพุทธาภิเษก วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘๘ ปีมังกรทอง)

พระกริ่งถือกันว่าเป็นจักรพรรดิแห่งพระเนื้อโลหะทั้งปวง เพราะการสร้างต้องครบถ้วนตามตำราพิถีพิถันทุกขั้นตอนรายละเอียดอันเริ่มจากสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “วัตถุประสงค์” และ “เจตนาบริสุทธิ์” อันจะต้องยังประโยชน์นำมาเกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เป็นการเริ่มต้นอย่างอย่าง “บริสุทธิ์” ใสสะอาดปราศจากมลทิน “พระกริ่ง” จึงจะมีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์สมบูรณ์แบบอยู่ครบถ้วนถึงอายุกาลแห่งพระพุทธศาสนา เปรียบดั่งเช่น “พระกริ่ง” ที่ครูบาอาจารย์ในอดีตที่ได้บรรจงสร้างไว้จนเป็นตำนานแห่งความศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นที่เล่าขานสืบมาตราบจนปัจจุบันสมัย

นอกจากวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างอันเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดแล้ว ยังต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ คือ

๑ ฤกษ์ยามในการประกอบพิธีกรรม อันได้แก่ฤกษ์ยามในการลงแผ่นพระยันต์ ๑๐๘ และ นะ๑๔, ฤกษ์ยามในการประกอบพิธีกรรมเททองหล่อเพื่อก่อเกิดเป็นรูปทรงองค์พระกริ่งขึ้นมา และฤกษ์ยามในการประกอบพิธีพุทธาภิเษก

๒ มวลสารโลหะและแร่ธาตุศักดิ์สิทธิ์จะต้องถูกตำรับตามตำรานวโลหะวิธี อันได้แก่ ชิน ๑ บาท, จ้าวน้ำเงิน ๒ บาท, เหล็กละลายตัว ๓ บาท, บริสุทธิ์ ๔ บาท, ปรอทสตุ ๕ บาท, สังกะสี ๖ บาท, ทองแดงบริสุทธิ์ ๗ บาท, เงิน ๘ บาท และทองคำ ๙ บาท โดยนำโลหะและแร่ธาตุต่างๆ เหล่านี้มารวมกันใส่เบ้าหลอมแล้วรีดให้เป็นแผ่นเตรียมไว้เพื่อลงพระยันต์ตามตำราในพระอุโบสถต่อไป

๓ พิธีกรรมการประกอบพิธี ทั้งการตั้งโรงพิธีในการประกอบพิธีเททองและโรงพิธีในการพุทธาภิเษก จะต้องประกอบด้วยราชวัตรฉัตรธงและเครื่องประกอบพิธีต่างๆ จำนวนมากแม้กระทั่งการโยงสายสิญจน์จะต้องทำให้ถูกต้องตามประเพณีที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จท่านเคยปฏิบัติมา คือท่านจะวงสายสิญจน์จากพระประธานที่วิหารหลวง จากพระประธานที่ศาลาการเปรียญ และจากพระเจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระวันรัต (แดง) เข้ามาในพระอุโบสถ นอกจากนี้ยังต้องมีการจัดโต๊ะหมู่ จัดชุดเทียนบูชาให้ถูกต้องครบถ้วนตามตำราทั้งโรงพิธีหล่อเททองและโรงพิธีพุทธาภิเษก

๔ พิธีพุทธาภิเษก จะต้องประกอบด้วยพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงญาณสมบัติอธิษฐานจิตประจุพุทธาคมปลุกเสกและพระเถราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเจริญพระพุทธมนต์ ทั้งการประกอบพิธีเททอง และพิธีพุทธาภิเษก

จะเห็นได้ว่าพิธีกรรมกรรมวิธีการสร้าง “พระกริ่ง” ให้ครบถ้วนถูกต้องตามตำรานั้นเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากละเอียดพิถีพิถันเป็นอย่างมากจึงจะเป็น “ตำนานพระกริ่งแห่งสำนักวัดสุทัศน์ฯ” อย่างแท้จริง

ในโอกาสแห่งการประสูติกาลครบ ๑๕๕ ปี ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.๒๕๕๕ ทางวัดสุทัศน์เทพวราราม โดนท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโกษาจารย์ อธิบดีสงฆ์วัดสุทัศน์ฯ รูปปัจจุบัน ท่านได้อนุญาตให้ท่านเจ้าคุณธรรมรัตนดิลก เจ้าคณะภาค ๔ ได้จัดสร้าง “พระกริ่ง” ขึ้นในวาระครบ “๑๕๕ ปี แห่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยังประโยชน์ก่อเกิดแก่พุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป และนำปัจจัยรายได้มาบูรณปฏิสังขรณ์ “ตำหนักสมเด็จพระสังฆราชแพ” ที่มีอายุเก่าแก่กว่า ๒๐๐ ปี ที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมากจึงจำเป็นต้องหางบมาปฏิสังขรณ์และจัดตั้งให้เป็น “พิพิธภัณฑ์อริยเจ้าแห่งวัดสุทัศน์ฯ” อันจะเป็นประวัติจารึกคู่แผ่นดินตลอดไป ปัจจัยอีกส่วนหนึ่งนำไปพัฒนาความรู้การศึกษา ปริยัติธรรม-บาลี ของพระภิกษุสามเณร ในเขตภาค ๔ เพื่อยังประโยชน์แก่พุทธศาสนาให้พระสงฆ์ได้เล่าเรียนมีความรู้ในทางปริยัติธรรม นำไปอบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนให้ยึดมั่นตามแนวทางพระพุทธศาสนาสืบไป

พระอธิฐานจิตเป็นจำนวนมากอาทิ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์,พระธรรมรัตนดิลกงพ่อฟู วัดบางสมัคร,หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว,หลวงพ่อวรรณ วัดเสนานิมิตร,หลวงพ่อมาลัย วัดบางหญ้าแพรก,หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง,และพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศ

2.พระกริ่งธิเบตพร้อมครอบหน้ากากทอง วัดสุทัศน์ กทม. พ.ศ.2548

พระกริ่งธิเบต หล่อจากชนวนนวโลหะหมื่นยันต์ของพระเกจิดังทั่วไทย ซึ่งเป็นน้ำทองต้นเบ้าเข้มข้น ก่อนที่นำไปสร้างพระพุทธชินราชหมื่นยันต์ โดยประกอบพิธีเททองในวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อวัดสุทัศน์ ในวันที่ 26 มค.2548 ณ มณฑลพิธีหน้าองค์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม.

ซึ่งเดิมพระกริ่งธิเบต กำหนดจะนำออกให้บูชาในโอกาสครบรอบชนมายุ 75 ปี แต่วาระสำคัญแห่งงานกฐินวัดสุวรรณรังสรรค์(วัดยายร้า)
อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เมื่อปี 2548 มาถึงก่อนจึงนำมามอบให้ลูกศิษย์และผู้มีจิตศรัทธาเป็นโอกาสพิเศษ พระกริ่งสวยงาม พร้อมครอบหน้ากากกะไหล่ทอง(เพื่อป้องกันการเลือก) ขนาดองค์พระกว้าง 2.6 ซ.ม. สูง 4.5 ซ.ม.

1500 รวมส่ง







โดยสมาชิก ชื่อ Sanit Whongtunyagan
จากกลุ่ม ชมรมคนรักพระกริ่งสากล