ขออนุญาตแอดมินครับ
“พระกริ่งหน้าอินเดีย”
พระกริ่งรุ่นห

ขออนุญาตแอดมินครับ🙏🏻❤️🙏🏻
“พระกริ่งหน้าอินเดีย”
พระกริ่งรุ่นหนึ่งที่ได้รับความนิยมตลอดกาลของวงการพระเครื่อง มีพิมพ์หน้าเล็กและหน้าใหญ่องค์ที่ท่านเห็นอยู่นี้ตามรูปเป็นพิมพ์หน้าใหญ่ มูลค่าเช่าหาหลักแสนมาเนิ่นนาน
.
สภาพพระ
องค์นี้สภาพพระสวยเดิมๆครับ หล่อมาได้ค่อนข้างสมบูรณ์ หน้าตา จมูก ปาก เม็ดพระศก เม็ดบัว คมชัดลึก ในทุกรายละเอียด ผิวพรรณ น้ำยา”ดำ” ยังคงอยู่แทบจะ 100%
พระคลาสสิคทรงคุณค่าแบบนี้ไม่ควรพลาด
องค์นี้มาพร้อมตลับทองปิดหลัง1ใบครับ
.
ประวัติโดยสังเขป
พระกริ่งของ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) ท่านสร้างตามตำรับของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยการลงเลขยันต์ 108 และนะปถมัง 14 นะ บนแผ่นโลหะแล้วนำไปหลอมเป็นชนวนเพื่อหลอมหล่อเข้าไปในองค์พระ หลังจากนั้นจึงนำมาปลุกเสกอีกชั้นหนึ่ง พระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) นั้นมีสร้างด้วยกันหลายวาระ ในวันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระกริ่งที่ท่านทรงสร้างในปี พ.ศ. 2482 ที่มีจำนวนการสร้างค่อนข้างมากหน่อย
ในปี พ.ศ. 2482 นี้ ได้มีการสร้างพระกริ่งขึ้น ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2482 ที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์ เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านทรงเป็นประธาน และทรงเมตตาเททองให้ด้วยพระองค์เอง พระกริ่งรุ่นนี้ประกอบด้วย พระกริ่งพิมพ์นะโภคทรัพย์ จำนวนประมาณ 400 องค์ พระกริ่งหน้าอินเดียพิมพ์หน้าใหญ่ และพิมพ์หน้าเล็กประมาณ 4,000 องค์ เนื้อโลหะออกวรรณะเหลืองอมขาว การสร้างพระกริ่งใน ครั้งนี้เป็นการสร้างพระจำนวนมาก จึงใช้ทองล่ำอู่ เป็นตัวยืน ประกอบด้วยแผ่นยันต์ 108 และนะ 14 นะ รวมกับเงินพดด้วงตรายันต์และตราราชวัตรองค์ละ 1 เม็ด (หนักหนึ่งบาท)
เมื่อ งานพิธีเททองเสร็จแล้ว ช่างก็นำพระกริ่งมา บรรจุเม็ดกริ่งและอุดช่องเม็ดกริ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านทรงเห็นว่าทุกคนมีความเหน็ดเหนื่อยและเสียสละ จึงรับสั่งให้ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) นำทองชนวนที่เหลือเป็นจำนวนมาก มาสร้างพระกริ่งเพื่อประทานเป็นรางวัลให้แก่ผู้ที่มาช่วยงาน ท่านเจ้าคุณศรีฯ ท่านจึงทูลขออนุญาตจัดสร้างพระกริ่งใน วันงานพระชนม์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ซึ่งตรงกับวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 จำนวน 500 องค์ พร้อมด้วยพระชัยวัฒน์ขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการสร้างพระชัยวัฒน์ครั้งนี้มีจำนวนมาก ท่านเจ้าคุณศรีฯ จึงแบ่งงานออกเป็นสองกลุ่ม โดยพระกริ่งหน้า ไทย และพระชัยวัฒน์พิมพ์น้ำเต้าเอียง และพิมพ์น้ำเต้าตรงประมาณ 2,000 องค์ นายช่างหรัส พัฒนากูร เป็นผู้หล่อ
.
ครั้งหน้าจะนำ “พระกริ่งหน้าไทย” ซึ่งจัดสร้างในวาระเดียวกับกริ่งหน้าอินเดียมาให้ชมกันครับ
ขอบพระคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้🙏🏻❤️🙏🏻



โดยสมาชิก ชื่อ เติ้ล ท่าพระจันทร์
จากกลุ่ม ชุมชนคนรักพระหล่อ