แบ่งปันครับ

เหรียญหล่อพระปิดตาปี พ.ศ. ๒๔๗๓
พระครูนันทช

แบ่งปันครับ

เหรียญหล่อพระปิดตาปี พ.ศ. ๒๔๗๓
พระครูนันทชิโนวาท (แดง)
วัดน้อยนพคุณ กรุงเทพมหานคร

❤️แบ่งปัน ..4,8.0.0..พร้อม..E.m.s.❤️

❤️พร้อมบัตรรับประกันพระแท้สถาบันครับ❤️

ท่านผู้เขียน เขียน..ถึง ‘เหรียญหล่อพระปิดตา’ วัดน้อยนพคุณนี้ในคอลัมน์ ‘มุมพระเก่า’ หนังสือพิมพ์ข่าวสด ไว้สิบกว่าปีก่อน ถึงวันนี้เปิดหน้าเวปไซค์พระเครื่องบางแห่ง พบว่าพระปิดตาวัดน้อยนพคุณยักย้ายไปสถิตเป็นพระปิดตาวัดทองนพคุณ ฝั่งธนบุรี ไปเสียตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่อาจทราบได้
ปัญหาคือ ผิดวัด สับสน คนไม่ทราบความเป็นมาอาจเข้าใจผิดได้ ถึงวันนี้ต้องหยิบมากล่าวถึงอีกครั้งหนึ่งให้เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า เหรียญหล่อพระปิดตาพิมพ์ทรงนี้ สร้างด้วยโลหะผสม เป็นของวัดน้อยนพคุณ
วัดแห่งนี้ตามประวัติจากหนังสือ ‘ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร’ เล่ม ๒ ของกองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ที่เปลี่ยนเป็นสำนักพุทธศาสนา กล่าวถึงความเป็นมาไว้ว่า
“วัดน้อยนพคุณ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๕ ในรัชกาลที่ ๕ โดยมีพระสนมเป็นผู้สร้างแล้วขนานนามว่า ‘วัดน้อย’ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้เปลี่ยนนามเป็น ‘วัดน้อยนพคุณ’ การบูรณปฏิสังขรณ์วัดได้มีตระกูล ‘ไกรฤกษ์’ ตระกูล ‘กล่ำทิน’ และตระกูล ‘ทองพุก’ ให้มีการทำนุบำรุงสืบมา วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๐ เขตวุสุงคามสีมากว้าง ๑๓.๕๐ เมตร ยาว ๑๘ เมตร ได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๒ ครั้งหลัง”
กล่าวสำหรับเหรียญหล่อพระปิดตาสร้างขึ้นโดยพระครูนันทชิโนวาท (แดง) อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๗๐) จากนั้นได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส แล้วให้พระอธิการมิตรขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสืบแทน (พ.ศ. ๒๔๗๐-๒๔๘๘) เพื่อที่จะได้ปฏิบัติเจริญจิตภาวนาโดยไม่งานด้านปกครองมาคอยเป็นพะวง
โดยสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้บริจาคสมทบทุนในการสร้างอุโบสถและศาลาการเปรียญขึ้น
เป็นเหรียญหล่อรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ด้านหน้าตรงกลางเป็นรูปองค์พระปิดตานั่งขัดสมาธิยกมือขึ้นปิดหน้าปิดตา อีกคู่หนึ่งปิดทวาร รอบองค์พระปิดตามียันต์อักขระ ๙ ตัว
ในส่วนของด้านหลังปรากฏอักษรไทยจารึกไว้ว่า ‘ที่รฦกการกุศล พ.ศ. ๒๔๗๓’ ด้านบนเป็นอุณาโลม
เหรียญหล่อมีความกว้างประมาณ ๒.๑ เซนติเมตร สูงประมาณ ๓.๓ เซนติเมตร
อย่างไรก็ตาม เหรียญหล่อพระปิดตายังมีอีกแบบหนึ่ง คือ พิมพ์สองหน้า โดยทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็นรูปพระปิดตาเหมือนกันทั้งสองด้าน
ในการสร้างเหรียญหล่อพระปิดตาครั้งนั้น ยังได้สร้างพระปิดตาแบบลอยองค์ไว้ด้วย กล่าวคือ พระปิดตาลอยองค์มีลักษณะรูปทรงคล้ายกับพระปิดตาของพ่อท่านเส็ง วัดแหลมทราย จังหวัดสงขลา
เป็นรูปพระปิดตานั่งขัดสมาธิเพชร ยกมือขึ้นปิดหน้าปิดตา และมืออีกคู่หนึ่งล้วงลงปิดทวาร
มีขนาดกว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร
ที่เศียรพระปิดตามียันต์ ‘นะ’ ปรากฏอยู่ ในส่วนของด้านข้างจะปรากฏรอยตะเข็บเนื่องจากใช้แบบพิมพ์เบ้าประกบในการทำหุ่นเทียน และมีรอยตัดชนวนที่ใต้ฐานพระทุกองค์
กล่าวสำหรับพระครูนันทชิโนวาท (แดง) ไม่ปรากฏหลักฐานด้านอัตโนประวัติ เท่าที่พอทราบว่ามีพื้นเพมาจากอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เดินทางมาจำพรรษาที่วัดน้อยนพคุณ เมื่ออายุได้ ๔๓ ปี และต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๗๐
ส่วนเจ้าอาวาสองค์ต่อมา คือ พระอธิการมิตร ก็เป็นชาวอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เช่นกัน

ในการจัดสร้างเหรียญหล่อพระปิดตาวัดน้อยนพคุณนี้ นอกจากได้รวบรวมวัสดุมวลสารจากโลหะ ๙ ชนิด ตะปูสังวานร ตะกรุดและแผ่นโลหะลงจารอักขระของพระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูป โลหะยอดเจดีย์ ตะปูโลงศพ ๗ ป่าช้า ป่าช้าละ ๗ ดอก โลหะจากพระพุทธรูปที่ชำรุด แล้วนั้น ชาวบ้านยังได้นำโลหะต่างๆ มาร่วมในการเททองหล่อครั้งนี้ด้วย
ได้ทำการเททองหล่อกันที่บริเวณด้านหน้าอุโบสถหลังเก่า หน้าพระประธานศิลาและหลวงพ่อสองพี่น้อง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านย่านนั้นให้ความเคารพสักการะ
กระแสเนื้อโลหะของเหรียญหล่อพระปิดตาที่หล่อออกมามีวรรณะออกเหลืออมเขียว ผิวออกสีน้ำตาล จำนวนสร้างประมาณ ๕๐๐ เหรียญ
เหรียญหล่อพระปิดตานี้ พระครูนันทชิโนวาท (แดง) ปลุกเสกเดี่ยวตลิดไตรมาสแล้ว จากนั้นได้จัดพิธีพุทธาภิเษกมีพระเกจิอาจารย์ร่วมในพิธีปลุกเสกด้วย คือ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ (กล่าวว่าท่านเป็นสหธรรมิกกับพระอธิการมิตร) หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงปู่จัน วัดนางหนู
เมื่อปลุกเสกเรียบร้อยแล้ว พระอธิการมิตรยังได้มอบเหรียญหล่อพระปิดตาส่วนหนึ่งแก่หลวงพ่อรุ่ง เพื่อนำไปแจกแก่ลูกศิษย์ที่วัดท่ากระบือด้วย
เหรียญหล่อพระปิดตาวัดน้อยนพคุณนี้ มีชื่ออยู่ในด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม เพราะคนเก่าคนแก่เล่าขานกันว่าศิษย์สำนักวัดบางโคล่เกือบมาสิ้นท่าเพราะศิษย์วัดน้อยนพคุณมาแล้ว — รู้สึกซาบซึ้งใน เทศบาลนครเชียงราย







โดยสมาชิก ชื่อ ประดิษฐ์ แพทอง
จากกลุ่ม ชุมชนคนรักพระหล่อ