ให้บูชา 350 ส่vด่วuฟrี.

พระกริ่งพระพุทธบุษยรัตน์ (พระแ

ให้บูชา 350 ส่vด่วuฟrี.

พระกริ่งพระพุทธบุษยรัตน์ (พระแก้วหยดน้ำค้าง) พระคู่บ้านคู่เมือง จ.ยโสธร

สูง 3 ซม. กล่องเดิม

สร้างน้อย หายาก

รับประกันแท้

เอกสารแจ้งคนปิดทางข้อความครับ
~~~~~~~~~~~~~~~~~

พระพุทธบุษยรัตน์ (พระแก้วหยดน้ำค้าง) พระคู่เมืองยโสธร วัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง) ในเมืองยโสธร
พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ หรือ “พระแก้วหยดน้ำค้าง”
ประดิษฐาน ณ หอพระแก้ว วัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง)
เขตเทศบาลเมืองยโสธร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

“พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์” หรือ “พระแก้วหยดน้ำค้าง” พระพุทธรูปปางสมาธิ สร้างจากเนื้อแก้วใสสะอาดบริสุทธิ์ที่เรียกว่าเพชรน้ำบุศย์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 1.9 นิ้ว ศิลปะเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวยโสธร ปัจจุบันประดิษฐาน ณ หอพระแก้ว วัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร สำหรับหอพระแก้วนั้นเคยเป็นกุฏิเก่าของพระราชรัตนกวี (สำลี ยะไวย์) เจ้าอาวาส โดยในอดีต “พระแก้วหยดน้ำค้าง” เคยประดิษฐานอยู่เคียงคู่กับ “พระแก้วมรกต” ในหอพระแก้วเมืองเชียงใหม่ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2011 และประทับอยู่เป็นสิริมงคลนานถึง 78 ปี

หลังจาก พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ครองหลวงพระบาง ทรงเห็นสมควรอัญเชิญ “พระแก้วมรกต” และ “พระแก้วหยดน้ำค้าง” ไปไว้ที่ราชธานีล้านช้าง เพื่อให้ห่างไกลจากเงื้อมมือพม่าข้าศึก แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระแก้วมรกตประทับอยู่ร่วมกันอีกครั้ง ครั้นต่อมาได้มีผู้ลักพา “พระแก้วหยดน้ำค้าง” ออกจากหลวงพระบางไปซ่อนไว้ที่เขาส้มป่อย ต่อมามีพราน 2 พี่น้อง ชื่อพรานทึงและพรานเทือง ไปพบว่าจมอยู่ใต้สระน้ำจึงอัญเชิญขึ้นมา ความลือไปถึงเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ จึงทรงให้ท้าวเพียผู้ใหญ่ไปสืบเอา “พระแก้วหยดน้ำค้าง” กลับคืนมา ในขณะอัญเชิญมาถึงตำบลแห่งหนึ่ง ริมแม่น้ำเซโดนหรือแม่น้ำสองสี ได้พากันพักแรมหนึ่งคืน พอรุ่งเช้าปรากฏว่า “พระแก้วหยดน้ำค้าง” หายไป จึงให้คนเที่ยวค้นหา มีผู้ไปพบอยู่ที่บ้านพราน 2 พี่น้องดังเดิม ท้าวเพียได้ทำพิธีคารวะพระแก้วหยดน้ำค้าง โดยขออัญเชิญไปประดิษฐานยังหลวงพระบางได้โดยสะดวก อย่าได้ลักหนีไปที่ใดอีกเลย แต่ในระหว่างทางเกิดพายุทำให้ “พระแก้วหยดน้ำค้าง” ตกลงไปในน้ำหาอย่างไรก็ไม่พบ เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ทรงกระทำพิธีกรรมบวงสรวงเทพารักษ์ ตั้งสัตยาธิษฐานขอให้ได้พระแก้วขาวกลับคืนมาเป็นสิริมงคล เมื่อสัมฤทธิผลจึงจัดงานฉลองสมโภชเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน

ตามข้อสันนิษฐานที่สืบทราบความว่า เมื่อครั้ง เจ้าพระยาราชสุภาวดี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เจ้าอุปฮาด บุตรของท้าวคำ ท้าวฝ่าย ท้าวสุวอ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าพระยาขัตติวงศา ได้เดินทางไปร่วมรบด้วย โดยมี ท่านพระครูหลักคำกุ ผู้มีภูมิความรู้ถนัดในทางโหราศาสตร์ เป็นผู้ให้ฤกษ์และทำพิธีตัดไม้ข่มนาม ซึ่งนับเป็นพิธีปฐมกรรมอันเป็นการให้ขวัญและกำลังใจแก่เหล่าทหาร จึงทำให้การรบในครั้งนั้นประสบชัยชนะ

ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงได้มีรับสั่งให้พาเข้าเฝ้าโดยด่วน โดยมีท้าวฝ่ายและพระครูหลักคำกุ เป็นผู้เข้าเฝ้าเพื่อถวาย “พระแก้วหยดน้ำค้าง” แด่รัชกาลที่ 3 ณ กรุงเทพมหานคร แล้วทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้ท้าวฝ่าย เป็นพระสุนทรราชวงศา และพระครูหลักคำกุ เป็นพระครูวชิรปัญญา แล้วพระราชทานปืนนางป้อม 1 กระบอกให้ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “พระแก้วหยดน้ำค้าง” เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบให้แก่พระสุนทรราชวงศา (สิงห์) เจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร ทั้งเพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ชาวเมืองยโสธรอีกด้วย

สำหรับในจารึกประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 80 เมื่อปี พ.ศ.2440 (ร.ศ.115) กล่าวว่า ท้าวพญาเมืองจำปาศักดิ์ได้ถวาย “พระแก้วหยดน้ำค้าง” แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2355 ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ชาวเมืองยโสธร

ทั้งนี้ ทางวัดมหาธาตุจะจัดให้มีงานสมโภชพระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ หรือ “พระแก้วหยดน้ำค้าง” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้บูชาสักการะและสรงน้ำ เป็นประจำทุกปีในช่วงหลังวันสงกรานต์.







โดยสมาชิก ชื่อ เสนีศิลป์ อินฉ่ำ
จากกลุ่ม พระกริ่งพระชัยวัฒน์ รูปหล่อ พระหมวดพระมหากษัตริย์